พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแย่งการครอบครองที่ดินจากผู้ครอบครองก่อน ย่อมถูกฟ้องรื้อถอนได้ แต่ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากที่ดินรวมได้
ที่ดินพิพาทเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรวมทั้งโจทก์และจำเลย การที่จำเลยใช้คนงานเข้าไปถมดินทำรั้วสังกะสีล้อมที่ดินพิพาทไว้ทั้งสี่ด้านและทำเสาเพื่อสร้างโรงจอดรถของจำเลยในที่ดินพิพาทโดยอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของตน มิใช่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคน หากแต่เป็นการเข้าแย่งการครอบครองจากโจทก์ในลักษณะยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนเอง จำเลยไม่อาจอ้างว่าจำเลยเข้าใช้ประโยชน์ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก่อนซึ่งได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงจึงชอบที่จะเข้าขัดขวางและฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อรั้วถอนรั้วสังกะสีและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทได้
จำเลยรื้อรั้วลวดหนามและตัดฟันต้นกล้วย ต้นจาก และต้นมะพร้าวของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวมอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยย่อมต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ผู้เดียว หากแต่เป็นของเจ้าของรวมทุกคนคือโจทก์และจำเลย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่ได้
จำเลยรื้อรั้วลวดหนามและตัดฟันต้นกล้วย ต้นจาก และต้นมะพร้าวของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวมอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยย่อมต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ผู้เดียว หากแต่เป็นของเจ้าของรวมทุกคนคือโจทก์และจำเลย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม การครอบครอง การรุกพื้นที่ และสิทธิของเจ้าของรวม
ที่ดินพิพาทเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรวมทั้งโจทก์ และจำเลย การที่จำเลยใช้คนงานเข้าไปถมดินทำรั้วสังกะสีล้อมที่ดินพิพาทไว้ทั้งสี่ด้านและทำเสาเพื่อสร้างโรงจอดรถของจำเลยในที่ดินพิพาทโดยอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของตน มิใช่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคน หากแต่เป็นการเข้าแย่งการครอบครองจากโจทก์ในลักษณะยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนเอง จำเลยไม่อาจอ้างว่าจำเลยเข้าใช้ประโยชน์ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 วรรคหนึ่งโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก่อนซึ่งได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงจึงชอบที่จะเข้าขัดขวางและฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อรั้วถอนรั้วสังกะสีและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทได้ จำเลยรื้อรั้วลวดหนามและตัดฟันต้นกล้วย ต้นจากและต้นมะพร้าวของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวมอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยย่อมต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ผู้เดียว หากแต่เป็นของเจ้าของรวมทุกคนคือโจทก์และจำเลย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยเพิ่มเติมตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็สืบเนื่องมาจากไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯกำหนด ดังนั้น วันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่จำเลยวางเงินค่าทดแทนที่ดินตามที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ กำหนด และโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน เริ่มนับจากวันวางเงินเดิม ไม่ใช่วันคดีถึงที่สุด
เมื่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯ กำหนด ดังนี้วันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่จำเลยวางเงินค่าทดแทนที่ดินตามที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉลและการหลอกลวง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ.กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการจดทะเบียน และความรับผิดของนายหน้าและผู้ซื้อ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ. กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาระจำยอมต้องสอดคล้องกับคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้มีการอ้างถึง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมจำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาว่าที่ดินจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยการปลอมลายมือชื่อเป็นโมฆะ แม้คดีอาญายกฟ้อง ศาลแพ่งยังสามารถพิจารณาจากหลักฐานอื่นได้
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัทย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งโอนหุ้นเป็นโมฆะ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแจ้งความเท็จ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดีแพ่ง
คดีอาญาที่จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นเรื่องแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนคดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมการโอนหุ้นของบริษัท ย.โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับโอนเป็นโมฆะ เพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้โอนหุ้นในหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม สิทธิฟ้องคดีในคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานแจ้งความเท็จแต่อย่างใด ทั้งคู่ความในคดีส่วนอาญากับคู่ความในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีส่วนแพ่งมิได้เป็นคู่ความรายเดียวกัน เพราะ จำเลยที่ 2ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีส่วนอาญา และประเด็นแห่งคดีในคดีส่วนอาญามีประเด็นว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยร่วมกันปลอมหนังสือสัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัดโดยปลอมลายมือชื่อโจทก์โอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีนี้จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ.มาตรา 46 ที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และบอกเลิกสัญญาจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
ตามสัญญาจ้างกำหนดสิทธิของโจทก์ผู้ว่าจ้างในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยที่ 1 ได้อีกด้วยตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกันกล่าวคือ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิดังกล่าวทุกกรณีก็ได้
เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขยายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา พร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไป โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้
เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขยายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา พร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไป โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้