พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลและการโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเวลานานเกือบ 5 ปี นับจากวันฟ้อง และเลื่อนคดีจากวันนัดเดิมเป็นระยะเวลาห่างกันถึง 41 วัน ทั้งศาลชั้นต้นยังกำหนดให้นัดสืบพยานไว้เต็มวันและได้กำชับทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้นำพยานมาสืบให้พร้อมตามนัด ทนายความจำเลยที่ 3 และที่ 4 ย่อมมีโอกาสติดต่อตระเตรียมให้จำเลยที่ 3 มาเบิกความเป็นพยานได้ล่วงหน้าเป็นเวลานานถึง 1 เดือนเศษ ซึ่งทนายความจำเลยที่ 3และที่ 4 ตลอดทั้งตัวจำเลยที่ 3 ย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าคดีนี้ได้ค้าง การพิจารณามาเกือบ 5 ปี และการที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานคราวละหลายวันโดยกำหนดให้สืบพยานตลอดทั้งวัน ทั้งได้กำชับให้นำพยานมาสืบตามนัดก็เพื่อเร่งรัดการพิจารณาคดีมิให้ล่าช้าต่อไป การที่ตัวจำเลยที่ 3 ทราบวันนัดล่วงหน้าและมีโอกาสเตรียมตัวเป็นพยานนับเดือน แต่จำเลยที่ 3 ไม่มาตามนัดกลับไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือติดต่อให้ทนายความของตนทราบจนกระทั่งทนายความต้องติดต่อทางโทรศัพท์ไปที่บ้านของจำเลยที่ 3 ในวันนัด ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะออกนั่งพิจารณาเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใส่ใจในการเป็นพยานเพื่อประโยชน์ของตนเองการกระทำของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่ามีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้าทั้งการที่ตัวจำเลยที่ 3 มาศาลชั้นต้นไม่ได้เพราะฝนตกหนักก็มิใช่เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบตัวจำเลยที่ 3 ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เดิมจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 จากจำเลยที่ 3 ที่ดินโฉนดเลขที่ 25453จากจำเลยที่ 4 และที่ดินบางส่วนของโฉนดเลขที่ 1377จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29097 ของจำเลยที่ 1 และที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวข้างต้นให้แก่โจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาดังที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ภายหลังจำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลโจทก์ทั้งสองด้วยการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5และจำเลยที่ 5 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6อีกทอดหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบและไม่มีการชำระเงินค่าตอบแทนกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังใช้อุบายเพื่อให้โจทก์ทั้งสองตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายและมีคำขอบังคับขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4ที่ 5 และที่ 6 แล้วบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4โอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้กำหนดให้เป็นผู้รับโอน โดยโจทก์ทั้งสองจะชำระค่าตอบแทนการโอนตามสัญญา และให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหายหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหาย พร้อมด้วยดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเช่นนี้ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลของจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกร่วมกันโอนที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้แล้วไปอีกหลายทอดโดยจำเลยทั้งหกรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จึงขอให้บังคับไปตามสัญญา แต่ถ้าสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องเกี่ยวกับการรับโอนที่ดินบางแปลงดังกล่าวแล้ว ก็ให้จำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงินมัดจำ ค่าปรับ และค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ยแทนอันเป็นการขอให้บังคับเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ หาได้เคลือบคลุมไม่ แม้ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 และที่ 2จะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2ก็สามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นในภายภาคหน้า ไม่จำเป็นที่ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้วส่วนข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทข้อ 2 ที่ระบุว่า "ผู้จะขายตกลงให้ผู้จะซื้อเข้าสวมสิทธิและหน้าที่ในการซื้อขายที่ดินตาม "สัญญา ก." แทนผู้จะขายได้ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานั้นทุกประการ นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้"และข้อ 5 ระบุว่า "ส่วนสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเฉพาะ2 ใน 11 ส่วน ตาม "สัญญา ก." ซึ่งผู้จะขายมีอยู่อย่างไรก็ให้ผู้จะซื้อรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่นั้น ๆ โดยผู้จะซื้อจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องหรือบังคับใด ๆ และอื่นใดแก่ผู้จะขายไม่ว่ากรณีใด ๆนับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" ย่อมแปลความหมายได้ว่า จำเลยที่ 2 ย้ำเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่จะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวตามสิทธิที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองรวมกับที่ดินแปลงอื่น ข้อความที่ว่านี้หาได้หมายถึงการโอนสิทธิเรียกร้องหรือการแปลงหนี้ใหม่เพื่อให้หนี้เดิมระงับไปไม่ เหตุที่โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากการกระทำของ น. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการรับชำระหนี้จากโจทก์ทั้งสองด้วยการพยายามบ่ายเบี่ยงอ้างเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติการชำระหนี้และดำเนินการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวได้ทัน พฤติการณ์ของ น. บ่งบอกได้ว่าความจริงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายไม่ประสงค์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้นการที่ น. ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ตามที่โจทก์ทั้งสองขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพียงฝ่ายเดียว โจทก์ทั้งสองหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเอาแก่โจทก์ทั้งสองและโจทก์ทั้งสองชอบจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองได้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นด้วยก็ตาม ก่อนโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่25452,25453 เอกสารหมาย จ.1 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2โจทก์ทั้งสองได้ไปพบกับจำเลยที่ 3 แจ้งเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะซื้อที่ดินทั้งสามแปลงที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้ให้จำเลยที่ 3 ทราบ และนัดให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำสัญญากับโจทก์ทั้งสองโดยตรงซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ตกลง ต่อมาโจทก์ทั้งสองทราบจากจำเลยที่ 3 ว่า ช. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พาคนอื่นมาซื้อที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปแล้ว ทั้งการโอนขายที่ดินทั้งสองแปลงนั้นก็โอนขายกันในราคาที่ต่ำกว่าสัญญาจะซื้อ จะขายที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 มาก ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4ก็ทราบดีว่าที่ดินทั้งสามแปลงทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะขายให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เอกสารหมาย จ.2 ได้ทำการโอนที่ดินให้แก่ จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์ทั้งสอง ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.1 เสียเปรียบโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 3ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ให้เพิกถอนการโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 วรรคหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เพิกเฉยไม่ใช้สิทธิฟ้องร้องเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียประโยชน์โจทก์ทั้งสองจึงใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 2เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ทั้งสองในมูลหนี้นั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองยกบทบัญญัติในมาตรา 233 และ 237 วรรคหนึ่ง มาปรับใช้แก่คดีนี้ชอบแล้วหาได้เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นไม่ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 5 ในราคาแปลงละ 1,000,000 บาทและจำเลยที่ 5 ขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 6ในราคา 1,500,000 บาท เป็นการซื้อขายที่ดินในราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดโดยทั่วไป ทั้งต่ำกว่าราคาที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาจะขายให้แก่จำเลยที่ 2ไว้ก่อนแล้วอย่างมาก เมื่อนำราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาปกติดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกับการที่จำเลยที่ 5 ไม่เคยไปดูสภาพที่ตั้งของที่ดินที่จะซื้อก่อนว่ามีสภาพอย่างไรมีทางเข้าออกทางสาธารณะหรือไม่ ย่อมบ่งบอกได้ว่าจำเลยที่ 5 รับโอนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่25452 และ 25453 จากจำเลยที่ 3 และที่ 4 มาโดยไม่สุจริตอีกทั้งจำเลยที่ 5 และที่ 6 เกี่ยวข้องเป็นญาติกับ ช.กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วยแล้วจึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า จำเลยที่ 5 และที่ 6 ทราบดีอยู่ก่อนที่จะทำการจดทะเบียนโอนแล้วว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452 และ 25453 ให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนแล้ว อันเป็นอีกเหตุหนึ่งที่สนับสนุนให้เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวและดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตน ได้อยู่ก่อนชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 จำเลยทั้งหกร่วมกันฉ้อฉลมิให้โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 25452,25453 และ 1377 ที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่โจทก์ทั้งสองกำหนดให้เป็นผู้รับโอนสามารถรับโอนได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ก็จะต้องร่วมกันรับผิดคืนเงินมัดจำจำนวน2,760,800 บาท และเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินมัดจำจำนวน5,521,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,282,400 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกำหนดค่าทนายความแก่คู่ความผู้ชนะคดีเป็นดุลพินิจของศาลในแต่ละศาล คดีนี้เป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์สูงถึง73,282,400 บาทและเป็นคดีที่มีข้อยุ่งยากสลับซับซ้อน ทั้งต้องใช้เวลาในการพิจารณาในศาลชั้นต้นนานถึง 5 ปีเศษ หากเปรียบเทียบอัตราค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทน โจทก์ทั้งสอง 1,000,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนด 500,000 บาท กับอัตราตามที่กฎหมายกำหนดให้ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว อัตราที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดดังกล่าวยังต่ำกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายให้อำนาจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดได้อยู่มาก นับได้ว่าศาลล่างทั้งสองได้ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสองเหมาะสมแก่รูปคดีและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและการค้ำประกันหนี้: ผลกระทบจากคำพิพากษาเดิมและหน้าที่ของผู้แทน
จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของ ม. และโจทก์เคยฟ้อง ม. และจำเลยทั้งสามกับพวกในเรื่องตัวแทนละเมิดมาแล้ว คดีดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามในฐานะกรรมการโจทก์สมคบร่วมกันจ่ายเงินโจทก์ซื้อหุ้น เกินไปกว่าราคาที่โจทก์ซื้อรวม 10,814,416.53 บาทจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้คืนโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 144 วรรคหนึ่งอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ม. อีก ส่วนที่จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของธ. และ ม.นั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ธ.และ ม.เป็นหนี้โจทก์จริง ดังนั้น แม้ว่าจำเลยทั้งสามจะทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ธ.และ ม. ลูกหนี้โจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ต้องการเข้าโครงการ4 เมษายน เพื่อรับสิทธิรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย มิได้มีเจตนาผูกพันตามที่แสดงออกมาก็ตาม ก็ปรากฏว่าขณะทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสามเป็นผู้แทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการซึ่งถือว่าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคล จึงถือว่าความรู้ของจำเลยทั้งสามเป็นความรู้ของโจทก์ไม่ได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 74 ส่วนจำเลยที่ 2ก็ไม่ปรากฏว่ามีกรรมการคนอื่นของโจทก์รู้เห็นด้วยเมื่อธ.และม.เป็นหนี้โจทก์จริง และจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาค้ำประกันบุคคลทั้งสองไว้ต่อโจทก์เช่นนี้สัญญาค้ำประกันก็ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าเพื่อตัดสินว่ามีการลอกเลียนหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปที่ 1 เป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันเป็นตัว F และ J สีดำทึบ โดยตัวอักษรโรมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนกับส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยม แต่มีมุมที่เป็นเหลี่ยมเพียง 2 ด้าน และเป็นมุมที่โค้งมนอีก 2 ด้าน ภายในรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีส่วนประกอบของตัวอักษร F ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ และที่บริเวณส่วนหัวของแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) เป็นรูปวงกลมสีดำขนาดเล็กมีจุดสีขาวประปราย มีลักษณะคล้ายลูกกอล์ฟ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันตัว L และ J สีดำทึบ ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปตัวยู (U) ภายในช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ ในลักษณะตั้งกับพื้น และมีลูกกอล์ฟสีขาววางอยู่บนแป้นรองลูกกอล์ฟ ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 2 ตัว ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ แป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) และลูกกอล์ฟเหมือนกันก็ตาม แต่รูปประดิษฐ์มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วรูปประดิษฐ์ของจำเลยจะต้องมีตัวอักษรโรมันคำว่าLite - Joy อยู่ด้านล่างด้วย จึงจะประกอบกันเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนกับของโจทก์ซึ่งใช้เพียงรูปประดิษฐ์อย่างเดียว หรืออักษรโรมันคำว่าFoot - Joy เพียงอย่างเดียวก็เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว ส่วนคำว่าJoy เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีความหมายว่าสนุกสนานร่าเริง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ก็เป็นเครื่องหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นคำและเครื่องหมายที่โจทก์คิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยใช้คำและเครื่องหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้น คำว่า Foot ของโจทก์มีความหมายว่าเท้า แต่คำว่า Lite ของจำเลยมีความหมายว่า เบา ซึ่งแตกต่างกันทั้งการอ่านออกเสียงและความหมาย สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า GREEN - JOYS,SOFT - JOYS, SOFT - JOYS II, ULTRA - JOYS, DRYJOYS, COOL -JOYS และ COURT - JOYS ของโจทก์นั้น ตัวอักษรโรมันที่ใช้สะกดคำ การอ่านออกเสียงและความหมายก็แตกต่างกับคำว่า Lite - Joy ของจำเลยอย่างสิ้นเชิงซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปย่อมจะมองเห็นความแตกต่างกันดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยไม่สับสนหรือหลงผิด ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและอำนาจการฟ้องร้องในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปที่ 1 เป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันเป็นตัว F และ J สีดำทึบ โดยตัวอักษรโรมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนกับส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยม แต่มีมุมที่เป็นเหลี่ยมเพียง 2 ด้าน และเป็นมุมที่โค้งมนอีก 2 ด้านภายในรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีส่วนประกอบของตัวอักษร F ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)สีดำและที่บริเวณส่วนหัวของแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที) เป็นรูปวงกลมสีดำขนาดเล็กมีจุดสีขาวประปราย มีลักษณะคล้ายลูกกอล์ฟ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันตัว L และ J สีดำทึบ ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปตัวยู (u) ภายในช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)สีดำในลักษณะตั้งกับพื้นและมีลูกกอล์ฟสีขาววางอยู่บนแป้นรองลูกกอล์ฟ ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 2 ตัว ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ แป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)และลูกกอล์ฟเหมือนกันก็ตาม แต่รูปประดิษฐ์มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วรูปประดิษฐ์ของจำเลยจะต้องมีตัวอักษรโรมันคำว่า Lite-Joy อยู่ด้านล่างด้วยจึงจะประกอบกันเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนกับของโจทก์ซึ่งใช้เพียงรูปประดิษฐ์อย่างเดียว หรืออักษรโรมันคำว่า Foot-Joy เพียงอย่างเดียวก็เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว ส่วนคำว่า Joy เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีความหมายว่าสนุกสนานร่าเริง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ก็เป็นเครื่องหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปเช่นเดียวกันไม่ใช่เป็นคำและเครื่องหมายที่โจทก์คิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยใช้คำและเครื่องหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้น คำว่า Foot ของโจทก์มีความหมายว่าเท้า แต่คำว่า Lite ของจำเลยมีความหมายว่า เบา