พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1787/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีเครื่องหมายการค้า แม้ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษ แต่ยังคงคำสั่งริบของกลางไว้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 115และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกในส่วนที่ศาลชั้นต้นบังคับจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 และริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 เสีย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องโดยมิได้พิพากษาให้ยกการริบของกลาง และศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 115 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 อยู่เนื่องจากเสื้อและกางเกงที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของกลางเป็นสินค้าที่จำเลยมีไว้จำหน่ายอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และป้ายยี่ห้อกับริบบิ้นของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้ยกคำขอให้เรื่องการริบของกลางของกลางคดีนี้จึงยังเป็นของกลางที่ศาลสั่งริบอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉลและการหลอกลวง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ.กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการจดทะเบียน และความรับผิดของนายหน้าและผู้ซื้อ
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ. กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์-รับของโจร: พยานหลักฐานไม่ชัดเจน ยกฟ้องฐานลักทรัพย์ แต่ลงโทษฐานรับของโจร
ป. ถูกฟ้องในข้อหาความผิดฐานลักปลาดุก เลี้ยงของผู้เสียหายในคราวเดียวกันกับคดีนี้ และศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ป. ไปแล้ว ตามคดีอาญาก่อนของศาลชั้นต้น ดังนั้น จึงต้องถือว่า ป. มีฐานะเป็นจำเลยเช่นเดียวกันกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่ได้ถูกฟ้องแย้งจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวร่วมกับ ป. ก็ตาม แต่เพราะเป็นมูลคดีเดียวกันคำเบิกความของ ป. ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีน้ำหนักน้อย เพราะเป็นคำซัดทอดในระหว่างจำเลยด้วยกันส่วนนางข. นอกจากจะเป็นภริยาของ ป. แล้วตามพฤติการณ์แห่งคดีก็เป็นผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ขณะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการนำปลาดุก เลี้ยงของผู้เสียหายไปขายอันอาจถือได้ว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ด้วยดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ ข. จะเบิกความซัดทอดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ตนเองพ้นผิด คำเบิกความของ ข.จึงมีข้อน่าสงสัยนอกจากนี้คำเบิกความของ ป. และ ข.ก็ยังแตกต่างและขัดแย้งกันในข้อสาระสำคัญหลายประการย่อมทำให้เกิดข้อพิรุธสงสัย ชั้นจับกุมจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธตลอดจนได้ความว่าคดีอาญาก่อนของศาลชั้นต้นมี ป.ถูกฟ้องเพียงคนเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ถูกฟ้องด้วยทั้ง ๆ ที่เป็นมูลคดีเดียวกัน พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาไม่แน่ชัดพอ ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองและเนื่องจากคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในความผิดลักทรัพย์ฐานเดียวกัน เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรจึงเป็นเหตุให้ส่วนลักษณะคดีแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213,225 จำเลยที่ 2 มีบ้านอยู่ใกล้กับบ่อเลี้ยงปลาของผู้เสียหายและทราบดีว่า ป. เป็นคนเฝ้าบ่อปลาให้กับผู้เสียหาย ดังนั้นการที่ป. นำปลาดุก เลี้ยงจำนวนมากถึง 42 กิโลกรัมมาขายให้แก่จำเลยที่ 2 ในเวลาวิกาลประมาณ 4 นาฬิกา และขายในราคา ต่ำเพียงกิโลกรัมละ 8 บาท ในขณะที่จำเลยที่ 2 สามารถนำไป ขายต่อได้ถึงกิโลกรัมละ 22 บาท เช่นนี้ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่า ป.ลักปลาดุก เลี้ยงของผู้เสียหายมา การที่จำเลยที่ 2 รับซื้อไว้จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 2ก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่พิจารณาจากคำให้การ หากจำเลยต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อบรรยายรายละเอียดได้
การที่จะถือว่าเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์หรือไม่นั้นจะต้องพิเคราะห์คำให้การประกอบด้วย มิใช่พิเคราะห์แต่คำฟ้องเพียงอย่างเดียว เพราะแม้คำฟ้องจะเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้อง ทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ก็ตาม แต่ถ้าจำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์แล้ว ก็ต้องกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ปลูกสร้างโรงเรือนที่จอดรถในที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นทางเข้าในที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา ทั้งได้แสดงภาพถ่ายโรงเรือนที่จอดรถของจำเลยมาด้วย ซึ่งทำให้จำเลยสามารถเข้าใจได้แล้ว ส่วนในเรื่องที่ดินที่เสียหายอยู่ในส่วนไหน กว้างยาวเท่าใดและวัน เดือน ปีที่จำเลยทำการปลูกสร้างโรงเรือนที่จอดรถนั้น เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ตลอดจนปรากฎจากคำให้การว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาระจำยอมต้องสอดคล้องกับคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้มีการอ้างถึง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมจำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาว่าที่ดินจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขคืนที่ดินเมื่อเลิกทำเหมืองแร่ สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยเด็ดขาด ส่วนหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินข้อ 6 เป็นเพียงคำมั่นจะให้โดยเสน่หา เมื่อคำมั่นนั้นไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะ ทั้งจำเลยได้เข้าประกอบกิจการเหมืองแร่แล้วและยังประกอบกิจการเหมืองแร่อยู่จึงไม่ต้องคืนที่ดินให้โจทก์ทั้งเจ็ด และจำเลยได้การครอบครองและได้กรรมสิทธิ์มาโดยเปิดเผยและชอบด้วยกฎหมายเกินกว่า 10 ปี คำให้การจำเลยนี้เมื่อรวมความแล้วหมายถึงจำเลยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน ข้อ 6 นั่นเองคำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด และชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177วรรคสอง แล้ว
