พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองและค่าธรรมเนียม
แม้โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์และประกอบกิจการให้บริการสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 ก็ตาม แต่สำหรับวัตถุประสงค์ในการให้บริการออกบัตรเครดิตแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์นั้น สมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการที่ซื้อจากร้านค้าหรือสถานบริการแทนการชำระด้วยเงินสดโดยโจทก์จะออกเงินทดรองชำระแก่เจ้าหนี้ค่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังอันเป็นลักษณะการทำกิจการงานให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกในการซื้อสินค้าและบริการ ส่วนการให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิตดังกล่าวก็มีลักษณะให้เป็นบริการส่วนหนึ่งประกอบการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกของโจทก์ และโจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนหรือให้สมาชิกถอนเงินสดล่วงหน้า แล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) จำเลยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2536 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมาโจทก์เพิ่งฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาคดี: ผลของการทราบคดีหลังกลับจากต่างประเทศ และกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่
แม้ในขณะถูกฟ้องและถูกบังคับคดี จำเลยจะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องและถูกบังคับคดีเพราะขณะนั้นจำเลยเดินทางจากประเทศไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่เกาะฮ่องกง และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งหลังจากนั้นจำเลยไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่จังหวัดระยองโดยที่จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้องหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายบังคับคดีเลยก็ตาม แต่หลังจากจำเลยเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว จำเลยทราบว่า จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้และจำเลยต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี ตามที่จำเลยและทนายความของจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวน และขอคัดสำเนาคำฟ้องคำพิพากษาและคำสั่ง ของศาล ดังนั้น แม้เหตุที่จำเลยต้องขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สืบเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังประเทศไทยและจำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องในวันที่27 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยขอตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้นนั้น ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 30ตุลาคม 2538 ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาคดี: ผลกระทบเมื่อจำเลยทราบเรื่องหลังพ้นเหตุสุดวิสัย
แม้ในขณะถูกฟ้องและถูกบังคับคดี จำเลยจะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องและถูกบังคับคดีเพราะขณะนั้นจำเลยเดินทางจากประเทศไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่เกาะฮ่องกง และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งหลังจากนั้นจำเลยไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่จังหวัดระยองโดยที่จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้องหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายบังคับคดีเลยก็ตาม แต่หลังจากจำเลยเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว จำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้และจำเลยต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดีตามที่จำเลยและทนายความของจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวนและขอคัดสำเนาคำฟ้องคำพิพากษาและคำสั่งของศาล ดังนั้น แม้เหตุที่จำเลยต้องขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาสืบเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง ก็ตามแต่เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังประเทศไทยและจำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องในวันที่ 27 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยขอตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้นนั้น ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นที่ใดมีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยตกลงซื้อปลาจากแพปลาของโจทก์ในจังหวัดสงขลา เพื่อให้ส่งปลาไปให้จำเลยที่จังหวัดภูเก็ต สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นที่จังหวัดสงขลา ส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่ส่งและรับมอบสินค้า เมื่อจำเลยผิดสัญญา มูลความแห่งคดีจึงเกิดขึ้นเนื่องจากสัญญาซื้อขายดังกล่าว ศาลจังหวัดสงขลาจึงเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลย่อมมีอำนาจรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ถูกทำร้ายก่อน ศาลไม่รับรองการกระทำ
ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนด้วยการด่า และท้าทายจำเลยให้มาต่อสู้กัน และเข้ามากระชากคอเสื้อจำเลยย่อมเป็นเหตุให้จำเลยสามารถกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันตัวได้ แต่จะต้องเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุด้วย ผู้เสียหายเพียงแต่ดึงคอเสื้อจำเลยเท่านั้นไม่ได้ลงมือทำร้ายจำเลย ตลอดจนผู้เสียหายไม่มีอาวุธติดตัว การที่จำเลยใช้มีดปาดตาลขนาดยาวทั้งตัวมีดและด้ามประมาณ 1 ฟุตใบมีดกว้างประมาณ 4 นิ้ว ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่แทงผู้เสียหายที่บริเวณไหปลาร้าขวา ราวนมขวา ราวนมซ้าย และชายโครงซ้ายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ และบริเวณส่วนอื่นของร่างกายรวม 9 แห่งซึ่งเป็นบาดแผลที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ผู้เสียหายเริ่มก่อเหตุ ศาลไม่ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนด้วยการด่า และท้าทายจำเลยให้มาต่อสู้กัน และเข้ามากระชากคอเสื้อจำเลย ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยสามารถกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันตัวได้ แต่จะต้องเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุด้วย
ผู้เสียหายเพียงแต่ดึงคอเสื้อจำเลยเท่านั้นไม่ได้ลงมือทำร้ายจำเลย ตลอดจนผู้เสียหายไม่มีอาวุธติดตัว การที่จำเลยใช้มีดปาดตาลขนาดยาวทั้งตัวมีดและด้ามประมาณ 1 ฟุต ใบมีดกว้างประมาณ 4 นิ้ว ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่แทงผู้เสียหายที่บริเวณไหปลาร้าขวา ราวนมขวา ราวนมซ้าย และชายโครงซ้ายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ และบริเวณส่วนอื่นของร่างกายรวม 9 แห่ง ซึ่งเป็นบาดแผลที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายเพียงแต่ดึงคอเสื้อจำเลยเท่านั้นไม่ได้ลงมือทำร้ายจำเลย ตลอดจนผู้เสียหายไม่มีอาวุธติดตัว การที่จำเลยใช้มีดปาดตาลขนาดยาวทั้งตัวมีดและด้ามประมาณ 1 ฟุต ใบมีดกว้างประมาณ 4 นิ้ว ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่แทงผู้เสียหายที่บริเวณไหปลาร้าขวา ราวนมขวา ราวนมซ้าย และชายโครงซ้ายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ และบริเวณส่วนอื่นของร่างกายรวม 9 แห่ง ซึ่งเป็นบาดแผลที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ แม้ถูกทำร้ายก่อน ศาลไม่ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนด้วยการด่าและท้าทายจำเลยให้มาต่อสู้กันและเข้ามากระชากคอเสื้อจำเลยย่อมเป็นเหตุให้จำเลยสามารถกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันตัวได้แต่จะต้องเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุด้วย ผู้เสียหายเพียงแต่ดึงคอเสื้อจำเลยเท่านั้นไม่ได้ลงมือทำร้ายจำเลยตลอดจนผู้เสียหายไม่มีอาวุธติดตัวการที่จำเลยใช้มีดปาดตาลขนาดยาวทั้งตัวมีดและด้ามประมาณ1ฟุตใบมีดกว้างประมาณ4นิ้วซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่แทงผู้เสียหายที่บริเวณไหปลาร้าขวาราวนมขวาราวนมซ้ายและชายโครงซ้ายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญและบริเวณส่วนอื่นของร่างกายรวม9แห่งซึ่งเป็นบาดแผลที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5064/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนใหม่ได้ หากราคาเดิมไม่เป็นธรรม และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดว่าการกำหนดค่าทดแทนถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่นั้น ถ้าในทางพิจารณาได้ความว่าการกำหนดค่าทดแทนไม่ถูกต้องและเป็นธรรม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าทดแทนให้ใหม่ให้ถูกต้องและเป็นธรรมแก่คู่ความมิใช่ต้องพิพากษาเพิกถอนการกำหนดค่าทดแทนของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น
จำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษได้บัญญัติไว้แล้วซึ่งก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
จำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษได้บัญญัติไว้แล้วซึ่งก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลและการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากวันฟ้อง และเลื่อนคดีจากวันนัดเดิมเป็นระยะเวลาห่างกันถึง 41 วัน ทั้งศาลชั้นต้นยังกำหนดให้นัดสืบพยานไว้เต็มวันและได้กำชับทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้นำพยานมาสืบให้พร้อมตามนัด ทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมมีโอกาสติดต่อตระเตรียมให้จำเลยที่ 3 มาเบิกความเป็นพยานได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 1 เดือนเศษ ซึ่งทนายความจำเลยที่ 3และที่ 4 ตลอดทั้งตัวจำเลยที่ 3 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าคดีนี้ได้ค้าง การพิจารณามาเกือบ 5 ปี และการที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานคราวละหลายวันโดยกำหนดให้สืบพยานตลอดทั้งวัน ทั้งได้กำชับให้นำพยานมาสืบตามนัดก็เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคดีมิให้ล่าช้าต่อไป การที่ตัวจำเลยที่ 3 ทราบวันนัดล่วงหน้าและมีโอกาสเตรียมตัวเป็นพยานนับเดือน แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาตามนัดกลับไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือติดต่อให้ทนายความของตนทราบจนกระทั่งทนายความต้องติดต่อทางโทรศัพท์ไปที่บ้านของจำเลยที่ 3 ในวันนัด ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะออกนั่งพิจารณาเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใส่ใจในการเป็นพยานเพื่อประโยชน์ของตนเองการกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่ามีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้าทั้งการที่ตัวจำเลยที่ 3 มาศาลชั้นต้นไม่ได้เพราะฝนตกหนักก็มิใช่เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบตัวจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 จากจำเลยที่ 3 ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453จากจำเลยที่ 4 และที่ดินบางส่วนของโฉนดเลขที่ 1377จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ของจำเลยที่ 1 และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ภายหลังจำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองด้วยการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5และจำเลยที่ 5 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6อีกทอดหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบและไม่มีการชำระเงินค่าตอบแทนกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังใช้อุบายเพื่อให้โจทก์ทั้งสองตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายและมีคำขอบังคับขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4ที่ 5 และที่ 6 แล้วบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4โอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนการโอนตามสัญญา และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหายหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหาย พร้อมด้วยดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลของจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกร่วมกันโอนที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วไปอีกหลายทอดโดยจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จึงขอให้บังคับไปตามสัญญา แต่ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องเกี่ยวกับการรับโอนที่ดินบางแปลงดังกล่าวแล้ว ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแทนอันเป็นการขอให้บังคับเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่ แม้ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 และที่ 2จะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็สามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นในภายภาคหน้า ไม่จำเป็นที่ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วส่วนข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 2 ที่ระบุว่า "ผู้จะขายตกลงให้ผู้จะซื้อเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ในการซื้อขายที่ดินตาม "สัญญา ก." แทนผู้จะขายได้ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานั้นทุกประการ นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"และข้อ 5 ระบุว่า "ส่วนสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเฉพาะ2 ใน 11 ส่วน ตาม "สัญญา ก." ซึ่งผู้จะขายมีอยู่อย่างไรก็ให้ผู้จะซื้อรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่นั้น ๆ โดยผู้จะซื้อจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องหรือบังคับใด ๆ และอื่นใดแก่ผู้จะขายไม่ว่ากรณีใด ๆนับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" ย่อมแปลความหมายได้ว่า จำเลยที่ 2 ย้ำเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่จะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวตามสิทธิที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองรวมกับที่ดินแปลงอื่น ข้อความที่ว่านี้หาได้หมายถึงการโอนสิทธิเรียกร้องหรือการแปลงหนี้ใหม่เพื่อให้หนี้เดิมระงับไปไม่ เหตุที่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากการกระทำของ น. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการรับชำระหนี้จากโจทก์ทั้งสองด้วยการพยายามบ่ายเบี่ยงอ้างเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติการชำระหนี้และดำเนินการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ทัน พฤติการณ์ของ น. บ่งบอกได้ว่าความจริงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายไม่ประสงค์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการที่ น. ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ตามที่โจทก์ทั้งสองขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียงฝ่ายเดียว โจทก์ทั้งสองหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเอาแก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองชอบจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นด้วยก็ตาม ก่อนโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่25452,25453 เอกสารหมาย จ.1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ทั้งสองได้ไปพบกับจำเลยที่ 3 แจ้งเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อที่ดินทั้งสามแปลงที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้ให้จำเลยที่ 3 ทราบ และนัดให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำสัญญากับโจทก์ทั้งสองโดยตรงซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตกลง ต่อมาโจทก์ทั้งสองทราบจากจำเลยที่ 3 ว่า ช. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พาคนอื่นมาซื้อที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปแล้ว ทั้งการโอนขายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นก็โอนขายกันในราคาที่ต่ำกว่าสัญญาจะซื้อ จะขายที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 มาก ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4ก็ทราบดีว่าที่ดินทั้งสามแปลงทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เอกสารหมาย จ.2 ได้ทำการโอนที่ดินให้แก่ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสอง ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 เสียเปรียบโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิฟ้องร้องเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียประโยชน์โจทก์ทั้งสองจึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 2เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกบทบัญญัติในมาตรา 233 และ 237 วรรคหนึ่ง มาปรับใช้แก่คดีนี้ชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5 ในราคาแปลงละ 1,000,000 บาทและจำเลยที่ 5 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6ในราคา 1,500,000 บาท เป็นการซื้อขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดโดยทั่วไป ทั้งต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2ไว้ก่อนแล้วอย่างมาก เมื่อนำราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาปกติดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับการที่จำเลยที่ 5 ไม่เคยไปดูสภาพที่ตั้งของที่ดินที่จะซื้อก่อนว่ามีสภาพอย่างไรมีทางเข้าออกทางสาธารณะหรือไม่ ย่อมบ่งบอกได้ว่าจำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 มาโดยไม่สุจริตอีกทั้งจำเลยที่ 5 และที่ 6 เกี่ยวข้องเป็นญาติกับ ช.กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วยแล้วจึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทราบดีอยู่ก่อนที่จะทำการจดทะเบียนโอนแล้วว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนแล้ว อันเป็นอีกเหตุหนึ่งที่สนับสนุนให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวและดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตน ได้อยู่ก่อนชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลมิให้โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองกำหนดให้เป็นผู้รับโอนสามารถรับโอนได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ก็จะต้องร่วมกันรับผิดคืนเงินมัดจำจำนวน2,760,800 บาท และเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินมัดจำจำนวน5,521,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,282,400 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกำหนดค่าทนายความแก่คู่ความผู้ชนะคดีเป็นดุลพินิจของศาลในแต่ละศาล คดีนี้เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์สูงถึง73,282,400 บาทและเป็นคดีที่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งต้องใช้เวลาในการพิจารณาในศาลชั้นต้นนานถึง 5 ปีเศษ หากเปรียบเทียบอัตราค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทน โจทก์ทั้งสอง 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนด 500,000 บาท กับอัตราตามที่กฎหมายกำหนดให้ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว อัตราที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดดังกล่าวยังต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายให้อำนาจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดได้อยู่มาก นับได้ว่าศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสองเหมาะสมแก่รูปคดีและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งและแจ้งยุบพรรค
พรรค ส.จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2538 แต่ในคราวที่มี พ.ร.ฎ.ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ปรากฏว่าพรรคการเมืองดังกล่าวไม่มีสมาชิกของพรรคได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย และหัวหน้าพรรคได้แจ้งต่อผู้ร้องขอยุบเลิกพรรคโดยในวันนัดไต่สวนคำร้องของศาลแพ่ง พรรค ส.ก็มิได้คัดค้าน ดังนี้ พรรค ส.จึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 (4) แห่งพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.พรรคการเมือง(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 7
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 มาตรา 13 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 46 วรรคสี่ได้รับการยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมศาล
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 มาตรา 13 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 46 วรรคสี่ได้รับการยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมศาล