พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องปลอมพินัยกรรมต้องระบุรายละเอียดการปลอมเพื่อให้จำเลยต่อสู้คดีได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมกันปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก แล้วใช้พินัยกรรมปลอมของเจ้ามรดกที่ทำขึ้นโดยไม่ชอบไม่ถูกต้องตามกฎหมายไปทำการรับโอนมรดกที่ดินของเจ้ามรดก โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ร่วมกันทำการปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกด้วยวิธีการอย่างไร เป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่บางส่วน ตลอดจนไม่ได้ระบุวันเวลาที่ทำการปลอมอีกด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยในข้อหาปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพยายามฆ่าโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากระยะเวลาและพฤติการณ์
จำเลยและผู้เสียหายอยู่หมู่บ้านเดียวกันและเป็นเพื่อนกันมาก่อน หากจำเลยมีใจคิดจะฆ่าผู้เสียหายหลังจากทะเลาะวิวาททำร้ายกันแล้วก็สามารถกระทำ ได้ง่ายและคงไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปนานประมาณ 3 เดือนจนเพิ่งมาเกิดเหตุคดีนี้แม้ได้ความว่าจำเลยยังผูกใจเจ็บผู้เสียหายอยู่ ก็ไม่อาจแปลความว่าจำเลยคิดจะฆ่าผู้เสียหายตลอดมา เมื่อจำเลยมาพบผู้เสียหายในงานวัดจึงเกิดความคิดที่จะแก้แค้นผู้เสียหายโดยมิได้มีการพกหรือเตรียมอาวุธมาก่อนแสดงว่าความคิดที่จะฆ่าผู้เสียหายของจำเลยเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อมาพบเห็นผู้เสียหาย ในงานวัดดังกล่าวการที่จำเลยกลับไปบ้านนำอาวุธมีดของกลางมาฟันทำร้ายผู้เสียหายในทันที กรณีจึงไม่แตกต่างกับที่จำเลยไปนำเอาอาวุธมีดจากบริเวณใกล้เคียงมาฟันทำร้ายผู้เสียหายในทันทีที่พบเห็นผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าได้กระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอราคาและการตอบรับที่มีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง: สัญญาจ้างก่อสร้างเกิดขึ้นเมื่อตอบรับเงื่อนไขใหม่
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวนให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาก่อสร้างให้จำเลย
การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคาคือ บริษัท พ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา359 วรรคสอง
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้น โดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัทพ.จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคาคือ บริษัท พ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา359 วรรคสอง
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้น โดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัทพ.จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การเสนอราคา, การตอบรับที่มีเงื่อนไข, และขอบเขตของสัญญา
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวน ให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญา ก่อสร้างให้จำเลย การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับ ของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคา คือ บริษัทพ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข อย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอ บางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นโดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฎในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาด จะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่ โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุ ให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัท พ. จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์ และขอบเขตการฟ้องคดีอาญาที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต.จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว. พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส.ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ว คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ซัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง
แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ กรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชิงทรัพย์: คำรับสารภาพ, คำให้การร่วม, และความแตกต่างของฟ้อง
แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. จะเป็นพยานบอกเล่าซึ่งโดยลำพังไม่อาจจะรับฟังชี้ลงไปได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำความผิด แต่อาจรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มีพันตำรวจตรี ว.พนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนโดยให้การในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันที่ถูกจับ อีกทั้งยังได้ความจากคำเบิกความของร้อยตำรวจเอก ส. ว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นจำเลยที่ 2 พบเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2จำนวน 30,000 บาทเศษ ซึ่งจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าเป็นเงินที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ และได้นำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้จุดที่จำเลยที่ 2 นำทรัพย์สินบางส่วนที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองไปฝังไว้ด้วยเช่นนี้ เมื่อพิจารณาคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประกอบกับคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 2 และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพแล้ว พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ชิงทรัพย์ผู้เสียหายจริงตามฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น นอกจากคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนแล้ง คงมีเพียงคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ชัดทอดว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดซึ่งเป็นคำชัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้อง แม้พยานหลักฐานของโจทก์จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำผิดฐานรับของโจร แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยการใช้จ้างวาน มิได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญกรณีย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการ: สิทธิอุทธรณ์จำกัดตาม พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 การวินิจฉัยข้อพิพาทภายในสัญญา
ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ทำสัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาให้คู่สัญญาเสนอข้อพิพาทนั้นให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงใช้วิธีระงับข้อพิพาทกับอนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้น ซึ่งการระงับข้อพิพาทดังกล่าวมีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 22 ได้บัญญัติบังคับไว้แล้วว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุด และผูกพันคู่กรณีเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น กรณีของผู้คัดค้านจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 26 เท่านั้น เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น สรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตาม ข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้าน เห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย ไม่รับฟังความเห็นของร. ซึ่งเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญกลางที่อนุญาโตตุลาการแต่งตั้งขึ้น จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้นการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยนอกเหนือความรับผิดของสัญญาและกำหนดความรับผิดในดอกเบี้ยผิดกฎหมายอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนั้น ตามสัญญาก่อสร้างคลองฝั่งซ้ายระบุให้เสนอข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวต่ออนุญาโตตุลาการ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านรับผิดตามข้อเรียกร้องที่ 13 ค่างานเพิ่มเติมและข้อ 18 ค่าเร่งรัดงาน จึงเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาแล้ว หาใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาไม่ส่วนข้อที่อนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยให้ผู้คัดค้านรับผิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535 แต่ผู้คัดค้านอ้างว่ายังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดและวันที่ดังกล่าวมิใช่วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็เป็นการโต้เถียงในข้อเท็จจริงว่าจะฟังว่าจำเลยผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่ต้องตามหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นของบทบัญญัติมาตรา 26 ดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงไม่มี สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ผูกพันเจ้าของสินค้า
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัยกวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไรได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุ ได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้า อันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใด กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลยเมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลยจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดย อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 มาตรา 29(1) และมาตรา 9(4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้น ฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับฝากสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัย กวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไร ได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่ และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้าอันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใดกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลย เมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีเครื่องหมายการค้าปลอม: ศาลอุทธรณ์ยืนยันริบ แม้แก้บทมาตรา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 32, 33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 30 และริบของกลางตาม ป.อ.มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 115 และ ป.อ.มาตรา 33 อยู่ เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลาง ของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่