คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มิใช่เรื่องอายุความ การยึดทรัพย์ก่อนไม่ขยายเวลาบังคับคดี
กำหนดระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็น ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่เรื่องอายุความ การที่ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยแล้ว เป็นเพียงขั้นตอนของการบังคับคดีหาทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตามกฎหมายขยายออกไปไม่ เช่นนี้ หากผู้ร้องยังประสงค์จะนำยึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้อีก หรือขอบังคับคดีต่อไป จะต้องกระทำภายในระยะเวลาดังกล่าว
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด การยึดทรัพย์ไม่ทำให้อายุความสะดุด
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 และอายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา193/14 แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์นั้นเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดผลตามคำพิพากษามิใช่เป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(5)ฉะนั้นการที่โจทก์นำหนี้ที่เหลือมาฟ้องให้จำเลยทั้งสามล้มละลายเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการรับสภาพหนี้: รับผิดเฉพาะมูลหนี้จริง
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์สำหรับหนี้จำนวนอื่นที่เกินกว่ามูลหนี้ที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยรับจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นการรับสภาพหนี้ที่เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง ย่อมมีผลบังคับแก่กันได้เฉพาะหนี้ที่มีอยู่จริงเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับสภาพหนี้เกินมูลหนี้จริง บังคับได้เฉพาะมูลหนี้ที่มีอยู่จริง
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์สำหรับหนี้จำนวนอื่นที่เกินกว่ามูลหนี้ที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นการรับสภาพหนี้ที่เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง ย่อมมีผลบังคับแก่กันได้เฉพาะหนี้ที่มีอยู่จริงเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นโมฆะ และผลกระทบต่อหนังสือสัญญากู้เงินที่แปลงหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การที่โจทก์ ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้อง ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็น โมฆะด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ เกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ ดังนี้ แม้โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึด ทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมา ขอรับชำระหนี้อีก หนี้ของเจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีการบังคับคดีแต่ไม่ทันอายุความ
เจ้าหนี้จึงยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 แม้โจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดจนครบกำหนดสิบปีและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แต่กำหนดเวลาให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้อีก ดังนั้นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย การบังคับคดีไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา แต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้จึงนำหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 แม้โจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดจนครบกำหนดสิบปีและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แต่กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้อีกดังนั้นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายสินค้าสีระหว่างผู้ประกอบการค้า ลักษณะพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เจ้าหนี้เป็นผู้ประกอบการค้าขายสินค้าสี ลูกหนี้เปิดร้านประกอบกิจการขายสินค้าสีและวัสดุก่อสร้าง ลูกหนี้ซื้อสินค้าสีจากเจ้าหนี้นำไปขายให้แก่ลูกค้าของลูกหนี้อีกต่อหนึ่ง ดังนี้การซื้อขายสินค้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้จึงมีลักษณะเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ตอนท้ายและมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(5) การที่เจ้าหนี้นำสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าสินค้าสีมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 4เมษายน 2539 แม้จะเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน2535 อันเป็นวันครบกำหนด 90 วัน ที่ลูกหนี้ต้องชำระเงินค่าสินค้าสีที่ลูกหนี้สั่งซื้อครั้งแรกถึงวันฟ้องก็ยังไม่ล่วงพ้นอายุความห้าปี และการที่เจ้าหนี้นำสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าขายสินค้าสีมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้บางหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะทำให้อายุความสะดุดหยุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2539 คดีถึงที่สุด จึงเริ่มนับอายุความใหม่ ตั้งแต่เวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/15 ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในมูลหนี้ค่าขายสินค้าสี ตามคำขอรับชำระหนี้จึงไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิ ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่หนี้ ค่าขายสินค้าสีถึงกำหนดชำระครั้งสุดท้ายจนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้วสัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า "ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)" และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญาหนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความหนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
of 20