พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: ผลของการมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและการขยายอายุความตามมาตรา 193/17 วรรคสอง
แม้คำให้การจำเลยจะยกข้อต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยโจทก์ไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้อันเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ก็ตามเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาว่าโจทก์เคยนำหนี้ดังกล่าวฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่7มิถุนายน2536ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ครบกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลนี้อันเป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายขยายออกไปอีกหกสิบวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคสองคดีจึงมีประเด็นพิพาทโต้เถียงกันโดยตรงด้วยว่าโจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีกพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ไม่ขาอายุความเพราะมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามคำฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุดอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างตรงตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยซึ่งปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุให้ขยายอายุความออกไปอีกหกสิบวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคสองหรือไม่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายมิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค4แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา271มาใช้บังคับได้ การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แล้วหากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา27,91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อีกด้วยมิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไปการฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ10ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่30กรกฎาคม2536และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา193/17วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน60วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุดการที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่27กันยายน2536ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด60วันตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การขยายอายุความ 60 วันหลังคำสั่งไม่รับฟ้อง
แม้คำให้การจำเลยจะยกข้อต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์ไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ อันเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาว่าโจทก์เคยนำหนี้ดังกล่าวฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่7 มิถุนายน 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ครบกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างการพิจารณา คดีโจทก์มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลนี้ อันเป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายขยายออกไปอีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นพิพาทโต้เถียงกันโดยตรงด้วยว่า โจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีกพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามคำฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างตรงตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เห็นว่า หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยซึ่งปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุให้ขยายอายุความออกไปอีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่ง ป.วิ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา 271 มาใช้บังคับได้
การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27, 91แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อีกด้วย มิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไป การฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/32 บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2536 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา 193/17วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2536 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 60 วัน ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่ง ป.วิ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา 271 มาใช้บังคับได้
การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27, 91แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อีกด้วย มิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไป การฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/32 บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2536 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา 193/17วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2536 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 60 วัน ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 456/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความชำรุดบกพร่อง: การซ่อมแซมต่อเนื่องทำให้อายุความสะดุดหยุดลง จนจำเลยปฏิเสธความรับผิดจึงเริ่มนับอายุความใหม่
โจทก์ผู้ซื้อพบ เสื้อเกียร์แตกครั้งแรกเมื่อวันที่27มีนาคม2532และจำเลยที่1ผู้ขายได้รับไปซ่อมเมื่อวันที่29มีนาคม2532แล้วนำมาส่งคืนถือว่าจำเลยที่1กระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์แล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ได้รับไปซ่อมแต่เมื่อเสื้อเกียร์ก็ยังแตกอีกหลายครั้งโดยจำเลยที่1ไม่สามารถแก้ไขความ ชำรุดบกพร่องในจุดเดิมได้อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงอยู่ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ส่งช่างไปแก้ไขแต่จำเลยที่1ปฏิเสธความรับผิดเป็นเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นได้สิ้นสุดลงต้อง เริ่มนับอายุความ 1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา474ใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัด เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุด ไม่ใช่เมื่อบอกเลิก
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์แล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีจนครบกำหนดสัญญาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญา ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นหาได้มีเจตนาจะเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไปไม่ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หาใช่เลิกกันนับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 6 มีนาคม 2534อายุความในคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2520 อันเป็นวันหลังจากครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แม้ว่าการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 15 ธันวาคม 2523 จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172 เดิม (มาตรา 193/14 (1) ที่แก้ไขใหม่) อันมีผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ ตามมาตรา 181 วรรคแรก เดิม(มาตรา 193/15 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2523 ตามมาตรา 181 วรรคสอง เดิม (มาตรา 193/15วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เริ่มนับเมื่อสัญญาหมดอายุ ไม่ใช่เมื่อบอกเลิกสัญญา
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์แล้วได้เบิกเงินเกินบัญชีจนครบกำหนดสัญญาโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย การที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญา ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้นหาได้มีเจตนาจะเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไปไม่ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหาใช่เลิกกันนับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาในวันที่ 6มีนาคม 2534 อายุความในคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11ธันวาคม 2520 อันเป็นวันหลังจากครบกำหนดตามสัญญากู้เงินเกินบัญชี แม้ว่าการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 15 ธันวาคม 2523 จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม(มาตรา 193/14(1) ที่แก้ไขใหม่) อันมีผลให้ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้น ย่อมไม่นับเข้าในอายุความ ตามมาตรา 181วรรคแรก เดิม (มาตรา 193/15 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2523 ตามมาตรา 181 วรรคสอง เดิม (มาตรา 193/15 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสูงกว่าที่ตกลง, การรับสภาพหนี้ไม่ทำให้หนี้เดิมระงับ, ศาลฎีกายืนตามพิพากษา
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้น ส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใด ต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า ธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่า คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญา ข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอน จำเลยที่ 1 ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้ เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยที่ 1 จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญา ทั้งจำเลยที่ 1 เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้ง มีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไป กรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสีย โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาขายลดเช็ค: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องและขอบเขตการฟ้องร้อง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้นส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่1ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายแม้จำเลยที่1จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอนจำเลยที่1ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้จำเลยที่1จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญาทั้งจำเลยที่1เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้งมีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไปกรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การรับสภาพหนี้, เช็ค, ประเด็นข้อต่อสู้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้นส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่1ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายแม้จำเลยที่1จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอนจำเลยที่1ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้จำเลยที่1จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญาทั้งจำเลยที่1เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้งมีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไปกรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผิดชอบหน้าที่โดยไม่มีมูลหนี้เดิม ไม่ถือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้
จำเลยที่ 2 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะทำหนังสือยอมรับผิดชอบตามหน้าที่ไว้ ก็หาทำให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้เพราะไม่มีมูลหนี้เดิมอันเกิดจากการละเมิดที่จะให้รับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ต้องมีมูลหนี้จากการละเมิด หากไม่มีมูลหนี้เดิม การทำหนังสือรับสภาพหนี้ก็ไม่ผูกพัน
จำเลยที่2มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่2จะทำหนังสือยอมรับผิดชอบตามหน้าที่ไว้ก็หาทำให้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้เพราะไม่มีมูลหนี้เดิมอันเกิดจากการละเมิดที่จะให้รับสภาพหนี้