พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บทกำหนดโทษโดยอนุโลมจากกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในคดีเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่าการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมนั่นก็คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมซึ่งต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4)ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมหาได้ไม่ฉะนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามพินัยกรรมและการครอบครองปรปักษ์ โดยมิได้ระบุส่วนแบ่งในโฉนด
แม้ตามโฉนดที่ดินแปลงที่พิพาท เดิมจะมีชื่อ จ.และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยในโฉนดมิได้บรรยายส่วนของแต่ละคนไว้ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่าใดก็ตามแต่ก็หาเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดไม่ ถ้าผู้เป็นเจ้าของรวมคนใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใดแล้ว เจ้าของรวมคนนั้นก็จะเป็นเจ้าของในส่วนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและกรรมสิทธิ์ร่วม การพิสูจน์ส่วนได้เสียตามพินัยกรรมและข้อเท็จจริงจากการครอบครอง
แม้ตามโฉนดที่ดินแปลงที่พิพาทเดิมจะมีชื่อจ.และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยในโฉนดมิได้บรรยายส่วนของแต่ละคนไว้ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่าใดก็ตามแต่ก็หาเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดไม่ถ้าผู้เป็นเจ้าของรวมคนใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใดแล้วเจ้าของรวมคนนั้นก็จะเป็นเจ้าของในส่วนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันเป็นเพียงสันนิษฐานได้ หากพิสูจน์ส่วนได้เสียแตกต่างออกไปได้
แม้ตามโฉนดที่ดินแปลงที่พิพาท เดิมจะมีชื่อ จ.และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยในโฉนดมิได้บรรยายส่วนของแต่ละคนไว้ ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็ตามแต่ก็หาเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดไม่ ถ้าผู้เป็นเจ้าของรวมคนใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใดแล้ว เจ้าของรวมคนนั้นก็จะเป็นเจ้าของในส่วนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุไม้สน, คุณภาพตามสัญญา, การขัดขวางการตัดไม้ และผลกระทบต่อภาระหน้าที่ชำระหนี้
หลักวิชาการเป็นเพียงทฤษฎีโดยทั่วไปเท่านั้นการเจริญเติบโตของต้นไม้ชนิดต่างๆรวมทั้งไม้สนพิพาทจะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นอีกหลายประการเช่นความสมบูรณ์ของพื้นดินที่ปลูกการให้ปุ๋ยน้ำภูมิอากาศฯลฯดังนี้เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการที่โจทก์อ้างอิงจึงไม่ใช่พยานหลักฐานที่บ่งบอกได้โดยแน่นอนว่าไม้สนพิพาทของจำเลยที่1มีอายุไม่ถึง6ปีเมื่อจำเลยที่1และที่3มีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารสืบแสดงได้ว่าจำเลยที่1ปลูกไม้สนพิพาทในที่ดินมาตั้งแต่ปี2522นับถึงวันที่จำเลยที่3ขายไม้สนดังกล่าวให้แก่โจทก์ไม้สนพิพาทมีอายุเกิน6ปีแล้วพยานหลักฐานของจำเลยที่1และที่3มีน้ำหนักรับฟังได้มากกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ส่วนข้อตำหนิที่ว่าไม้สนที่โจทก์ซื้อและตัดจากที่ดินของจำเลยที่1มีขนาดเล็กกว่าปกตินั้นก็คงเนื่องมาจากพื้นดินที่ปลูกเป็นดินเปรี้ยวและแม้โจทก์จะนำสืบโต้เถียงว่าไม้สนพิพาทในที่ดินของจำเลยที่1ยังโตไม่ได้ขนาดที่โจทก์ต้องการจะซื้อแต่โจทก์รับว่าโจทก์ได้ตัดไม้สนในที่ดินแปลงนั้นหมดทั้งแปลงและขนไปลงเรือส่งไปขายยังต่างประเทศแล้วแสดงว่านอกจากอายุของไม้สนที่จะต้องถึง6ปีแล้วโจทก์มิได้ถือเอาขนาดของไม้สนที่ต้องการจะซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญาฉะนั้นแม้ไม้สนพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่3ซึ่งตัดจากที่ดินของจำเลยที่1จะมีขนาดของลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง6นิ้วแต่เป็นต้นไม้สนที่มีอายุ6ปีแล้วไม้สนพิพาทจึงเป็นไม้สนที่มีคุณภาพตรงตามสัญญาจำเลยที่1และที่3หาได้ประพฤติผิดสัญญาด้วยการขายไม้สนที่มีอายุไม่ถึง6ปีให้แก่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ & สัญญาเช่าไม่สมบูรณ์ไม่กระทบสิทธิเจ้าของ
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยมีต่อโจทก์ซึ่งเป็นการครอบครองแทนโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไปแม้จำเลยจะครอบครองที่พิพาทเกิน10ปีก็หาทำให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ไม่ แม้โจทก์จะปิดอากรแสตมป์ในสัญญาเช่าที่ดินไม่ครบถ้วนก็ตามแต่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโจทก์จึงยังคงมีสิทธิที่จะฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่จำต้องใช้หนังสือสัญญาเช่าที่ดินเป็นพยานหลักฐานในคดีการเช่าจะปิดอากรแสตมป์โดยไม่ชอบทำให้รับฟังไม่ได้หรือไม่จึงไม่ใช่สาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงผลคดีแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก. กรณีพิพาทที่ดิน โจทก์ต้องฟ้องเพิกถอนก่อนจึงมีสิทธิฟ้องบังคับได้
คดีนี้โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาท โจทก์จึงต้องฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้อง คชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัย และมิได้มีการเรียก คชก.จังหวัดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จนล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองขายที่นาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด และปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยที่คู่ความไม่ต้องร้องขอ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องซื้อที่นาคืนตาม พรบ.เช่าที่ดินฯ ต้องฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัย คชก.ก่อน
คดีนี้โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทโจทก์จึงต้องฟ้องคชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดด้วยทั้งนี้เพื่อให้คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องคชก.จังหวัดเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยและมิได้มีการเรียกคชก.จังหวัดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จนล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองขายที่นาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดและปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยที่คู่ความไม่ต้องร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายในกำหนด30วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาศาลฎีกานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซื้อที่ดินคืนหลัง คชก. มีคำวินิจฉัย โจทก์ต้องฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยก่อน จึงมีสิทธิฟ้องบังคับได้
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา57วรรคหนึ่งกำหนดให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดจะต้องฟ้องคชก.จังหวัดเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดเพราะตราบใดคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายหากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดภายในกำหนดเวลาคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา57วรรคสองประกอบด้วยมาตรา56คดีนี้โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนครปฐมที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทโจทก์จึงต้องฟ้องคชก.จังหวัดนครปฐมเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนครปฐมเพื่อให้คชก.จังหวัดนครปฐมได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องคชก.จังหวัดนครปฐมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จนล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้ขายที่นาพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดนครปฐมและเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยที่คู่ความไม่ต้องร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10156/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวน: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนเงิน
ตอนที่โจทก์ไปดูที่พิพาทและทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำกับจำเลยนั้น โจทก์ไม่ทราบว่าที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การที่โจทก์ไม่อาจรับโอนที่พิพาทได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ชำระแล้วคืน ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว โจทก์และจำเลยจึงกลับคืนสู่ฐานะเดิม กล่าวคือ จำเลยต้องคืนเงินที่รับชำระแล้วให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยคืน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๓๐
โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยคืน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๓๐