คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีจบการศึกษานอกระบบ ต้องเข้าเรียนตามกำหนดเวลา และมีความรู้เทียบเท่า ม.ปลาย
ผู้ศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2530 เมื่อจบหลักสูตรแล้วจะมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้ที่จบจาก สถานศึกษาในระบบโรงเรียนทุกประการ ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้าน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านได้เข้าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการจึงมีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2535 มาตรา 12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การแจ้งข้อมูลเท็จทางการศึกษา และการรอการลงโทษ
ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว ผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่ พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 จำเลยกรอกใบสมัครเพื่อสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจำเลยจบการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ความจริงแล้วจำเลยไม่ได้จบการศึกษาชั้นดังกล่าว อันเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับสมัครเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137กับแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติในความหมายของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 19(1)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 มาตรา 6 นั้น หมายถึงหลักสูตรหรือแผนการศึกษาของชาติในขณะที่ผู้นั้นสอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยสอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลายมัธยมปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2503 ซึ่งขณะนั้นแผนการศึกษาของชาติที่ใช้บังคับอยู่คือแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาแยกออกเป็น 3 สาย ในสาย ข. มัธยมวิสามัญศึกษาซึ่งมีชั้นมัธยมวิสามัญตอนปลายเพียงแค่มัธยมปีที่ 6 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยสอบไล่ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแผนการศึกษาของชาติพ.ศ. 2494 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ที่แก้ไขแล้ว การที่จำเลยสมัครรับเลือกรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะกรอกคุณสมบัติทางการศึกษาลงในใบสมัครไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 26 การที่จำเลยกระทำผิดโดยแจ้งคุณสมบัติทางการศึกษาเป็นเท็จเป็นเพราะจำเลยเข้าใจผิดว่าตนไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งความจริงแล้วจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์สิ่งแวดล้อมแล้ว สมควรรอการลงโทษไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ต้องระบุเหตุแห่งการถอนสัญชาติให้ชัดเจน
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยขอให้ศาลสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ บรรยายเหตุที่ อ.ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เนื่องจากบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวไว้ 3 ประการคือ เป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามข้อกล่าวหาของผู้ร้องนี้มิได้ยืนยันให้แน่นอนว่าบิดามารดาของ อ.เป็นคนต่างด้าวประเภทใด เพราะคนต่างด้าวทั้ง 3 ประเภทไม่เหมือนกัน คำร้องในข้อนี้จึงเคลือบคลุม ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง
ส่วนข้อหาที่บรรยายว่า อ.ไม่มีคุณสมบัติในด้านการศึกษา คำร้องของผู้ร้องกล่าวอ้างว่า อ.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้งชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เคลือบคลุม(อ้างคำสั่งศาลฎีกาที่1817/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การศึกษาเทียบเท่า มัธยมศึกษาตอนปลาย และการรับสมัคร
การที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ก.ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยนำข้อความในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มากล่าวในคำร้องนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่า ก.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้ง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว หลังจากจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ก.ได้เข้าเรียนกวดวิชาที่โรงเรียนวัดราชนัดดาและสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3 หลังจากนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกวดวิชาวัดสุทัศน์และสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 6 ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อในสายอาชีวะได้ เมื่อ ก.ได้เข้าเรียนและสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 3 อันเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนพณิชยการพระนครซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบได้ชั้นประโยคเตรียมอุดมศึกษาจึงถือได้ว่า ก.ได้เข้าเรียนอยู่ในโรงเรียนหรือสถาบันอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ก.จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส. การศึกษาเทียบเท่ามัธยมปลาย และการยื่นเอกสารเท็จ
การที่ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ก.ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยนำข้อความในมาตรา 19 (1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มากล่าวในคำร้องนั้น เป็นที่เข้าใจได้ว่า ก.มิใช่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นคำร้องที่ชัดแจ้ง ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
หลังจากจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ก.ได้เข้าเรียนกวดวิชาที่โรงเรียนวัดราชนัดดาและสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 3 หลังจากนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกวดวิชาวัดสุทัศน์และสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ 6 ซึ่งสามารถเข้าเรียนต่อในสายอาชีวะได้ เมื่อ ก.ได้เข้าเรียนและสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 3 อันเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียนพณิชยการพระนครซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบได้ชั้นประโยคเตรียมอุดมศึกษา จึงถือได้ว่า ก.ได้เข้าเรียนอยู่ในโรงเรียนหรือสถาบันอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 (1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ก.จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามกฎหมาย