พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องแย้งของเจ้าหนี้ในคดีอุทธรณ์ภาษีอากรและการสะดุดหยุดอายุความจากการบังคับตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยจะมีสิทธิได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ ต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องไม่ เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลใช้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นในอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/14 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาภาษีอากรที่ถูกประเมิน และผลกระทบของการแจ้งการประเมินต่ออายุความ
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา-อุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งคดีภาษีอากรและการสะดุดหยุดอายุความจากการสั่งบังคับภาษี
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับหนี้และผ่อนชำระ แม้ต่อมาจะอ้างว่าเป็นการบรรเทาโทษอาญา
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้ตามสัญญาว่าจ้างทำฟิลม์โปร่งแสงโฆษณาโดยบรรยายมาในคำฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์ทำจำนวนกี่แผ่น ค้างชำระค่าจ้างอยู่จำนวนเท่าใด และจำเลยได้รับสภาพหนี้ในเงินค่าจ้างดังกล่าวอย่างไร จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น สามารถทำให้จำเลยเข้าใจฟ้องได้ดีแล้ว ไม่เคลือบคลุม เมื่อคำให้การจำเลยเป็นเรื่องที่ต่อสู้ว่าจำเลยมิได้รับสภาพหนี้ ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าหนี้ค่าจ้างทำฟิล์มโปร่งแสงโฆษณาระงับด้วยการแปลงหนี้ใหม่มาเป็นมูลหนี้ตามเช็คจึงเป็นคนละเรื่องกับที่ให้การต่อสู้ไว้และเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยยกขึ้นมาอุทธรณ์ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคแรก เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ค่าจ้างทำฟิล์มโปร่งแสงโฆษณาให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คต่อศาลอาญาธนบุรีในการพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพและตกลงผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โดยได้ผ่อนชำระให้ไปแล้ว 40,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการชำระหนี้ค่าจ้างทำฟิล์มโปร่งแสงโฆษณาบางส่วนให้แก่โจทก์ เมื่อได้กระทำภายในอายุความ 2 ปี ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม(มาตรา 193/14 ใหม่) โจทก์ฟ้องหลังจากจำเลยงดการผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ยังไม่เกิน 2 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม – ขาดรายละเอียดการซื้อขายและชำระหนี้ ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ไว้ให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยซื้อสินค้าเชื่อไปจากโจทก์จำนวนเงิน 12,000 บาท ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ท้ายฟ้องแต่หนังสือดังกล่าวมีข้อความเพียงว่า "วันหลังกลับคำพูดยอดหนี้หนึ่งหมื่นสองพันบาท ให้เรียกกันว่าหมาในที่สาธารณะชนได้ตลอดเวลาโดยไม่ถือหมิ่นประมาท" ซึ่งไม่มีตอนไหนเลยที่ระบุว่าจำเลยซื้อสินค้าไปจากโจทก์เมื่อใด มีอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร และจำเลยจะชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่โจทก์หรือไม่ จะชำระอย่างไร เมื่อใดดังนี้จำเลยย่อมไม่อาจเข้าใจฟ้องของโจทก์ได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีมรดกของผู้ปกครองเด็ก, อายุความมรดกมีผู้จัดการ, การแบ่งมรดกสินส่วนตัวและสินร่วม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้ ค. เป็นผู้ปกครองของเด็กชาย ท.คดีถึงที่สุดแล้วค. ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กชาย ท.จำเลยไม่อาจโต้แย้งในคดีนี้ว่าค. ไม่มีอำนาจเป็นผู้ปกครองเด็กชาย ท. ได้ ฟ้องระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของเจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่มีสิทธิได้รับมรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องระบุว่าเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คนและเป็นผู้ใด หากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่าจำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งตามฟ้องไม่ถูกต้องจำเลยต้องให้การต่อสู้ไว้ และเมื่ออ่านฟ้องประกอบใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาด ที่ถูกต้องเป็นตามใบมรณบัตรแนบท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ทรัพย์ที่เจ้ามรดกกับ ส. เป็นเจ้าของร่วมกัน ต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม ทรัพย์มรดกตกได้แก่เด็กชาย ท. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับส่วนของเจ้ามรดกตกได้แก่ทายาทโดยธรรมทั้งสี่คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อรวมแล้วเด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับจำนวน 5 ใน 8 ส่วน กรณีทรัพย์มรดกมีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทไม่จำต้องฟ้องเรียกทรัพย์มรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754