พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์: หน้าที่ของคู่สัญญาในการจัดหาเงินกู้และการโอนกรรมสิทธิ์
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 420,750 บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน 420,750 บาท นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลย แสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทน vs ผู้รับมอบหมาย
"ผู้ขนส่งอื่น" ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทนไม่ใช่ผู้ขนส่ง
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล: ตัวแทนของผู้ขนส่งไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการลอกเลียนแบบ
โจทก์ได้ใช้ตัวอักษรโรมันคำว่า "Miramar" โดยจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของดินแดนฮ่องกงมาตั้งแต่ปี 2500 ก่อนจำเลยซึ่งเพิ่งจะใช้คำดังกล่าวโดยจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปี 2526 นอกจากนั้นโจทก์ยังได้ใช้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าประเภทกระดาษ สบู่ผ้าเช็ดตัว ปากกา และเครื่องเขียนต่าง ๆ ภายในโรงแรมจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในดินแดนฮ่องกงด้วย ส่วนจำเลยไม่ได้คิดประดิษฐ์อักษรโรมันคำว่า "Miramar"ขึ้นมาเอง แต่ได้นำมาจากชื่อที่พักแห่งหนึ่งที่ประธานกรรมการบริษัทจำเลยเคยเห็นชื่อของโจทก์ในดินแดนฮ่องกงแล้วนำมาใช้ ทั้งเมื่อพิเคราะห์ลักษณะตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า "Miramar" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เปรียบเทียบกับตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า "Miramar" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะตัวอักษร 3 ตัวแรก และตัวอักษร R ตัวสุดท้าย เขียนในลักษณะตวัดปลายให้โค้งงอขึ้นคล้ายก้ามปูเหมือนกันทุกประการ อีกทั้งอักษรโรมันคำว่า"Miramar" ดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยไม่มีคำแปล จึงเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่เป็นคำที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป และไม่น่าเชื่อว่าจะมีการนำมาใช้ตรงกันโดยบังเอิญทั้งชื่อและลักษณะการเขียนตัวอักษรประดิษฐ์ดังกล่าว พฤติการณ์แห่งคดีบ่งชี้ว่าจำเลยได้นำเอาคำว่า "Miramar" ของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า "Miramar" เป็นชื่อทางการค้าและเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้ากระดาษ เครื่องเขียน และเครื่องเย็บสมุด ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกที่ 39ในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Miramar"และคำว่า "HOTEL" พร้อมรูปรอยประดิษฐ์เป็นอักษรโรมันตัว "M" 2 ตัว และจุดแดงอยู่เหนือตัว "M" ทั้งสองคล้ายรูปมงกุฎสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ทั้งจำพวกในประเทศไทยเป็นเวลานานนับสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "Miramar" ทั้งในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดีกว่าจำเลย แม้ว่าจำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวในประเทศไทยแล้ว และโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา41 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันมีลักษณะถาวร เจ้าของรวมไม่มีสิทธิเรียกร้องแบ่ง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกจากโฉนดที่ดินเดิม เพื่อก่อสร้างถนนเลียบที่ดินของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่แปลงในสุดโดยใส่ชื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ก่อสร้างถนนดังกล่าวมีสภาพเป็นถนนคอนกรีตแล้ว พฤติการณ์แห่งการแสดงออกและข้อตกลงที่โจทก์กับจำเลยมีต่อกันในการที่จะให้ถนนสายดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันย่อมมีผลให้ข้อตกลงและวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทมีลักษณะเป็นการถาวร โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1363 วรรคหนึ่ง และแม้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่จะใช้ที่ดินพิพาทก่อสร้างถนนเพื่อประโยชน์ร่วมกันจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวก็มีผลผูกพันให้ใช้บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าปลงศพจากละเมิด
ค่าใช้จ่ายในการปลงศพ แม้โจทก์จะมิได้นำสืบในรายละเอียดว่าเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องอะไรบ้างก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรได้
โจทก์มีรายได้จากการประกอบอาชีพเลี้ยงสุกร สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ แต่เมื่อสามีและภริยาต่างมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ดังนั้น การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ย่อมขาดไร้ผู้อุปการะเลี้ยงดู เมื่อจำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ตายโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน ก.ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายก.เป็นผู้มีส่วนหารายได้มาแบ่งเบาภาระของโจทก์ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อก.ถึงแก่ความตาย ทำให้รายได้บางส่วนหายไป โจทก์ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการอุปการะบุตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ควรจะได้ ดังนี้โจทก์หาได้ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เยาว์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูนี้ได้