ก่อนที่จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาท บิดาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ไว้ก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 18กรกฎาคม 2513 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.9 และตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทข้อ 1 ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าให้ถือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.9 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังนี้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็ตาม แต่ในข้อ 2 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ขายทั้งหมดจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดินต่อไป แสดงว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เสร็จเด็ดขาดตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทเท่านั้น แต่จะต้องมีการจดทะเบียนกันก่อนจึงจะสมบูรณ์ และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยก็ได้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้และปฏิบัติตามสัญญาบางส่วนของสัญญาไปแล้วเช่นนี้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมมีผลบังคับใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และข้อตกลงจะคืนที่ดินพิพาทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ
สัญญาข้อ 6 ในหนังสือสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า"ผู้ซื้อขอให้คำมั่นไว้ต่อผู้ขายว่า การซื้อที่ดินตามหนังสือสัญญานี้ ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนดสิบปี เมื่อผู้ซื้อมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่แล้วผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงไม่ใช่คำมั่นจะให้โดยเสน่หา แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อคู่สัญญา เพราะเป็นเงื่อนไขจะซื้อจะขายที่ดิน และเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ได้ โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วน ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบถึงเหตุที่มาของการมีเงื่อนไขตามสัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
สัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนด 10 ปีเมื่อจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่แล้ว จำเลยในฐานะผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อกิจการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่มีเจตนาจะใช้เพื่อกิจการอื่น ทั้งจำเลยก็ได้เข้าทำเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายหลังทำสัญญาแล้ว พฤติการณ์จึงเป็นการสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาเข้าผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
เมื่อข้อความในข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยในฐานะผู้ซื้อจะต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดในสองกรณีด้วยกัน คือ ภายในกำหนด 10 ปี หากจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งคือจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว ข้อความในข้อ 6 หาได้ระบุแต่เฉพาะว่าเมื่อจำเลยไม่ได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายในกำหนด 10 ปีต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งเจ็ดเพียงประการเดียวไม่ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่หนึ่ง แต่จำเลยยังมีภาระต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่สองคือภายหลังจากจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์ทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว กรณีจึงเข้าเงื่อนไขตามคำมั่นที่จำเลยให้ไว้ในข้อ 6จำเลยจึงต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญา แม้โจทก์ทั้งเจ็ดเคยมอบที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยเข้าคนอบคองตจั้งแต่ปี 2513 ก็ตาม แต่จำเลยเข้าทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทกับโจทก์ทั้งเจ็ดอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งเจ็ดยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยการจดทะเบียนโอนขาย โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 และจำเลยเพิ่งทำเหมืองแร่เสร็จเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 เมื่อปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญาข้อ 6 เกิดเมื่อจำเลยใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จในวันที่ 6 ธันวาคม 2529 โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535คดีของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เดิม และดำเนินการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ได้ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ก่อนที่จำเลยจะนำสืบพยานของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
ก่อนที่จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาท บิดาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ไว้ก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 18กรกฎาคม 2513 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.9 และตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทข้อ 1 ระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าให้ถือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.9 เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังนี้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็ตาม แต่ในข้อ 2 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ขายทั้งหมดจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดินต่อไป แสดงว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เสร็จเด็ดขาดตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทเท่านั้น แต่จะต้องมีการจดทะเบียนกันก่อนจึงจะสมบูรณ์ และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยก็ได้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้และปฏิบัติตามสัญญาบางส่วนของสัญญาไปแล้วเช่นนี้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมมีผลบังคับใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และข้อตกลงจะคืนที่ดินพิพาทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ
