คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนอากร และการแจ้งความก่อนส่งมอบสินค้า
สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้นจะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว ยังจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำสินค้าเข้าเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2521 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 เป็นเวลาล่วงเลยเกินกว่าสองปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแล้ว ทั้งโจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนส่งมอบสินค้าว่าโจทก์จะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร ดังนั้นคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วตามนัยที่กล่าวข้างต้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับจากวันนำเข้า และแจ้งความก่อนส่งมอบของ
สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้า เป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว ยังจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย โจทก์นำสินค้าเข้าเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2521 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 เป็นเวลาล่วงเลยเกินกว่าสองปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแล้ว ทั้งโจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนส่งมอบสินค้าว่าโจทก์จะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร ดังนั้นคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วตามนัยที่กล่าวข้างต้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสำแดงราคาชิ้นส่วนนำเข้า การเพิ่มราคาโดยคณะกรรมการศุลกากร และอำนาจตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 บัญญัติว่าบรรดาค่าภาษีนั้นให้เก็บตามบทพระราชบัญญัติและตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร นั่นก็คือ เก็บภาษีอากรตามราคาตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 มาตรา 8(2) และราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามวิเคราะห์ศัพท์ในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2468 มาตรา 2 หมายถึง ราคาขายส่งหรือราคาที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ การที่จำเลยสั่งชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงราคาในใบขนตามราคาที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งจะต่ำกว่าราคาอะไหล่ประมาณร้อยละ 75 ราคาที่จำเลยแสดงในใบขนจึงเป็นราคาส่งหรือราคาสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ จึงถูกต้องตรงตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เป็นการสำแดงราคาอันเป็นเท็จ
เมื่อจำเลยผู้นำเข้าได้สำแดงราคาหรือแสดงราคาอันแท้จริงในท้องตลาด คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับราคาทางศุลกากรหามีอำนาจที่จะกำหนดให้จำเลยเพิ่มราคาสินค้าที่นำเข้าให้สูงผิดไปจากราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาดไม่เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการฯที่จะกระทำได้เช่นนั้น อำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จะกระทำได้เพียงเฉพาะกรณีที่มีปัญหาว่า ผู้นำเข้าสำแดงราคาสินค้าในใบขนต่ำไปกว่าราคาหรือราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่เท่านั้น
การที่ทางราชการสืบทราบว่า ผู้นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์หาได้นำชิ้นส่วนไปประกอบรถยนต์ทั้งหมดไม่ แต่ได้นำบางส่วนมาจำหน่ายในลักษณะของอะไหล่ที่มีราคาสูงกว่า เป็นผลให้รายได้ภาษีอากรต้องขาดไปนั้น วิธีแก้ไขก็ด้วยทางราชการจะต้องกำหนดอัตราภาษีอากรชิ้นส่วนให้สูงกว่าอะไหล่มิใช่แก้ไขโดยมติของคณะกรรมการ ฯ ให้เพิ่มราคาชิ้นส่วนในการนำเข้าอีกร้อยละ 75 เพื่อให้เท่ากับราคาของอะไหล่ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่คณะกรรมการที่จะทำได้เช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องคืนเงินอากรศุลกากร: ฟ้องข้ามปีขาดอายุความ
สิทธิในการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น พ.ร.บ. ศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า บัญญัติว่า จะต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้า เป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณน้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายใน 2 ปีแล้ว ยังจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย บทบัญญัติมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พุทธศักราช 2469หาได้หมายความว่าเมื่อโจทก์ทวงถามค่าอากรที่เสียเกินภายในสองปีแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกคืนได้ภายใน 10 ปีไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนภาษีอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันนำของเข้า และแจ้งความก่อนส่งมอบ
