คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถวิล อินทรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานก่อนพิจารณาคำขอเลื่อนคดี มิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า7วันนั้นหมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริงๆแต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา88วรรคสอง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองและโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง1ข้อ2กแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์: ศาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาเมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเองศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลกับการรับรองอุทธรณ์: โจทก์ต้องดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่ กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณา เมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง ศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, ดอกเบี้ย, และการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่1และที่2กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่เป็นธรรมจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทางภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วงมะพร้าวและกล้วยมิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา21(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา22เพราะมาตรา22ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา21ก็ได้ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา21เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา11ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนจำเลยที่2มีหนังสือลงวันที่8กุมภาพันธ์2534แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15วันนับแต่วันหนังสือโจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2534แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าวจำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา28วรรคสองซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่2ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด15วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่14มีนาคม2534จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่14มีนาคม2534หาใช่วันที่11สิงหาคม2533ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่2นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้วสำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1และที่2ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใดจึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดราคาเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และดอกเบี้ยนับแต่วันจำเลยมีหน้าที่วางเงิน
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า ค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่เป็นธรรม จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทาง ภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วง มะพร้าว และกล้วย มิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ มีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา 21(1) ถึง(5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา 22 เพราะมาตรา 22 ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา 21 เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15 วัน นับแต่วันหนังสือ โจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 14 มีนาคม 2534 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2534 หาใช่วันที่ 11 สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้ว สำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใด จึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า ค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่เป็นธรรม จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทาง ภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวก มะม่วงมะพร้าว และกล้วย มิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อ ทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา 22 เพราะมาตรา 22 ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา 21 เสมอไป จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ โจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28วรรคสอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วัน นับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 14 มีนาคม 2534 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2534 หาใช่วันที่ 11สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้ว สำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใด จึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษและการคุมประพฤติเหมาะสมกว่าการจำคุกระยะสั้นสำหรับความผิดขับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน
การลงโทษจำคุกระยะสั้นนอกจากจะไม่เกิดผลในการแก้ไขให้จำเลยกลับตัวเป็นคนดีแล้วยังทำให้จำเลยกลายเป็นคนมีประวัติเสื่อมเสียเมื่อพ้นโทษแล้วยากที่จะกลับตัวประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริตต่อไปได้ย่อมส่งผลให้ครอบครัวหรือผู้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของจำเลยพลอยได้รับความเดือนร้อนทุกข์ยากไปด้วยและความผิดที่จำเลยขับรถบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้นก็มิใช่อาชญากรรมที่เป็นความผิดร้ายแรงอีกทั้งจำเลยเพิ่งจะกระทำความผิดครั้งแรกการให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวเป็นคนดีโดยการรอการลงโทษและควบคุมความประพฤติไว้เพื่อให้พนักงานคุมประพฤติคอยสอดส่องดูแลแนะนำช่วยเหลือหรือตักเตือนให้จำเลยได้แก้ไขฟื้นฟูตนเองเพื่อกลับตัวเป็นพลเมืองดีน่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมส่วนรวมมากกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การตีความข้อตกลงเรื่องสิ่งปลูกสร้างก่อนและหลังสัญญา
ข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าที่ดินว่าเมื่อสิ้นอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่าต้องรื้อออกจากที่ดินของผู้ให้เช่าทันทีโดยไม่เรียกร้องค่ารื้อถอนหรือค่าเสียหายใดจากผู้ให้เช่าส่วนสิ่งที่ได้ปลูกสร้างลงไว้ในที่ดินของผู้ให้เช่าผู้เช่ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นนั้นเป็นข้อความที่ระบุถึงสิ่งก่อสร้างไว้เป็นสองตอนตอนแรกระบุให้ผู้เช่าต้องรื้อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงตอนหลังระบุถึงสิ่งที่ผู้เช่าปลูกสร้างว่าผู้เช่าต้องยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าข้อความทั้งสองตอนมีความหมายที่แตกต่างกันคือข้อความตอนแรกไม่ได้กล่าวถึงการปลูกสร้างแต่กล่าวถึงการรื้อถอนเลยแสดงว่าขณะทำสัญญาเช่าที่ดินในที่พิพาทมีสิ่งปลูกสร้างของผู้เช่าอยู่ก่อนแล้วซึ่งก็คือบ้านพิพาทเลขที่354และ356ของจำเลยเพราะบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวจำเลยปลูกสร้างก่อนทำสัญญาเช่าที่ดินสำหรับข้อความในตอนหลังคู่สัญญาน่าจะหมายถึงสิ่งที่จะปลูกสร้างหลังจากทำสัญญาเช่าที่ดินแล้วดังนั้นบ้านพิพาททั้งสองหลังจึงยังไม่เป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าที่ดินโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะหารายได้จากบ้านพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันหลังการถอนฟ้องผู้กู้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่2รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันมูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่นๆด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่1ศาลชั้นต้นอนุญาตและจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความแล้วผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่1ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก การตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงไม่ระงับเมื่อจำเลยที่1ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้วจำเลยที่4ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องผู้กู้มีผลลบล้างกระบวนการสู้คดีเรื่องอายุความ ทำให้สิทธิเรียกร้องยังคงมีอยู่และผู้ค้ำประกันยังคงมีภาระผูกพัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตาม แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
of 27