ซึ่งแตกต่างกันทั้งการอ่านออกเสียงและความหมาย สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่าGREEN-JOYS,SOFT-JOYS,SOFT-JOYSII,ULTRA-JOYS,DRYJOYS,COOL-JOYS และ COURT-JOYS ของโจทก์นั้น ตัวอักษรโรมันที่ใช้สะกดคำ การอ่านออกเสียงและความหมายก็แตกต่างกับคำว่า Lite-Joy ของจำเลยอย่างสิ้นเชิงซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปย่อมจะมองเห็นความแตกต่างกันดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยไม่สับสนหรือหลงผิด ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นคู่ความหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลให้ฟ้องคดีใหม่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินกับบริวารออกจากที่พิพาท คดีถึงที่สุด และอยู่ระหว่างการออกหมายบังคับคดี ดังนั้น แม้ผู้ร้องสอดจะมีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ก็ตาม แต่การที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมดก็จะทำให้คดีล่าช้าไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณีจึงสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193: การระบุข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการขอรอการลงโทษ
ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ความหมายว่า หากผู้อุทธรณ์ประสงค์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงใด ก็ต้องยกข้อเท็จจริงเฉพาะในปัญหาข้อนั้นขึ้นกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ หาจำต้องยกข้อเท็จจริงอื่นทั้งหมดในสำนวนระบุมาในอุทธรณ์ด้วยไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษโดยอ้างเหตุมาในอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่เคยกระทำความผิดใด ๆ มาก่อน บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่ร้ายแรง ทั้งจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจของผู้เสียหายและไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้จำเลยเป็นการระบุข้อเท็จจริงโดยย่อมาในอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา193 วรรคสองแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเป็นการไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่ามีเหตุสมควรจะรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษโดยอ้างเหตุมาในอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่เคยกระทำความผิดใด ๆ มาก่อน บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่ร้ายแรง ทั้งจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจของผู้เสียหายและไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้จำเลยเป็นการระบุข้อเท็จจริงโดยย่อมาในอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา193 วรรคสองแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเป็นการไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่ามีเหตุสมควรจะรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ขอรอการลงโทษ: การระบุข้อเท็จจริงโดยย่อ และการวินิจฉัยของศาลฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองความหมายว่า หากผู้อุทธรณ์ประสงค์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงใดก็ต้องห้ามยกข้อเท็จจริงเฉพาะในปัญหาข้อนั้นขึ้นกล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ หาจำต้องยกข้อเท็จจริงอื่นทั้งหมดในสำนวนระบุมาในอุทธรณ์ด้วยไม่ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษโดยอ้างเหตุมาในอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดใด ๆ มาก่อน บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับไม่ร้ายแรง ทั้งจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายจนเป็นที่พอใจของผู้เสียหายและไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษให้จำเลยเป็นการระบุข้อเท็จจริงโดยย่อมาในอุทธรณ์ครบถ้วนแล้ว ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองแล้วการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาเป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวว่ามีเหตุสมควรจะรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4326/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการส่งสำเนาและการเสียค่าธรรมเนียม
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2540 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2540 ว่า รับฎีกาของจำเลย สำเนาให้โจทก์และผู้ร้องโดยกำหนดให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ ให้แถลงภายใน 15 วันนับแต่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกา และทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบนัดให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มา ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันที่ 14 มกราคม 2540 หลังจากวันที่จำเลยยื่นฎีกาก็ตามแต่การที่ทนายความจำเลยลงลายมือชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวข้างต้นเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 20 มกราคม 2540 ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งโดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 20มกราคม 2540 การที่จำเลยเพิกเฉยไม่ไปดำเนินการเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องจนพ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์และผู้ร้องภายในกำหนด7 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์: หน้าที่ของผู้ขายในการจัดการจำนองเพื่อการชำระหนี้
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 420,750 บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน 420,750 บาท นั้นโจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลยแสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์: หน้าที่ผู้ขายต้องดำเนินการจำนองให้ผู้ซื้อก่อนชำระเงินส่วนที่เหลือ
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 420,750 บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน 420,750 บาท นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลย แสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้