คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมศุลกากรในการกักสินค้าค้างชำระภาษีอากร แม้มีการอุทธรณ์คดี
อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจตามมาตรา112 เบญจ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่จะกักของใด ๆ ของผู้ที่ค้างชำระภาษีอากรซึ่งกำลังผ่านศุลกากรจนกว่าจะได้รับชำระอากรที่ค้างจนครบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มสำหรับสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งผ่านศุลกากรไปแล้ว และแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มแล้ว แม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มและแจ้งให้โจทก์ชำระแล้วเป็นภาษีอากรค้างชำระโดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อน หากต่อมาศาลพิพากษาในคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจำเลยประเมินภาษีอากรเพิ่มไม่ชอบ จำเลยย่อมมีหน้าที่คืนภาษีอากรดังกล่าวให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ฉะนั้น เมื่อถือว่าเป็นภาษีอากรค้างชำระ อธิบดีกรมศุลกากรจึงใช้อำนาจกักสินค้าของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะชำระค่าภาษีอากรที่ค้างได้ คำสั่งให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533 และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนั้นได้ แต่ก็หาได้ทำไม่ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมศุลกากรในการกักของเพื่อเรียกเก็บภาษีค้างชำระ แม้คดีภาษีอยู่ระหว่างพิจารณา
อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรตามมาตรา 112 เบญจ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้เป็นพิเศษเพื่อเก็บภาษี อากรที่ค้างชำระอยู่ให้เสร็จสิ้นล่วงไป จึงให้อำนาจอธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายที่กักของใด ๆ ของผู้ที่ค้างชำระภาษีอากรซึ่ง กำลังผ่านศุลกากร จนกว่าจะได้รับชำระอากรที่ค้างจนครบ เมื่อ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มสำหรับ สินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งผ่านศุลกากรไปแล้ว และแจ้งให้ โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มแล้วและแม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์การประเมิน และฟ้องคดีอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมิน เพิ่มและแจ้งให้โจทก์ชำระแล้วเป็นภาษีอากรค้างชำระโดย ไม่ต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อน หากต่อมาศาลพิพากษาในคดี ที่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจำเลยประเมินภาษีอากรเพิ่มไม่ชอบ จำเลย ย่อมมีหน้าที่คืน ภาษีอากรภาษีอากรดังกล่าวให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ศุลกากรฯมาตรา 10 ฉะนั้น เมื่อถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ชำระ อธิบดีกรมศุลกากรจึงใช้อำนาจกักสินค้าของโจทก์ไว้จนกว่า โจทก์จะชำระค่าภาษีอากรที่ค้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความทางภาษีอากร: หนังสือแจ้งสิทธิและการยอมรับการชำระภาษีเกิน
เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรที่ได้เสียไว้เกินภายใน 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเป็นอันสิ้นไปตามพ.ร.บ. ศุลกากรฯ พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แต่กรมศุลกากรจำเลยโดยหัวหน้าฝ่ายกลาง กองพิธีการและประเมินอากร ปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเลยมอบหมาย มีหนังสือถึงโจทก์ภายหลังจากครบกำหนดอายุความว่าจำเลยได้พิจารณาสินค้าที่โจทก์นำเข้าและเสียอากรไว้นั้นปรากฏว่าภาษีอากรที่โจทก์ชำระไว้เกิน จึงให้โจทก์ไปติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อจัดทำใบขนให้ถูกต้อง และขอคืนเงินที่ชำระไว้เกิน ที่กองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออก ดังนี้เป็นการที่จำเลยยอมรับว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรไว้เกิน และให้โจทก์ไปขอรับเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ของจำเลย ถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่ชำระไว้เกินคืนจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, อำนาจฟ้องภาษีการค้าและบำรุงเทศบาล, การประเมินภาษีอากรเกิน
เมื่อโจทก์สำแดงราคาสินค้านำเข้าเพื่อเสียภาษีอากรและกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้การเรียกเก็บภาษีอากรทั้งสามประเภทจะต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากโจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไม่ถูกต้องอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 เสียก่อน ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้อุทธรณ์ในกรณีนี้ต่อกรมศุลกากรได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีทั้งสองประเภท การเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว มิใช่มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากร, อายุความทางภาษีอากร, และอำนาจฟ้องคดีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เจ้าพนักงานกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้วหากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30แม้การเรียกเก็บภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลจะเกี่ยวเนื่องกับการเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้า