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มีความหมายว่าสิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว กฎหมายยังบัญญัติไว้อีกว่าจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2521อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งเพิ่มราคาของให้สูงขึ้น เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนภาษีอากรที่เสียเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเภทสินค้า (แจกัน) เพื่อกำหนดสิทธิในการนำเข้าและคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำแจกันขนาดต่าง ๆ เข้ามาในราชอาณาจักร เป็นแจกันที่มีเนื้อกระเบื้องหรือวัสดุที่ใช้ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีแม้แปลก ตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิ เป็นจุด ๆ ในเนื้อกระเบื้อง ราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง ไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน คงมีความเหมาะสมเพื่อใช้ปักดอกไม้อันเป็นการใช้ตามสภาพของแจกันเท่านั้น จึงเป็นสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 มิใช่เครื่องประดับบ้านเรือนตามพิกัดประเภทที่ 69.13 โจทก์นำแจกันเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ต้องห้ามนำเข้า ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2521 และได้ชำระภาษีประเภทต่าง ๆ ให้แก่จำเลยตามหน้าที่ การที่จำเลยรับชำระภาษีจากโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการรับชำระไว้โดยชอบ ต่อมาจำเลยไม่ยอมตรวจปล่อยแจกันบางส่วนซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่นำเข้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าแจกันพิพาทเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เสียก่อน โจทก์โต้แย้งว่าแจกันนั้นอยู่ในพิกัดตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ดังนี้เมื่อประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯมิได้ห้ามการนำเข้าซึ่งสินค้าในพิกัดประเภทที่ 69.11 ไว้อย่างเด็ดขาด หากได้รับอนุญาตก็สามารถนำเข้าได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่ชำระไว้คืนจนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำเข้าแจกันดังกล่าว และหรือโจทก์ส่งแจกันนั้นออกไปยังเมืองต่างประเทศ จำเลยจึงยังไม่ต้องคืนเงินค่าภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และเงินประกันค่าภาษีที่รับชำระไว้ให้แก่โจทก์ การที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ในข้อหานำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จ กับนำของต้องพิกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและสั่งให้คืนแจกันของกลางให้แก่โจทก์ โดยเห็นว่าแจกันนั้นมิได้อยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าแต่จำเลยไม่คืนแจกันแก่โจทก์โดยเห็นว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 69.11 เช่นนี้ความเห็นของพนักงานอัยการและจำเลยยังไม่เป็นยุติ จำเลยจึงยังมีอำนาจตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯที่จะกักแจกันของโจทก์ไว้โดยชอบจนกว่าโจทก์จะได้รับอนุญาตให้นำแจกันนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรได้หรือจัดการส่งแจกันออกไปยังเมืองต่างประเทศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
เมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดที่ให้แก่จำเลย เครื่องจักรที่จำเลยนำเข้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในตอนนำเข้าจึงถือว่าไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่าเมื่อตอนนำเข้านั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีอากรขาเข้าต้องเป็นไปตามพิกัดอัตราศุลกากรที่แก้ไขแล้ว ผู้สำแดงรายการไม่ถูกต้องมีความรับผิดชอบ
การเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้าของโจทก์ต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้าท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วกำหนดสินค้ารถบรรทุกชนิดพิคอับไว้ในประเภทที่ 87.02 ค.(2) ให้ต้องเสียอากรขาเข้าร้อยละ 80 เมื่อโจทก์นำรถบรรทุกชนิดพิคอับเข้ามาจึงต้องเสียค่าภาษีตามประเภทและอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่เสียค่าภาษีตามประกาศของอธิบดีกรมศุลกากร
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร หากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์ จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาดให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ถูกต้อง และหน้าที่ในการสำแดงรายการสินค้า
การเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้าของโจทก์ต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้า ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วกำหนดสินค้ารถบรรทุก ชนิดพิคอับไว้ในประเภทที่87.02ค.(2) ให้ต้องเสียอากรขาเข้า ร้อยละ 80 เมื่อโจทก์นำรถบรรทุกชนิดพิคอับเข้ามาจึงต้องเสีย ค่าภาษีตามประเภทและอัตราที่กฎหมายกำหนดมิใช่เสียค่าภาษี ตามประกาศของอธิบดีกรมศุลกากร
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรหากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาด ให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตรากฎหมายที่ใช้ ณ เวลาเสียภาษี แม้มีกฎหมายใหม่ใช้บังคับภายหลัง และสิทธิเรียกร้องเงินประกัน
การคิดค่าภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตราในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาเสียภาษีซึ่งเจ้าพนักงานออกใบขน แม้ต่อมาประกาศใช้พิกัดอัตราใหม่โดยยังไม่ส่งของออกก็คิดภาษีตามพิกัดใหม่ไม่ได้
เจ้าพนักงานศุลกากรเรียกเงินประกันค่าภาษีจากผู้ขนส่งที่จะเรียกภาษีเพิ่มจากผู้ส่งของ ความจริงจะเรียกภาษีเพิ่มไม่ได้ เมื่อผู้สั่งของรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินนั้นและแจ้งให้กรมศุลกากรทราบแล้ว ผู้ส่งของย่อมฟ้องเรียกเงินนั้นได้
of 7