พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอให้ล้มละลาย และอายุความ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ เนื่องจากผู้คัดค้านต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077(2) ผู้คัดค้านจึงไม่อาจต่อสู้คดีหรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือพิสูจน์ว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาด แต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้านล้มละลายต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำร้องขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำฟ้องและคำร้องขออาศัยเหตุต่างกันจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้สินของห้าง มิใช่เป็นหนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระหนี้แก่โจทก์วันที่ 22 มิถุนายน 2531 และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นคดีล้มละลายวันที่ 20 เมษายน 2541 ยังไม่พ้น 10 ปีนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งย่อมทำให้อายุความหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าว คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเด็ดขาดแล้วพิพากษาให้ล้มละลายตามห้างนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 89 โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงเหตุตามมาตรา 9
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดและผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาด แต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้านล้มละลายต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำร้องขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำฟ้องและคำร้องขออาศัยเหตุต่างกันจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้สินของห้าง มิใช่เป็นหนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้าน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดชำระหนี้แก่โจทก์วันที่ 22 มิถุนายน 2531 และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นคดีล้มละลายวันที่ 20 เมษายน 2541 ยังไม่พ้น 10 ปีนับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งย่อมทำให้อายุความหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ดังนั้นเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าว คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเด็ดขาดแล้วพิพากษาให้ล้มละลายตามห้างนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 89 โดยไม่จำต้องวินิจฉัยถึงเหตุตามมาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ หรือการแปลงหนี้ อายุความ 10 ปี
การรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ของ พ. แก่โจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ ทั้งในเอกสารดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้หนี้ของ พ. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญานั้นเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ โดยสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่คู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ซึ่งหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และเมื่อสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญารับสภาพหนี้และสัญญาที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 108 ดังนั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการชำระหนี้บางส่วนหลังขาดอายุความ ไม่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
เมื่อสิทธิเรียกร้องขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/10และ 193/28 ให้จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธินั้นโดยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ จึงมีผลเพียงว่า จำเลยจะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนไม่ได้เท่านั้นส่วนการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) จะต้องกระทำก่อนที่หนี้นั้นจะขาดอายุความ ดังนั้น การชำระหนี้ของจำเลยภายหลังที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากสัญญาจ้างทำของที่แบ่งชำระเป็นงวดๆ เริ่มนับจากวันที่ส่งมอบงานครบถ้วน
การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้พิมพ์หนังสือเป็นเรื่องจ้างทำของสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยชำระค่าจ้างดังกล่าวมีกำหนดอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
สัญญากำหนดชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ตามงานที่เสร็จเป็นช่วง ๆ โจทก์จัดส่งหนังสือให้จำเลยครบถ้วนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 ฉะนั้น อายุความของโจทก์ในการฟ้องเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าจ้างงวดสุดท้ายจึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2538 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 จึงเป็นเวลาเกินกว่าสองปีแล้ว จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/9 การบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นจริงของสัญญาที่แบ่งชำระค่าจ้างเป็นงวด ๆ ให้กลายเป็นการชำระหนี้ให้บางส่วน เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยแสดงเจตนาชดใช้ค่าเสียหาย แม้ยังไม่ได้ตกลงจำนวนเงิน
เกิดเหตุละเมิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2540 ช. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้มีอำนาจเจรจาตกลงค่าเสียหาย ได้ทำบันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายว่า ช. ตกลงกับผู้เสียหายทุกคน แล้วรับข้อเสนอของผู้เสียหายแต่ละคนเพื่อนำไปเสนอจำเลยที่ 2 พิจารณา ประกอบกับตามบันทึกเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหาย ช. ได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบว่า จำเลยที่ 2 จะชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ได้รับบาดเจ็บตามหลักฐานหรือใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่แท้จริงสำหรับผู้ตายให้ศพละ 50,000 บาท ความเสียหายต่อทรัพย์สินให้ประเมินตามความเป็นจริง ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) แล้ว จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2540จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทราบจากพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 2ปฏิเสธไม่ชดใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยการชำระด้วยเช็คของผู้อื่น ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
ตามสำเนาบันทึกที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ทำขึ้นมีข้อความว่า โจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์จึงเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ อายุความจึงสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน, การยอมรับสภาพหนี้, ผลกระทบการตายของผู้กู้ต่ออายุความ, การฟ้องร้องภายใน 1 ปี
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาอย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ที่ทำไปหลังถูกแจ้งหนี้ค่าละเมิดจากการใช้ไฟฟ้า ไม่ถือเป็นการข่มขู่ ทำให้โมฆียะ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใด ๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใด ๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการงดจ่ายไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไม่ถือเป็นการข่มขู่ทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่จำเลย หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ไม่โมฆียะ แม้จะถูกข่มขู่ หากการแจ้งหนี้และการงดจ่ายไฟเป็นสิทธิที่ทำได้ตามสัญญา
โจทก์เป็นนิติบุคคลประกอบกิจการโรงแรมได้ทำสัญญาซื้อกระแสไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำละเมิด แต่เมื่อมีกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าของโจทก์เกิดขึ้นตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีข้อความว่า "หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการซื้อขายไฟฟ้าข้อหนึ่งข้อใด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายงดจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อได้ทันที โดยผู้ขายไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ซื้อและผู้ขายตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าด้วยความสุจริตและจะไม่กระทำการใดๆ หรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการละเมิดการใช้ไฟฟ้า การละเมิดการใช้ไฟฟ้า หมายถึง การทำลายหรือดัดแปลงแก้ไขมาตรวัดไฟฟ้าและหรืออุปกรณ์ประกอบใดๆ ... ทำให้มาตรวัดไฟฟ้าอ่านค่าคลาดเคลื่อน..." นอกจากนี้ในกรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้า ตามสัญญายังระบุว่า "กรณีละเมิดการใช้ไฟฟ้าทางด้านกิโลวัตต์ และหรือกิโลวัตต์ชั่วโมง ผู้ซื้อต้องชดใช้ค่าละเมิดการใช้ไฟฟ้า..." ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่ฝ่ายจำเลยตามฟ้อง หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่ อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ตามฟ้องเป็นโมฆียะดังที่โจทก์อ้างไม่