พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเรื่องค่าขึ้นศาล จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำสั่งไม่รับอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระ แต่จำเลยไม่ชำระภายในกำหนดแม้ต่อมาจะพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยยังโต้แย้งอยู่โดยการอุทธรณ์ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้โดยไม่จำต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่งก่อน ดังนี้ เมื่อยังไม่มีข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นที่สุดประการใด ศาลชั้นต้นก็ยังไม่อาจจะมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน: การพิสูจน์สถานะเจ้าพนักงานและการแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสัญชาติ
ความผิดฐานแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น หมายถึงการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วไปมิใช่เจ้าพนักงานฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจตรี ก. ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทย ร้อยตำรวจตรี ก. รับราชการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีตำแหน่งเป็นรองสารวัตรฝ่ายสืบสวนสอบสวน ประจำสำนักงานควบคุมชนต่างชาติผู้อพยพกองตำรวจสันติบาล โดยร้อยตำรวจตรี ก. ร่วมทำการสืบสวนสถานภาพของจำเลยตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน การสืบสวนของร้อยตำรวจตรี ก. เกี่ยวกับสถานภาพของจำเลยและการสอบปากคำจำเลยจึงเป็นการกระทำในฐานะเจ้าพนักงาน หาใช่กระทำการโดยปราศจากคำสั่งหรือมิได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาไม่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจตรี ก. ให้กรอกข้อความในแบบสอบปากคำว่า จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติเวียดนามหรือญวน มีสถานภาพเป็นคนญวนอพยพมิได้มีสัญชาติไทย และความเท็จนั้นอาจทำให้บุคคลอื่นหรือประชาชนเสียหาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร องค์ประกอบความผิดและเจตนาที่แท้จริงของผู้กระทำ
การที่ ป. มารดาเด็กหญิงส.ยินยอมให้เด็กหญิงส.เดินทางไปกับจำเลยก็เพื่อไปรับจ้างทำงานเป็นลูกจ้างขายผักที่ตลาดเท่านั้น มิได้ยินยอมให้จำเลยพาไปเพื่อการอนาจารแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่จำเลยพาเด็กหญิงส.เข้าไปในโรงแรมเพื่อกระทำอนาจารหรือร่วมประเวณี แม้จำเลยยังไม่ทันกระทำการดังกล่าวก็ตามพฤติการณ์ของจำเลยก็เข้าองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคหนึ่ง และวรรคสามอันเป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาใช่เพียงขั้นพยายามไม่ จำเลยเพียงแต่ให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าจำเลยพาเด็กหญิงส.ไปเพื่อการอนาจาร คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนกับคำเบิกความของจำเลยไม่ได้ยอมรับว่าจำเลยพรากเด็กหญิงส.อายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากความปกครองดูแลของนางป.มารดาเพื่อการอนาจารซึ่งเป็นข้อหาที่โจทก์ฟ้อง ส่วนการที่จำเลยมอบเงิน 7,000 บาท ให้แก่ ป. ก็เพื่อเป็นค่าทำขวัญเด็กหญิงส. ที่ถูกชายอื่นพาไปข่มขืนกระทำชำเรามิใช่การมอบให้เพราะเหตุอันเกิดจากการที่จำเลยสำนึกผิดในการกระทำ จึงไม่ใช่เหตุบรรเทาโทษตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 วรรคสอง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากเด็กหญิงส.อายุ 13 ปีเศษ ไปเสียจากความปกครองดูแลของ ป. ผู้เป็นมารดาเพื่อการอนาจารครบองค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์แล้ว หาจำต้องบรรยายว่าจำเลยกระทำอนาจารอย่างไรไม่ ฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยสำคัญผิดในอายุของเด็กหญิงส. ว่าเกิน15 ปี แล้ว เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกามิใช่ข้อที่ได้ ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่แจ้งเขตที่ดินตามกฎหมาย ทำให้ต้องใช้หลักเกณฑ์ค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2530 ซึ่งหลังจากที่ พ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าวพ้นกำหนดอายุใช้บังคับแล้วได้มีการออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2535 เท่ากับว่ามีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นกรณีตามมาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม จึงต้องนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้โดยอนุโลม คือต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคากับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาที่ดินส่วนที่เหลือ, การชดเชยความเสียหาย, และการปรับลดค่าทดแทน
ข้ออุทธรณ์ฎีกาของโจทก์ซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วย จึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกา ที่ดินมรดกของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนด้านที่ติดคลองกลายเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนที่ที่จะก่อสร้างเนื่องจากการเวนคืนซึ่งเป็นถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรกว้าง 60 เมตรเป็นถนนขนาดใหญ่ แม้จะทำให้ที่ดินด้านกว้างซึ่งติดถนนสาธารณะอยู่แล้วแคบลงไปกว่าเดิม และเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้ที่ดินส่วนที่เหลือก่อสร้างอาคารสูงตามความตั้งใจของโจทก์ก็ตาม แต่ประโยชน์ในทางอื่นที่โจทก์ได้รับจากการใช้ที่ดินส่วนที่เหลือด้านที่ติดกับถนนที่ทางราชการตัดใหม่กลับมีมากกว่าเดิมเป็นอย่างมาก คือสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดแนว ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนมีราคาสูงขึ้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนออกใช้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ก็ตาม แต่มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสาม ที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนและให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ เมื่อปรากฏชัดว่าที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืน จึงต้องนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับ เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 2 เงินค่าทดแทน และผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18(1) ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้นต้องเป็นกรณีที่ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลง แต่เมื่อที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้น ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับการต้องถอยร่นระยะจากแนวถนนสาธารณะเมื่อมีการก่อสร้างอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6398/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นหลังเวนคืน ไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนเพิ่ม
ข้ออุทธรณ์ฎีกาของโจทก์ซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วย จึงเป็นอุทธรณ์ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกา
ที่ดินมรดกของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนด้านที่ติดคลองกลายเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนที่ที่จะก่อสร้างเนื่องจากการเวนคืนซึ่งเป็นถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรกว้าง 60 เมตรเป็นถนนขนาดใหญ่ แม้จะทำให้ที่ดินด้านกว้างซึ่งติดถนนสาธารณะอยู่แล้วแคบลงไปกว่าเดิม และเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้ที่ดินส่วนที่เหลือก่อสร้างอาคารสูงตามความตั้งใจของโจทก์ก็ตาม แต่ประโยชน์ในทางอื่นที่โจทก์ได้รับจากการใช้ที่ดินส่วนที่เหลือด้านที่ติดกับถนนที่ทางราชการตัดใหม่กลับมีมากกว่าเดิมเป็นอย่างมาก คือสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดแนว ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนมีราคาสูงขึ้น แม้ยังไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนออกใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ก็ตาม แต่มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนและให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ เมื่อปรากฏชัดว่าที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืน จึงต้องนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับ
เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน และผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา18 (1) ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้นต้องเป็นกรณีที่ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลง แต่เมื่อที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้น ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับการต้องถอยร่นระยะจากแนวถนนสาธารณะเมื่อมีการก่อสร้างอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้
ที่ดินมรดกของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนด้านที่ติดคลองกลายเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนที่ที่จะก่อสร้างเนื่องจากการเวนคืนซึ่งเป็นถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรกว้าง 60 เมตรเป็นถนนขนาดใหญ่ แม้จะทำให้ที่ดินด้านกว้างซึ่งติดถนนสาธารณะอยู่แล้วแคบลงไปกว่าเดิม และเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้ที่ดินส่วนที่เหลือก่อสร้างอาคารสูงตามความตั้งใจของโจทก์ก็ตาม แต่ประโยชน์ในทางอื่นที่โจทก์ได้รับจากการใช้ที่ดินส่วนที่เหลือด้านที่ติดกับถนนที่ทางราชการตัดใหม่กลับมีมากกว่าเดิมเป็นอย่างมาก คือสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดแนว ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนมีราคาสูงขึ้น แม้ยังไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนออกใช้บังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ก็ตาม แต่มาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสามที่ให้เอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนและให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้สำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันราคาลดลงนั้น เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการสำคัญในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น จึงไม่ใช่กรณีที่จะถือเป็นเหตุที่จะทำให้หลักการสำคัญตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้บังคับไม่ได้ เมื่อปรากฏชัดว่าที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืน จึงต้องนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับ
เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 หมวด 2 เงินค่าทดแทน และผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา18 (1) ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้นต้องเป็นกรณีที่ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนนั้นราคาลดลง แต่เมื่อที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนนั้นมีราคาสูงขึ้น ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับการต้องถอยร่นระยะจากแนวถนนสาธารณะเมื่อมีการก่อสร้างอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำผิดและระเบียบพัสดุ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518มาตรา 83 และมาตรา 85 การลงโทษผู้กระทำผิดวินัยที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง หากเป็นการกระทำผิดวินัยเล็กน้อยอาจลงโทษภาคทัณฑ์ก็ได้ และหากเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจะงดลงโทษ โดยว่ากล่าวตักเตือนหรือให้ ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้ นอกจากนี้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ได้วางระเบียบในการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ในข้อ 8(3) ว่า ถ้าการกระทำไม่เป็นเหตุให้ทางราชการเสียหายให้ลงโทษภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น เมื่อกรณีของโจทก์เป็นการกระทำผิดวินัยขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521โดยโจทก์กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และไม่ทำให้ทางราชการเสียหาย การลงโทษทางวินัยโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ตามข้อ 8(3) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 คือภาคทัณฑ์หรือว่ากล่าวตักเตือน โดยทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร การที่จำเลยที่ 2 ลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ร้อยละ 10 มีกำหนด 2 เดือน ซึ่งขัดต่อระเบียบดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2522 ข้อ 75, 76 (1) (4) แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด
เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 (มาตรา 22 เดิม)เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา40, 41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ.2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 17 ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6247/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไข/รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงไม่ถูกต้อง และการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์จำเลยที่สั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาท โดยจำเลยอ้างเหตุว่าส่วนที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นมีการดัดแปลงต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 75,76(1)(4)แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องยืนยันว่าอาคารพิพาทไม่มีการดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครตามคำสั่งดังกล่าว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นว่า อาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจริงซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจอนุญาตให้ดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทในส่วนที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเช่นนั้นได้ เมื่อมีการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21(มาตรา 22 เดิม) เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้ เจ้าของอาคารยื่นคำขอใบอนุญาตหรือให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522(ฉบับเดิม) มาตรา 40 และ 43 วรรคหนึ่ง และถ้าเจ้าของอาคารไม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควรได้ตามมาตรา 43 วรรคสาม และแม้ต่อมามีการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ก็ยังคงบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้นไว้เช่นเดิม โดยเพียงแต่แก้ไขนำไปบัญญัติเป็นข้อความในมาตรา 40,41 และ 42 เท่านั้น ดังนี้แม้เจ้าพนักงานเพิ่งตรวจพบในปี พ.ศ. 2536 ว่าอาคารพิพาทมีส่วนที่ดัดแปลงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้โดยชอบไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้กระทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารพิพาทเองหรือไม่ก็ตาม และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารพิพาทได้โดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เพียงพอที่จะนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายได้แล้ว คดีไม่จำเป็นต้องสืบพยานศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52ที่กำหนดระยะเวลาให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายในกำหนดนั้นเมื่อไม่ได้กำหนดสภาพบังคับไว้ว่าถ้าวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้วถือเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะวินิจฉัยเสร็จเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวก็ยังคงถือเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีประธานกรรมการไม่ได้เข้าประชุม ซึ่งที่ประชุมสามารถเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 14ดังนี้ คำวินิจฉัยในการประชุมเช่นนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ชอบแล้ว พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ฉบับที่ใช้บังคับเดิมและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535ที่แก้ไขใหม่ ต่างก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคารแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้อง หากไม่ปฏิบัติตามก็มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารในส่วนที่เห็นสมควรได้ และเมื่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะอ้างบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ภายหลังการก่อสร้างอาคารพิพาท ก็มิใช่เหตุทำให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลายเป็นไม่ชอบแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5980/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การดิ้นรนเพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมตัวไม่ถึงขั้นเป็นความผิด
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ในข้อหาลักทรัพย์และควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ไปที่รถโดยสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ. เดินขนาบข้างคล้องแขนจำเลยที่ 1 ไว้คนละข้าง ระหว่างทางจำเลยที่ 2 กับพวกประมาณ 10 ถึง 15 คน เข้ามาแย่งตัวจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 เข้ามาดึงตัวจำเลยที่ 1 ออกไป และถีบสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจอ. ส่วนจำเลยที่ 1 ได้พยายามดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากการถูกควบคุมตัว ซึ่งแม้ว่าในการดิ้นรนของจำเลยที่ 1 จะเป็นเหตุให้เท้าของจำเลยที่ 1 ไปโดนสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ. ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140