พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ: สิทธิฟ้องร้องต้องเกิดเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิ
เมื่อพนักงานยาสูบซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอายุครบ 60ปี จำเลยจะดำเนินการเลิกจ้างทำให้พนักงานยาสูบดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง หากจำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ก็ต้องถือว่าพนักงานยาสูบผู้นั้นถูกโต้แย้งสิทธินับแต่วันดังกล่าว ขณะที่สหภาพแรงงานฯ โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่มีพนักงานยาสูบซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์คนใดถูกโต้แย้งสิทธิในกรณีเช่นว่านี้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยไว้ล่วงหน้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหาร/ค่าครองชีพไม่ถือเป็นค่าจ้างฐานคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
จำเลยจ่ายค่าอาหารให้แก่โจทก์หรือลูกจ้างอื่นซึ่งทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้จัดอาหารเลี้ยงดังเช่นลูกจ้างที่โรงงานสีคิ้ว การจ่ายค่าอาหารให้จึงเป็นการให้ความสงเคราะห์แก่ลูกจ้างของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกว่า เป็นค่าอาหารหรือค่าครองชีพและจะจ่ายให้เป็นประจำทุกเดือนหรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินค่าอาหารมารวมเป็นฐานในการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้เป็นชาวต่างชาติ แต่ลูกจ้างในไทยมีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน หากมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น
แม้การจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 6 จ้างแรงงานก็ตาม แต่ลักษณะและพฤติการณ์แห่งการจ้างดังกล่าวนั้นก็หาพ้นความหมายของคำว่า 'นายจ้างลูกจ้างลูกจ้างประจำ' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่ แม้โจทก์เป็นชาวต่างประเทศแต่ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยที่ 1 ในประเทศไทย สถานประกอบการอยู่ในประเทศไทย มีข้อพิพาทแรงงานกันในประเทศไทยจึงชอบที่จะฟ้องร้องและบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องเมื่อประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นการเฉพาะอยู่แล้วการจะหวนกลับไปใช้ ป.พ.พ. อันเป็นกฎหมายทั่วไปแต่ฉบับเดียวหาชอบไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะ ที่พัก อาหาร และซักรีด ไม่ถือเป็นค่าจ้างสำหรับคำนวณค่าชดเชย หากไม่ใช่การจ่ายประจำหรือแน่นอน
ลูกจ้างจะได้รับค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหารและค่าซักรีดจากนายจ้างก็ต่อเมื่อนายจ้างได้อนุมัติให้ลูกจ้างไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดและลูกจ้างมิได้ไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดเป็นประจำหรือแน่นอนทุกเดือน ดังนี้เงินทั้ง 4 ประเภทดังกล่าวมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างหลังเลิกกิจการ: ผู้ชำระบัญชียังมีหน้าที่ชำระหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
แม้ร้านสหกรณ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จำกัด จำเลยที่ 1 จะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 89 ให้ถือว่ายังคงดำรงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีของผู้ชำระบัญชีสภาพการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่1 ยังไม่สิ้นสุดลง การเป็นนายจ้างลูกจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่สิ้นสุดลงโดยการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 และเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยยังมิได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงมีหน้าที่จัดการชำระหนี้แก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา90 และ 94 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีชำระหนี้ดังกล่าวจึงหาเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จของ อ.ส.ม.ท. สามารถใช้แทนค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานได้ หากไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้ใดตามกฎหมายแรงงานก็ให้จ่ายเงินค่าชดเชยจากกองทุนบำเหน็จ และผู้ปฏิบัติงานไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้อีก เว้นแต่เงินบำเหน็จที่คำนวณตามข้อบังคับนี้มากกว่าเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ก็ให้จ่ายเงินบำเหน็จส่วนที่มากกว่านั้นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้นั้น ข้อบังคับดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับได้แม้จะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ปฏิบัติงานอยู่บ้าง แต่ความในมาตรา 28 แห่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2520 ก็หาได้บัญญัติห้ามจำเลยที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่
แม้โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมาก่อนวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันใช้ข้อบังคับดังกล่าวจำเลยได้เคยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จไว้อันพึงนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์เคยมีสิทธิอย่างไร และข้อบังคับของจำเลยฉบับนี้ตัดสิทธิของโจทก์ประการใด ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากวันประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิของโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือไม่เพียงใด ก็ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
แม้โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมาก่อนวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันใช้ข้อบังคับดังกล่าวจำเลยได้เคยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จไว้อันพึงนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์เคยมีสิทธิอย่างไร และข้อบังคับของจำเลยฉบับนี้ตัดสิทธิของโจทก์ประการใด ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากวันประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิของโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือไม่เพียงใด ก็ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษเลิกจ้างจากไล่ออกเป็นให้ออกมีผลนับแต่วันใด สิทธิการได้รับเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างในทางไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ต่อมาได้โอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลย ในครั้งแรกจำเลยใช้ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จเดิมของบริษัท ท. ซึ่งในกรณีที่โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โจทก์มีสิทธิได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แต่ต่อมาจำเลยได้ออกข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 32 ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จใหม่ ซึ่งตามข้อบังคับฉบับนี้โจทก์กลับมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเพียงเฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเท่านั้นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์จะนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ดังนั้น แม้จำเลยจะได้จ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามข้อบังคับ ฉบับที่ 32 แล้วก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยจากจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควร แม้ขาดงาน ก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเนื่องจากถูกวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแลส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาทดลองงานและข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกค้าประจำรายวันทดลองปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานขับรถ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวทดลองปฏิบัติงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานรวม 2 ครั้งครั้งแรกมีกำหนด 120 วัน เมื่อผลกาหรทดลองปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยไม่เป็นที่พอใจของจำเลย จำเลยจึงออกคำสั่งครั้งที่ 2 ให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไปอีก 60 วัน แม้ว่าโจทก์จะยินยอมก็ตาม จะถือว่าจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในคราวเดียวกันรวมเป็นเวลา 180 วันหาได้ไม่เมื่อโจทก์ทดลองปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว จำเลยก็มิได้เลิกจ้างโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้ายในอันที่จำเลยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานรวม 2 ครั้งครั้งแรกมีกำหนด 120 วัน เมื่อผลกาหรทดลองปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยไม่เป็นที่พอใจของจำเลย จำเลยจึงออกคำสั่งครั้งที่ 2 ให้โจทก์ปฏิบัติงานต่อไปอีก 60 วัน แม้ว่าโจทก์จะยินยอมก็ตาม จะถือว่าจำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานในคราวเดียวกันรวมเป็นเวลา 180 วันหาได้ไม่เมื่อโจทก์ทดลองปฏิบัติงานครบ 120 วันแล้ว จำเลยก็มิได้เลิกจ้างโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาที่แจ้งไว้แต่แรก จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคท้ายในอันที่จำเลยจะได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)