คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 60

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง: พิจารณาคดีแรงงานทั่วราชอาณาจักรเมื่อยังไม่มีศาลแรงงานภาค/จังหวัด
ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าศาลจังหวัดเชียงใหม่เป็นศาลที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาหรือเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง และการอุทธรณ์ดุลพินิจค่าเสียหายในคดีแรงงาน
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง (สงขลา) และการยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดี
เมื่อยังไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสงขลาขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 7ศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจในท้องที่จังหวัดสงขลาด้วย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ซึ่งตามมาตรา 60 นี้บัญญัติว่า เมื่อศาลแรงงานกลาง (สงขลา) สั่งรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น ศาลแรงงานกลาง (สงขลา) จึงเป็นศาลแรงงานกลางที่ออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่จังหวัดสงขลาดังนั้น ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยไม่จำต้องอ้างเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง (สงขลา) และการยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดี
เนื่องจากยังไม่มีพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสงขลาขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 7 ศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจในท้องที่จังหวัดสงขลาด้วยตามมาตรา 60ศาลแรงงานกลาง (สงขลา) จึงเป็นศาลแรงงานกลางที่ออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่จังหวัดสงขลา ทนายจำเลยทั้งสองจึงยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยไม่จำต้องอ้างเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง (สงขลา) และสิทธิการเลื่อนการพิจารณาคดี
เมื่อยังไม่มี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานจังหวัดสงขลาขึ้นตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 7ศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจในท้องที่จังหวัดสงขลาด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ซึ่งตามมาตรา 60นี้บัญญัติว่า เมื่อศาลแรงงานกลาง (สงขลา) สั่งรับคดีไว้พิจารณาแล้วให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น ศาลแรงงานกลาง(สงขลา) จึงเป็นศาลแรงงานกลางที่ออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาที่จังหวัดสงขลาดังนั้น ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อศาลแรงงานกลางได้ โดยไม่จำต้องอ้างเหตุสุดวิสัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นแก้ไขคำให้การก่อนมีคำพิพากษา ศาลต้องพิจารณาคำร้องก่อนพิพากษา
ศาลแรงงานกลางซึ่งพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาวันที่14เมษายน2529จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต่อศาลจังหวัดสกลนครเมื่อวันที่10เมษายน2529ศาลจังหวัดสกลนครส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลแรงงานกลางเพื่อพิจารณาสั่งศาลแรงงานกลางได้รับคำร้องเมื่อวันที่22เมษายน2529จึงสั่งว่า'ศาลพิพากษาคดีแล้วรวม'ดังนี้คดีไม่มีการชี้สองสถานหรือสืบพยานแม้ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งงดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาแล้วก็ตามแต่เมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้พิพากษาย่อมถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้จึงชอบที่จะได้วินิจฉัยสั่งคำร้องดังกล่าวว่าสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหรือไม่ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีไปโดยมิได้วินิจฉัยสั่งคำร้องของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การก่อนมีคำพิพากษา ศาลต้องวินิจฉัยก่อนพิพากษา
ศาลแรงงานกลางซึ่งพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดสกลนครมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 14 เมษายน 2529 จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต่อศาลจังหวัดสกลนครเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 ศาลจังหวัดสกลนครส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลแรงงานกลางเพื่อพิจารณาสั่ง ศาลแรงงานกลางได้รับคำร้องเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 จึงสั่งว่า 'ศาลพิพากษาคดีแล้ว รวม' ดังนี้ คดีไม่มีการชี้สองสถานหรือสืบพยาน แม้ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งงดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานกลางยังมิได้พิพากษา ย่อมถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้ จึงชอบที่จะได้วินิจฉัยสั่งคำร้องดังกล่าวว่าสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การหรือไม่ ศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีไปโดยมิได้วินิจฉัยสั่งคำร้องของจำเลย จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาสั่งคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลย แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่าย หากมีข้อตกลงเรื่องการระงับข้อพิพาท ไม่ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาล
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้น ทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลา: ระเบียบวิธีปฏิบัติภายในบริษัทมิใช่เงื่อนไขตัดสิทธิ, สัญญาให้เสนอข้อพิพาทต่อเจ้าหน้าที่บรูไนมิได้ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาลไทย
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้นทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วยดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใดๆให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ"นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้