สัญญาข้อ 6 ในหนังสือสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า"ผู้ซื้อขอให้คำมั่นไว้ต่อผู้ขายว่า การซื้อที่ดินตามหนังสือสัญญานี้ ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนดสิบปี เมื่อผู้ซื้อมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่แล้วผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงไม่ใช่คำมั่นจะให้โดยเสน่หา แม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อคู่สัญญา เพราะเป็นเงื่อนไขจะซื้อจะขายที่ดิน และเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ได้ โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วน ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบถึงเหตุที่มาของการมีเงื่อนไขตามสัญญาในสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
สัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนด 10 ปีเมื่อจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่แล้ว จำเลยในฐานะผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อกิจการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่มีเจตนาจะใช้เพื่อกิจการอื่น ทั้งจำเลยก็ได้เข้าทำเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายหลังทำสัญญาแล้ว พฤติการณ์จึงเป็นการสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาเข้าผูกพันตามสัญญาดังกล่าว
เมื่อข้อความในข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยในฐานะผู้ซื้อจะต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดในสองกรณีด้วยกัน คือ ภายในกำหนด 10 ปี หากจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งคือจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว ข้อความในข้อ 6 หาได้ระบุแต่เฉพาะว่าเมื่อจำเลยไม่ได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายในกำหนด 10 ปีต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งเจ็ดเพียงประการเดียวไม่ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่หนึ่ง แต่จำเลยยังมีภาระต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด ในกรณีที่สองคือภายหลังจากจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์ทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้ว กรณีจึงเข้าเงื่อนไขตามคำมั่นที่จำเลยให้ไว้ในข้อ 6จำเลยจึงต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญา แม้โจทก์ทั้งเจ็ดเคยมอบที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยเข้าคนอบคองตจั้งแต่ปี 2513 ก็ตาม แต่จำเลยเข้าทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทกับโจทก์ทั้งเจ็ดอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งเจ็ดยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยการจดทะเบียนโอนขาย โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 และจำเลยเพิ่งทำเหมืองแร่เสร็จเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 เมื่อปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญาข้อ 6 เกิดเมื่อจำเลยใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จในวันที่ 6 ธันวาคม 2529 โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535คดีของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เดิม และดำเนินการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ได้ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ก่อนที่จำเลยจะนำสืบพยานของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเจตนาใช้ประโยชน์ทำเหมืองแร่ หากทำเหมืองแร่เสร็จต้องคืนที่ดิน สิทธิไม่ขาดอายุความ
จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยเด็ดขาด ส่วนหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินข้อ 6 เป็นเพียงคำมั่นจะให้โดยเสน่หา เมื่อคำมั่นนั้นไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะทั้งจำเลยได้เข้าประกอบกิจการเหมืองแร่แล้วและยังประกอบกิจการ เหมืองแร่อยู่จึงไม่ต้องคืนที่ดินให้โจทก์ทั้งเจ็ด และจำเลย ได้การครอบครองและได้กรรมสิทธิ์มาโดยเปิดเผยและ ชอบด้วยกฎหมายเกินกว่า 10 ปี คำให้การจำเลยนี้เมื่อรวมความแล้ว หมายถึงจำเลยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขาย ที่ดิน ข้อ 6 นั่นเองคำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดแย้งกัน แต่อย่างใด และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้ว ก่อนที่จำเลยจะเข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทบิดาจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 1ถึงที่ 6 ไว้ก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2513 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.9 และ ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทข้อ 1 ระบุไว้ โดยแจ้งชัดว่าให้ถือหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.9เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังนี้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจะระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินก็ตามแต่ในข้อ 2 ของหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุไว้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ขายทั้งหมดจะทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่จำเลยในฐานะผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดินต่อไปแสดงว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทมิได้เสร็จเด็ดขาดตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทเท่านั้นแต่จะต้องมีการจดทะเบียนกันก่อนจึงจะสมบูรณ์ และต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยก็ได้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้และปฏิบัติตามสัญญาบางส่วนของสัญญาไปแล้วเช่นนี้ หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินย่อมมีผลบังคับใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน และข้อตกลงจะคืนที่ดินพิพาทตามข้อ 6 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ สัญญาข้อ 6 ในหนังสือสัญญาจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุว่า "ผู้ซื้อขอให้คำมั่นไว้ต่อผู้ขายว่า การซื้อที่ดินตามหนังสือสัญญานี้ ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้น และภายในกำหนดสิบปี เมื่อผู้ซื้อมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่แล้วผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินทั้งหมดให้แก่ผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งของการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน จึงไม่ใช่คำมั่นจะให้โดยเสน่หาแม้ไม่จดทะเบียนก็มีผลผูกพันต่อคู่สัญญา เพราะเป็นเงื่อนไขจะซื้อจะขายที่ดิน และเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ได้โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วน ดังนี้การที่โจทก์ทั้งเจ็ดนำสืบถึงเหตุที่มาของการมีเงื่อนไขตามสัญญาในสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินฉบับพิพาทจึงกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการนำสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร สัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการทำเหมืองแร่เท่านั้นและภายในกำหนด 10 ปี เมื่อจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่หรือใช้ประโยชน์บนที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่แล้วจำเลยในฐานะผู้ซื้อยินยอมคืนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายโดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆทั้งสิ้น ย่อมแสดงว่าในขณะที่จำเลยทำสัญญานั้นจำเลยมีเจตนาจะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพื่อกิจการทำเหมืองแร่โดยเฉพาะเท่านั้น ไม่มีเจตนาจะใช้เพื่อกิจการอื่นทั้งจำเลยก็ได้เข้าทำเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายหลังทำสัญญาแล้ว พฤติการณ์จึงเป็นการสอดคล้องต้องกันว่าจำเลยมีเจตนาเข้าผูกพันตามสัญญาดังกล่าว เมื่อข้อความในข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยในฐานะผู้ซื้อจะต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดในสองกรณีด้วยกันคือ ภายในกำหนด 10 ปี หากจำเลยมิได้ประกอบกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทกรณีหนึ่ง และอีกกรณีหนึ่งคือจำเลย ได้เข้าใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่ เสร็จแล้ว ข้อความในข้อ 6 หาได้ระบุแต่เฉพาะว่าเมื่อจำเลยไม่ได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทภายในกำหนด 10 ปีต้องคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งเจ็ดเพียงประการเดียวไม่ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เข้าทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทแล้วจำเลยจึงไม่ต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ดในกรณีที่หนึ่งแต่จำเลยยังมีภาระต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดในกรณีที่สองคือภายหลังจากจำเลยได้เข้าใช้ประโยชน์ทำกิจการเหมืองแร่บนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยได้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จแล้วกรณีจึงเข้าเงื่อนไขตามคำมั่นที่จำเลยให้ไว้ในข้อ 6 จำเลย จึงต้องโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญาแม้โจทก์ทั้งเจ็ดเคยมอบที่ดินพิพาทให้บิดาจำเลยเข้าครอบครองตั้งแต่ปี 2513 ก็ตาม แต่จำเลยเข้าทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับพิพาทกับโจทก์ทั้งเจ็ดอีก แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งเจ็ดยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งเจ็ดโดยการจดทะเบียนโอนขาย โจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยทำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2522 และจำเลยเพิ่งทำเหมืองแร่เสร็จเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2529 เมื่อปรากฏว่าสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ทั้งเจ็ดตามสัญญา ข้อ 6 เกิดเมื่อจำเลยใช้ประโยชน์บนที่ดินพิพาทเพื่อทำกิจการเหมืองแร่เสร็จในวันที่ 6 ธันวาคม 2529โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2535คดีของโจทก์ทั้งเจ็ดจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เดิม และดำเนินการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ได้และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ก่อนที่จำเลยจะนำสืบพยานของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย การเพิกถอนประเด็นข้อพิพาทของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้น/ผลิตก่อนย่อมมีสิทธิเหนือตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 ป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้ารูปไก่และคำว่าCOCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8รายการสินค้าถ่านไฟฉาย ตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้นและจดทะเบียนเดิมมีสิทธิเหนือผู้เป็นตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้า รูปไก่และคำว่า COCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียน ไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8 รายการสินค้าถ่านไฟฉายตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้วต่อมาจำเลยที่ 2 นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอ จดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท