คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ถวิล อินทรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดก: เหตุผลที่ศาลอาจไม่ถอนผู้จัดการมรดก แม้จะล่าช้าในการทำบัญชีทรัพย์สิน
แม้ทรัพย์มรดกบางอย่าง เช่น ที่ดินจะมีการเปลี่ยนชื่อจากชื่อของเจ้ามรดกที่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่มาเป็นชื่อผู้ร้องก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้ามรดกในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกไม่ได้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องแต่อย่างใด การมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกก็เท่ากับมีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคนของเจ้ามรดก พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปกปิดหรือเบียดบังทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกส่วนทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์มรดกผู้ร้องก็ได้ต่อสู้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งผู้คัดค้านต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นแบ่งปันมรดกผู้คัดค้านจะยกเอาเหตุดังกล่าวข้างต้นทั้งสองกรณีมาเป็นเหตุร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกไม่ได้ การที่ผู้ร้องมีเอกสารถึง ว. ให้จดทะเบียนโอนหุ้นของบริษัทที่เจ้ามรดกมีหุ้นอยู่ทั้งหมดและจัดการรวบรวมที่ดินที่มีชื่อของเจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมมาเป็นชื่อของผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกการดำเนินการดังกล่าวถือว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก ของเจ้ามรดกได้ดำเนินการรวบรวมทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเพื่อ แบ่งปันแก่ทายาทของเจ้ามรดกทุกคนภายในเวลาที่กฎหมาย กำหนดแล้วแม้จะยังรวบรวมไม่เสร็จก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องละเลยไม่ยอมดำเนินการรวบรวมทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกมาแบ่งปันแก่ทายาท ผู้ร้องไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายในกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1728(2) และ 1729 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องก็นำสืบได้ถึงเหตุที่ไม่ได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นว่าไม่ได้เกิดเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต หรือความไม่สามารถ อันเห็นประจักษ์ของผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1731 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้บังคับให้ต้องถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกทำการรวบรวมทรัพย์มรดกต่อไปและผู้คัดค้านเป็นบุคคลผู้สูงอายุมากแล้ว จึงไม่ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ vs. จำหน่าย และเหตุจำเป็นในการพกพาอาวุธ
ข้อเท็จจริงได้ความจากคำพยานโจทก์แต่เพียงว่า เฮโรอีนของกลางเป็นของจำเลยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือพยานแวดล้อมมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่า จำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่ใคร ที่ไหน และอย่างไร หลังจากถูกจับแล้วจำเลยก็ให้การรับสารภาพมาแต่แรกว่า จำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้เพื่อเสพ ตลอดจนเฮโรอีนของกลางก็มีน้ำหนักเพียง 9.90 กรัม จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ขณะถูกจับกุมจำเลยกำลังรอรับเงินตามเช็คจากธนาคารจำนวน 700,000 บาท ซึ่งเป็นการเบิกเงินสดจำนวนมาก ดังนั้น การที่จำเลยนำอาวุธปืนของกลางติดตัวไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่มีเหตุอันสมควรเพราะเป็นการกระทำเพื่อป้องกันทรัพย์สินอันมีค่าของตน อีกทั้งอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และการพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปของจำเลย ก็เป็นการใส่ไว้ในกระเป๋าถืออย่างมิดชิดอีกด้วย จึงถือได้ว่าเป็นการพาไปโดยมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ การที่จำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปดังกล่าวจึงไม่มีความผิดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อเสพ และการพาอาวุธปืนเพื่อป้องกันทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิด
ข้อเท็จจริงได้ความจากคำพยานโจทก์แต่เพียงว่า เฮโรอีนของกลางเป็นของจำเลยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือพยานแวดล้อมมานำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายให้แก่ใคร ที่ไหนและอย่างไร หลังจากถูกจับแล้วจำเลยก็ให้การรับสารภาพมาแต่แรกว่า จำเลยมีเฮโรอีน ของกลางไว้เพื่อเสพ ตลอดจนเฮโรอีนของกลางก็มีน้ำหนักเพียง 9.90 กรัม จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ขณะถูกจับกุมจำเลยกำลังรอรับเงินตามเช็คจากธนาคารจำนวน 700,000 บาท ซึ่งเป็นการเบิกเงินสดจำนวนมากดังนั้น การที่จำเลยนำอาวุธปืนของกลางติดตัวไป ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำที่มีเหตุอันสมควรเพราะเป็นการกระทำเพื่อป้องกันทรัพย์สินอันมีค่าของตน อีกทั้งอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และการพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปของจำเลยก็เป็นการใส่ไว้ในกระเป๋าถืออย่างมิดชิดอีกด้วย จึงถือได้ว่าเป็นการพอไปโดยมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ การที่จำเลยพาอาวุธปืนของกลาง ติดตัวไปดังกล่าวจึงไม่มีความผิดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับจากวันที่วางเงิน และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเงินฝากออมสิน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่งจึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536 เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536หาใช่นับแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่าอัตราที่โจทก์ขอมาโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และการกำหนดวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตรา สูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดิน ที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดิน ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกันโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536 หาใช่นับแต่วันที่25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ และอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละที่โจทก์ขอมา โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ย สูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีรายจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-จัดหางานเถื่อน: กระทำความผิดต่อเนื่องได้ ศาลยืนเรียงกระทงลงโทษ
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน และความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตสามารถกระทำความผิดต่อเนื่องในคราวเดียวกันได้
จำเลยกับพวกร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานทั่วไปด้วยการเรียกและรับเงินค่าบริการเป็นการตอบแทนจากคนหางานโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางก่อนจะไปหลอกลวงประชาชนรวมทั้งผู้เสียหายให้ไปสมัครงานกับจำเลยและพวก การกระทำดังกล่าวมีความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4,30 วรรคหนึ่ง และ 82 สำเร็จแล้วกระทงหนึ่ง ส่วนที่จำเลยกับพวกไปหลอกลวงบรรดาประชาชนรวมทั้งผู้เสียหายผู้ซึ่งประสงค์จะเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศให้ไปสมัครงานกับจำเลยและพวกด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยและพวกสามารถจัดส่งคนงานรวมทั้งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศในตำแหน่งงานและอัตราค่าจ้างตามที่คนหางานและผู้เสียหายต้องการได้ทั้งที่ความจริงแล้วจำเลยและพวกไม่สามารถที่จะจัดส่งบรรดาคนหางานและผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายและประชาชนซึ่งเป็นคนหางานหลงเชื่อว่า ข้อความเท็จที่จำเลยและพวกหลอกลวงเป็นความจริง ต่างพากันมอบเงินค่าบริการจัดหางานเป็นการตอบแทนให้แก่จำเลยและพวก การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83 สำเร็จแยกต่างหากจากความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้เป็นธรรม และดอกเบี้ยเงินค่าทดแทน
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์ เขตป้อมปราบ-ศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวางกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 หมดอายุวันที่ 16 มิถุนายน 2535 ส่วน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ...พ.ศ. 2535 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2535 มีระยะห่างกันเพียง 2 เดือน และกำหนดเขตที่จะทำการสำรวจเพื่อเวนคืนและท้องที่ที่จะเวนคืนเป็นเขตและท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2530 สิ้นอายุแล้วที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนมีสภาพเปลี่ยนแปลงอย่างไร และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 เคยสำรวจที่ดินโจทก์และทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนแน่นอนแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการสำรวจหรือกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินโจทก์ดังกล่าวขึ้นใหม่
ขณะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขาย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืน จึงต้องบังคับตามว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในย่านที่เจริญแล้ว แม้การเวนคืนที่ดินจะมีเหตุและวัตถุประสงค์เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภคของรัฐก็ตามแต่รัฐก็เก็บเงินค่าตอบแทนจากการใช้บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย เมื่อศาลฎีกาคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นว่าที่จำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนยังไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าวเพิ่มขึ้นได้
เมื่อฝ่ายจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ขอ
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 10 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าทดแทนที่ดินให้หมดภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ดังนั้น วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตาม มาตรา26 วรรคสาม คือ วันที่ 15 เมษายน 2536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินราคาค่าทดแทนที่เป็นธรรม และดอกเบี้ยที่เหมาะสม