ก็ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจอุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรแทนได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกรมศุลกากรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่พนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียภาษีอากรขาเข้าเพิ่มเติม หากโจทก์เห็นว่าไม่ควรเสียก็ต้องร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายใน 2 ปี นับแต่นำสินค้าเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยสั่งให้โจทก์เสียอากรเพิ่มตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้ารวม5 ใบ ซึ่งโจทก์นำสินค้าเข้าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 กันยายน2529 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2531 เกินกว่า 2 ปี คดีจึงขาดอายุความ และเมื่อมีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนค่าอากรที่ชำระเกิน การประเมินราคาศุลกากร และการพิสูจน์ราคาอันแท้จริง
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้ โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ดังนี้จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกิน จึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรค 5มาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องขอคืนค่าอากรที่เสียไว้เกินจำนวนเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีของโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนค่าอากรและการประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 กำหนดให้โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกินจึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีจึงขาดอายุความ
ลวดเหล็กชุบ ทองแดง สินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้าจากต่างประเทศใช้ผลิตยางรถยนต์ ส่วนสินค้าของบริษัท อ. ใช้ผลิตยางรถจักรยานยนต์และต่างมีขนาดหน้าตัดไม่เท่ากัน ทั้งมีปริมาณการนำเข้าแต่ละครั้งแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันพอที่จะเปรียบเทียบราคากันได้ จึงไม่อาจนำราคาสินค้าของบริษัท อ. มาประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาท ขณะที่โจทก์นำเข้าได้ เมื่อไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะชี้ให้เห็นได้ว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าพิพาทควรจะเป็นอย่างอื่น จึงพออนุมานได้ว่าราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ซื้อมานั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4163/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องและอายุความฟ้องเรียกภาษีที่ขาด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรและยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาในบัตรราคา จึงได้ทำการประเมินราคาใหม่และเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มจากจำเลย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า จึงมีอายุความสิบปีนับจากวันที่นำของเข้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อนในการแปลเอกสารและการส่งสินค้าผิดชนิด ศาลฎีกาแก้ไขดอกเบี้ยให้เป็นไปตามคำฟ้อง
โจทก์สำแดงรายการสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นภาษาไทยว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าคืออุปกรณ์ของปากกา ยี่ห้อ เรโนลด์ ชนิด 094 ความจริงสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือปากกาลูกลื่น ยี่ห้อเรโนลด์ ชนิด 093 เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ระบุว่าเป็นอุปกรณ์ของปากกาเป็นเพราะผู้ทำใบขนแปลเป็นภาษาไทยผิดพลาด และที่เป็นปากกาลูกลื่นชนิด 093 เพราะผู้ขายส่งมาให้ผิดไปจากที่โจทก์สั่งซื้อ ดังนี้ เมื่อปากกาทั้งสองชนิดมีราคาเท่ากัน การที่ผู้ขายส่งปากกาชนิด 093 มาให้ก็ไม่ทำให้อากรขาเข้าเปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มขึ้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคือวันที่ 23 พฤษภาคม 2531 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2529 จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้าผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อนในการแปลและสินค้าที่ส่งมอบไม่ตรงตามสั่งซื้อ ศาลฎีกาแก้ไขดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
โจทก์สำแดงรายการสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นภาษาไทยว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าคืออุปกรณ์ของปากกา ยี่ห้อ เรโนลด์ ชนิด 094 ความจริงสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือปากกาลูกลื่น ยี่ห้อเรโนลด์ ชนิด 093 เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ระบุว่าเป็นอุปกรณ์ของปากกาเป็นเพราะผู้ทำใบขนแปลเป็นภาษาไทยผิดพลาด และที่เป็นปากกาลูกลื่นชนิด 093 เพราะผู้ขายส่งมาให้ผิดไปจากที่โจทก์สั่งซื้อ ดังนี้ เมื่อปากกาทั้งสองชนิดมีราคาเท่ากัน การที่ผู้ขายส่งปากกาชนิด 093 มาให้ก็ไม่ทำให้อากรขาเข้าเปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มขึ้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคือวันที่ 23 พฤษภาคม 2531 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2529 จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 7