โจทก์มีรายได้จากการประกอบอาชีพเลี้ยงสุกร สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ แต่เมื่อสามีและภริยาต่างมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ดังนั้น การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ย่อมขาดไร้ผู้อุปการะเลี้ยงดู เมื่อจำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ตายโจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อน ก.ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายก.เป็นผู้มีส่วนหารายได้มาแบ่งเบาภาระของโจทก์ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อก.ถึงแก่ความตาย ทำให้รายได้บางส่วนหายไป โจทก์ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกโจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการอุปการะบุตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ควรจะได้ ดังนี้โจทก์หาได้ฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เยาว์ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในคดีแพ่งจากความผิดอาญา และการกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกบุกรุกตึกแถวพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยทุบทำลายส่วนต่าง ๆ ของตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีนี้ด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดโดยเข้าไปครอบครองและทุบทำลายตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง คดีนี้จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ.จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3)
ปัญหาว่าโจทก์เสียหายเพียงใดนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยต่างนำสืบโต้แย้งกันจนไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้
จำเลยไม่ได้นำ ส.และ ม.เข้าเบิกความเป็นพยานภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประกอบกับโจทก์ได้อ้างส่งคำเบิกความของพยานทั้ง 2 ปาก ที่ได้เบิกความไว้ในคดีอาญาเป็นพยานต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องของคำเบิกความดังกล่าว อีกทั้งจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะสืบพยาน2 ปากนี้ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าพยานทั้ง 2 ปาก เป็นเพียงผู้ที่เข้าไปทำการรื้อถอนตึกแถวพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นผู้ที่ทำการซ่อมแซมตึกแถวพิพาทจึงไม่สมควรที่จะนำมาเป็นพยานในการประเมินค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นแก่คดีด้วย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ.จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3)
ปัญหาว่าโจทก์เสียหายเพียงใดนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยต่างนำสืบโต้แย้งกันจนไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้
จำเลยไม่ได้นำ ส.และ ม.เข้าเบิกความเป็นพยานภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประกอบกับโจทก์ได้อ้างส่งคำเบิกความของพยานทั้ง 2 ปาก ที่ได้เบิกความไว้ในคดีอาญาเป็นพยานต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องของคำเบิกความดังกล่าว อีกทั้งจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะสืบพยาน2 ปากนี้ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าพยานทั้ง 2 ปาก เป็นเพียงผู้ที่เข้าไปทำการรื้อถอนตึกแถวพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นผู้ที่ทำการซ่อมแซมตึกแถวพิพาทจึงไม่สมควรที่จะนำมาเป็นพยานในการประเมินค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นแก่คดีด้วย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การใช้อายุความทางอาญาบังคับเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกบุกรุกตึกแถวพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยทุบทำลายส่วนต่าง ๆ ของตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหายซึ่งโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดโดยเข้าไปครอบครองและทุบทำลายตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว เมื่อคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง คดีแพ่งจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อคดีแพ่งเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาจึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดฐานบุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์และทำให้เสียทรัพย์มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)
เมื่อคดีแพ่งเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาจึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดฐานบุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์และทำให้เสียทรัพย์มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์, อายุความทางอาญาที่ใช้กับค่าเสียหาย, การใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าเสียหาย
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกบุกรุกตึกแถวพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยทุบทำลายส่วนต่าง ๆของตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีนี้ด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดโดยเข้าไปครอบครองและทุบทำลายตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องคดีนี้จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) ปัญหาว่าโจทก์เสียหายเพียงใดนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยต่างนำสืบโต้แย้งกันจนไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้ จำเลยไม่ได้นำ ส. และ ม. เข้าเบิกความเป็นพยานภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประกอบกับโจทก์ได้อ้างส่งคำเบิกความของพยานทั้ง 2 ปาก ที่ได้เบิกความไว้ในคดีอายาเป็นพยานต่อศาลซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องของคำเบิกความดังกล่าวอีกทั้งจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะสืบพยาน 2 ปากนี้ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าพยานทั้ง 2 ปากเป็นเพียงผู้ที่เช้าไปทำการรื้อถอนตึกแถวพิพาทของโจทก์มิใช่เป็นผู้ที่ทำการซ่อมแซมตึกแถวพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นผู้ที่ทำการซ่อมแซมตึกแถวพิพาทจึงไม่สมควรที่จะนำมาเป็นพยานในการประเมินค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นแก่คดีด้วย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว