พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136-146/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาชั้นต้นมีหน้าที่รับผิดร่วมกับผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างลูกจ้าง แม้จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับเหมาช่วงแล้วก็ตาม
การที่จำเลยที่2รับเหมาตกแต่งห้องพักของโรงแรมโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ของจำเลยที่2นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของต่อมาจำเลยที่2ว่าจ้างจำเลยที่1ตกแต่งห้องพักก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกันจำเลยที่2และจำเลยที่1ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับจำเลยที่2ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแม้จำเลยที่2ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่1และจำเลยที่1มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจำเลยที่2ก็คงต้องรับผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ข้อ7.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136-146/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างลูกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
จำเลยที่2รับจ้างบุคคลอื่นตกแต่งห้องพักของโรงแรมแต่จำเลยที่2กลับว่าจ้างจำเลยที่1ทำแทนเมื่อจำเลยที่1มาว่าจ้างโจทก์ทำงานดังกล่าวจำเลยที่2และจำเลยที่1จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับแม้จำเลยที่2จะจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่1แล้วแต่จำเลยที่1มิได้จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจำเลยที่2ก็ยังคงต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต่อโจทก์ด้วย ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ข้อ7.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5037/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นกับการรับผิดในค่าจ้าง: ต้องมีฐานะนายจ้างตามกฎหมาย จึงจะรับผิดได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 เป็นบทบังคับให้ผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างมีหน้าที่ต้องรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้างของลูกจ้างในหนี้เงินบางประเภทดังที่กำหนดไว้มิได้หมายความว่าผู้รับเหมาชั้นต้นมีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างไปด้วย สภาพของการเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยและจำเลยให้การว่ามิได้เป็นนายจ้าง ไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ หากโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ข้อ 7 ก็ชอบที่จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงฐานะของจำเลยให้แจ้งชัด ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า แม้จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ก็ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นนั้น เป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างช่วงและผู้รับจ้างในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้จัดหาลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่ 2 จะสั่งให้ปฏิบัติจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นตามความ ในข้อ 7 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 ในอันที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้าง มาแต่ประการใด สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใดโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อตกลงท้าทายทางกฎหมายในคดีแรงงาน และผลผูกพันต่อผู้แทนดำเนินคดี
โจทก์ทั้งเจ็ดคนและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่ ร. ค้างชำระค่าจ้างโจทก์นั้นจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดโจทก์ยอมแพ้คดี ถ้าต้องรับผิดจำเลยยอมใช้ค่าจ้างตามฟ้อง เมื่อศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าจ้างแก่โจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 จำเลยก็ต้องแพ้คดีตามคำท้าหาจำต้องวินิจฉัยว่าลักษณะคดีเป็นจ้างทำของหรือจ้างแรงงานไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้พิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งร่วมท้าด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ด้วย
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1 ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาลคำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1 ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาลคำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี