พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนอากรหลังชำระหลังได้รับมอบสินค้า และอายุความของคดีภาษีอากร
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคห้ากำหนดให้โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนส่งมอบสินค้าว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่คดีนี้โจทก์ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรอันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 และต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาเพิ่มและแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้า และโจทก์ได้ชำระหลังจากที่ได้รับมอบสินค้าแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากร แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องคดีภายใน 2 ปีนับแต่วันนำเข้า แต่พระราชบัญญัติศุลกากรฯ ก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าประเภทใดต้องเสียภาษีตามหมวดใด และหมายเหตุของหมวดมีผลบังคับอย่างไร
เมื่อสินค้าใดถูกระบุว่าจะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีศุลกากรหมวดใดก็จะต้องเสียภาษีไปตามที่ถูกระบุไว้ในอัตรานั้นตามพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง มิใช่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของผู้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วนำสินค้าที่นำเข้าไปไว้กับกิจการใดเป็นหลักสำคัญในการสำแดงรายการสินค้าประเภทพิกัดและอัตราศุลกากร
สินค้าพิพาทเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับซึ่งมีชื่อสินค้าตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.01 ประเภทย่อย 8501.620 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (อัลเทอร์เนเตอร์) (ACGENRATOR) ตอนที่ 85 เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย 8501.620 และเมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในตอนที่ 85 จึงเป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบตามหมายเหตุข้อ 2 ของหมวด 17 ที่ระบุไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) สินค้าพิพาทจึงไม่อยู่ในหมวด 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.990 ซึ่งเป็นรายการส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนราง
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องกลับกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีชื่อตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.04 จึงต้องจัดอยู่ในประเภทพิกัด 85.04ประเภทพิกัดย่อย 8504.400 ส่วนรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 86.07 เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่ดินบนราง ซึ่งหมายเหตุข้อ 2(ฉ) ของหมวด 17 คำว่า "ส่วนประกอบ"และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" มิให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) ดังนั้น สินค้าพิพาทจึงไม่อาจอยู่ในหมวดที่ 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.190
ประเภทพิกัด 90.32 ระบุรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ได้แก่อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมโดยอัตโนมัติ (AUTOMATICREGULATINGORCONTROLLINGINSTRUMENTANDAPPARATUS) อันได้แก่ เครื่องปรับแรงเคลื่อนไฟฟ้าโดยอัตโนมัติสำหรับใช้กับความดันไฟฟ้าตั้งแต่ 11,000 โวลต์ขึ้นไปและส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว ดังนั้น เมื่อสินค้าพิพาทเป็นตัวบังคับและตัวควบคุมทางไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมไฟฟ้า สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัด 90.32 ประเภทย่อยที่ 9032.890
สินค้าพิพาทเป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิก (OILMOTOR) มีชื่อระบุไว้ชัดเจนในประเภทพิกัดย่อย 8412.290 แล้ว ประเภทพิกัดย่อย 8607.190ซึ่งอยู่ในหมวด 17 ตอนที่ 86 ระบุรายการสินค้าคือส่วนประกอบของหัวรถจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนรางซึ่งเป็นคนละประเภทกับสินค้าพิพาทที่เป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกประกอบกับหมายเหตุข้อ2(จ) ของหมวด 17 ระบุคำว่า "ส่วนประกอบ" และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" ไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามประเภทที่ 84.01 ถึง 84.79 และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าวของตามประเภทที่ 84.81 หรือ 84.82 หรือ 84.83 เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย8412.290
สินค้าพิพาทเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับซึ่งมีชื่อสินค้าตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.01 ประเภทย่อย 8501.620 เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (อัลเทอร์เนเตอร์) (ACGENRATOR) ตอนที่ 85 เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย 8501.620 และเมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในตอนที่ 85 จึงเป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบตามหมายเหตุข้อ 2 ของหมวด 17 ที่ระบุไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) สินค้าพิพาทจึงไม่อยู่ในหมวด 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.990 ซึ่งเป็นรายการส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนราง
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องกลับกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีชื่อตรงกับรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภท 85.04 จึงต้องจัดอยู่ในประเภทพิกัด 85.04ประเภทพิกัดย่อย 8504.400 ส่วนรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 86.07 เป็นสินค้าที่เกี่ยวกับส่วนประกอบของรถหัวจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่ดินบนราง ซึ่งหมายเหตุข้อ 2(ฉ) ของหมวด 17 คำว่า "ส่วนประกอบ"และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" มิให้ใช้กับเครื่องจักรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 85) ดังนั้น สินค้าพิพาทจึงไม่อาจอยู่ในหมวดที่ 17 ประเภทพิกัดย่อย 8607.190
ประเภทพิกัด 90.32 ระบุรายการสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ได้แก่อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์สำหรับบังคับหรือควบคุมโดยอัตโนมัติ (AUTOMATICREGULATINGORCONTROLLINGINSTRUMENTANDAPPARATUS) อันได้แก่ เครื่องปรับแรงเคลื่อนไฟฟ้าโดยอัตโนมัติสำหรับใช้กับความดันไฟฟ้าตั้งแต่ 11,000 โวลต์ขึ้นไปและส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าว ดังนั้น เมื่อสินค้าพิพาทเป็นตัวบังคับและตัวควบคุมทางไฟฟ้ารวมทั้งอุปกรณ์สำหรับควบคุมไฟฟ้า สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัด 90.32 ประเภทย่อยที่ 9032.890
สินค้าพิพาทเป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิก (OILMOTOR) มีชื่อระบุไว้ชัดเจนในประเภทพิกัดย่อย 8412.290 แล้ว ประเภทพิกัดย่อย 8607.190ซึ่งอยู่ในหมวด 17 ตอนที่ 86 ระบุรายการสินค้าคือส่วนประกอบของหัวรถจักรของรถไฟหรือรถรางหรือรถที่เดินบนรางซึ่งเป็นคนละประเภทกับสินค้าพิพาทที่เป็นมอเตอร์ที่ใช้แรงดันของน้ำมันไฮดรอลิกประกอบกับหมายเหตุข้อ2(จ) ของหมวด 17 ระบุคำว่า "ส่วนประกอบ" และ "ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ" ไม่ให้ใช้กับเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามประเภทที่ 84.01 ถึง 84.79 และส่วนประกอบของเครื่องดังกล่าวของตามประเภทที่ 84.81 หรือ 84.82 หรือ 84.83 เฉพาะที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องยนต์หรือมอเตอร์สินค้าพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดย่อย8412.290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากรและการรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่ตัวการจะมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนกระทำไปต้องเป็นกรณีที่ตัวแทนได้กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน แต่จำเลยที่ 6 โดยจำเลยที่ 7 ตัวแทนกระทำการโดยทุจริตต่อหน้าที่โดยการปลอมใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีอากรขาเข้า และใช้ใบเสร็จรับเงินปลอมอันเป็นการกระทำนอกขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการกระทำดังกล่าวของตัวแทน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าภาษีในกรณีที่จำเลยที่ 1 นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 ยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 รับใบขนสินค้า ได้ตรวจสอบรับรองเอกสาร กับทั้งได้ตรวจสอบสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่ถูกต้องแล้ว จึงบันทึกตรวจปล่อยส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 รับไปจากอารักขาของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่13 สิงหาคม 2523 กรณีจึงมิใช่จำเลยที่ 1 หลีกเลี่ยง ซ่อนเร้นการเสียภาษี หรือไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเรียกเก็บภาษี อันจะถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา27 และ 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมนั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ดังนั้นคดีจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 167เดิม (มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ได้ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุอายุความขึ้นต่อสู้และคดีฟังได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจ้าของสินค้า และจำเลยที่ 3 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงมีสิทธิจะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ และโดยที่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3ยื่นคำให้การต่อสู้เรื่องอายุความ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ให้ถือว่าจำเลยทำแทนซึ่งกันและกัน จำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนย่อมได้รับผลแห่งอายุความด้วยจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร: ประเมินราคาผิด การประเมินใหม่ไม่กระทบอายุความ
ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่สำแดงไว้แต่เนื่องจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าโจทก์จึงได้วางหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารเป็นหลักประกันค่าภาษีอากรที่อาจจะต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยยืนยันการประเมินเพิ่มภายหลังทั้งนี้เพื่อโจทก์จะได้นำสินค้าพิพาทออกจากอารักขาของจำเลยตามที่พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112กำหนดไว้ต่อมาเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ยืนยันประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหลักประกันหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารที่วางไว้คืนยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มในชั้นนำเข้าสินค้าพิพาทเพราะการกระทำดังกล่าวเป็นเพียงการดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติ ศุลกากรฯมาตรา112ทวิวรรคหนึ่งกำหนดวิธีการไว้การกระทำดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนจะนำของออกไปจากอารักขาของกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา40กำหนดไว้อันจะถือว่าโจทก์ได้เสียเงินอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา10วรรคห้าหากแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินเงินอากรเพิ่มเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของซึ่งเป็นไปตามมาตรา112ทวิวรรคหนึ่งและวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากรฯซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯดังกล่าวก็มิได้บัญญัติเกี่ยวกับอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้กำหนดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนอากร-ดอกเบี้ย-ภาษีอื่น และประเด็นศาลต้องชี้ขาดทุกประเด็นข้อพิพาท
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าให้สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้ก่อนนั้นต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี ก็ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 และขอคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตาม ป.รัษฎากร พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ตามลำดับจำเลยยกอายุความเฉพาะตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ดังนั้น แม้คดีของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แล้วศาลภาษีอากรกลางก็ยังต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกหรือไม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร: การชำระภาษีเพิ่มเติมหลังนำเข้าสินค้า
ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้ส่วนจำนวนที่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มนอกเหนือจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้วเมื่อต่อมาจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มและโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหนังสือค้ำประกันคืนก็เป็นการดำเนินการตามที่มาตรา112ทวิวรรคหนึ่งบัญญัติไว้จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินประกันก่อนนำของออกไปจากอารักขาตามมาตรา40ซึ่งจะถือว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาของ ซึ่งจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินในกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าตามมาตรา10วรรคห้าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระตามมาตรา112ทวิซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้กำหนดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการประเมินภาษีอากรเพิ่มเติม: ไม่ใช่การเสียภาษีเกิน แต่เป็นการประเมินราคาใหม่ ใช้กฎหมายแพ่งฯ อายุความ 10 ปี
ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้ส่วนจำนวนที่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มนอกเหนือจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าโจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา112ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้วเมื่อจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มและโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหนังสือค้ำประกันคืนจึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก่อนนำของไปจากอารักขาของศุลกากรอันจะถือว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระอันจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินในกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระตามมาตรา112ทวิซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้กำหนดอายุความ10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6799/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอนุมัติลดอัตราอากรศุลกากรขึ้นอยู่กับคุณสมบัติสินค้าตามประกาศกระทรวงการคลัง ไม่ใช่ประกาศของกรมศุลกากร
เมื่อสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงานหรือที่รักษาสิ่งแวดล้อมและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมพิจารณา และขอลดอัตราอากรโดยระบุว่า ไม่เป็นของเก่าใช้แล้วหรือซ่อมแซมขึ้นใหม่และเป็นของใหม่ กรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ก็ต้องอนุมัติให้โจทก์ได้ลดอัตราอากรศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 จะไม่อนุมัติโดยอ้างว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 และประเมินเพิ่มให้โจทก์เสียแก่จำเลยทั้งสองโดยไม่ลดหย่อนอัตราอากรศุลกากรให้โจทก์ไม่ได้ อำนาจในการอนุมัติขึ้นอยู่กับสินค้าที่นำเข้านั้นว่า เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.9/2526 กับหลักเกณฑ์ของเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 หรือไม่ หาได้ขึ้นอยู่กับจำเลยที่ 1 หรือตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 โดยเด็ดขาดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6799/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดอัตราอากรเครื่องจักรประหยัดพลังงาน ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ก.คลังฯ 58613/2526 ไม่ใช่ระเบียบภายในของกรมศุลกากร
เมื่อสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเครื่องจักรที่ประหยัดพลังงานหรือที่รักษาสิ่งแวดล้อมและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้คณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักรวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมพิจารณา และขอลดอัตราอากรโดยระบุว่า ไม่เป็นของเก่าใช้แล้วหรือซ่อมแซมขึ้นใหม่และเป็นของใหม่ กรมศุลกากร จำเลยที่ 1ก็ต้องอนุมัติให้โจทก์ได้ลดอัตราอากรศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 จะไม่อนุมัติโดยอ้างว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 และประเมินเพิ่มให้โจทก์เสียแก่จำเลยทั้งสองโดยไม่ลดหย่อนอัตราอากรศุลกากรให้โจทก์ไม่ได้อำนาจในการอนุมัติขึ้นอยู่กับสินค้าที่นำเข้านั้นว่า เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.9/2526 กับหลักเกณฑ์ของเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังที่ 58613/2526 หรือไม่ หาได้ขึ้นอยู่กับจำเลยที่ 1 หรือตามประกาศของจำเลยที่ 1 ที่ 60/2527 โดยเด็ดขาดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีคดีอาญาที่เกี่ยวข้องแต่ไม่กระทบการวินิจฉัย
เกี่ยวกับมูลเหตุคดีนี้จำเลยถูกโจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีอาญาข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและสำแดงราคาสินค้าอันเป็นเท็จ แต่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลย แต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เฉพาะอย่างยิ่งคดีส่วนอาญาก็มิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล จึงไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ การวินิจฉัยพยานหลักฐานคดีนี้ย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