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสัมพันธวงศ์เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเขตพระนครเขตดุสิต เขตบางเขน เขตพญาไท และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 หมดอายุ วันที่ 16 มิถุนายน 2535 ส่วน พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณ ที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2535 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2535 มีระยะห่างกันเพียง 2 เดือน และกำหนดเขตที่จะทำการ สำรวจเพื่อเวนคืนและท้องที่ที่จะเวนคืนเป็นเขตและท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจาก พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณ ที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2530 สิ้นอายุแล้วที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน มีสภาพเปลี่ยนแปลงอย่างไร และพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคหนึ่งกำหนดให้ดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน เมื่อจำเลยที่ 1 เคยสำรวจที่ดินโจทก์และทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนแน่นอนแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จำเลยที่ 1 ต้องดำเนินการสำรวจหรือกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินโจทก์ดังกล่าวขึ้นใหม่ ขณะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ.2535มีผลใช้บังคับแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขาย ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืน จึงต้องบังคับตามว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21(1) ถึง(5)ประกอบกัน ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในย่าน ที่เจริญแล้วแม้การเวนคืนที่ดินจะมีเหตุและวัตถุประสงค์เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างทางพิเศษระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่ออำนวยความสะดวก และความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการ สาธารณูปโภคของรัฐก็ตามแต่รัฐก็เก็บเงินค่าตอบแทนจากการใช้ บริการดังกล่าว อันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย เมื่อ ศาลฎีกาคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวประกอบกันแล้ว เห็นว่าที่ จำเลยทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนยังไม่ เป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนดังกล่าวเพิ่มขึ้นได้ เมื่อฝ่ายจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัย ของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ย เงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ขอ โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าทดแทนที่ดินให้หมดภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ดังนั้น วันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม คือ วันที่ 15 เมษายน 2536

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมและดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับหลังซึ่งมีผลใช้บังคับหลังจากฉบับก่อนสิ้นผลบังคับ 2 เดือน โดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ตามที่เคยสำรวจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับก่อนที่หมดอายุแล้วโดยไม่ได้ทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฉบับใหม่แต่พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับและกำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพที่ดินของโจทก์เปลี่ยนแปลงอย่างไร จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่มีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) สภาพและที่ตั้งของที่ดินโจทก์อยู่ติดถนนซอยเทียมร่วมมิตรห่างจากที่ดินที่โจทก์นำสืบเปรียบเทียบซึ่งอยู่ติดถนนซอยยอดสุวรรณประมาณ 100 เมตรไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่ามีความเจริญต่างกันอย่างไรและที่ดินที่โจทก์นำมาเปรียบเทียบขายให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จึงไม่อาจเปรียบเทียบราคากันได้ ที่ดินโจทก์สามารถเข้าออกถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม 9และถนนรัชดาภิเษกได้แสดงว่าอยู่ในย่านที่เจริญแล้วแม้กิจการที่จะเวนคืนมาสร้างเป็นกิจการเพื่อสาธารณูปการของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจร แต่ก็เก็บค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วยสมควรกำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้เพิ่มอีก จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ย เงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสิน แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองและค่าธรรมเนียม
แม้โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบกิจการให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 ก็ตาม แต่สำหรับวัตถุประสงค์ในการให้บริการออกบัตรเครดิตแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์นั้น สมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากร้านค้าหรือสถานบริการแทนการชำระด้วยเงินสดโดยโจทก์จะออกเงินทดรองชำระแก่เจ้าหนี้ค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังอันเป็นลักษณะการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและบริการ ส่วนการให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิตดังกล่าวก็มีลักษณะให้เป็นบริการส่วนหนึ่งประกอบการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกของโจทก์ และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนหรือให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้า แล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) จำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2536 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมาโจทก์เพิ่งฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
of 27