คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อมร วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: สัญญาประนีประนอมต้องดำเนินการตามกฎหมายให้ถูกต้องก่อนจึงมีผล
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย มีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู? และข้อ 3 ระบุว่า? จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่ทำให้การสมรสสมบูรณ์ได้
ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับพันโท ส. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2525 พันโท ส. จดทะเบียนสมรสกับนาง ส. อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้น การสมรสระหว่างจำเลยกันพันโท ส. จึงฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 (เดิม) การตกเป็นโมฆะดังกล่าวมีผลเท่ากับจำเลยและพันโท ส. มิได้ทำการสมรสกัน จึงไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ แม้ต่อมาภายหลังพันโท ส. จะได้จดทะเบียนหย่ากับนาง ส. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2535 ก็หาทำให้การสมรสระหว่างจำเลยและพันโท ส. กลับมีผลเป็นการสมรสที่ชอบขึ้นมาไม่
การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 (เดิม) มิใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำเอาบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 และมาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารและการกระทำชำเราผู้เยาว์ ศาลแก้เป็นความผิดตามมาตรา 283 ทวิ
พฤติการณ์ของผู้เสียหายและจำเลยส่อแสดงว่าผู้เสียหายยินยอมไปกับจำเลยและร่วมประเวณีกันยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง แต่ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 15 ปีเศษ เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปและร่วมประเวณีกับผู้เสียหายเช่นนี้ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษหนักกว่า แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยพาบุคคลอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนผู้ต้องหาเยาวชน: ผลของกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ภายหลังการสอบสวน
ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ แต่ปรากฏว่าในคดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยก่อนที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ วรรคหนึ่ง มีผลใช้บังคับ พนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องหย่าซ้ำ ประเด็นแยกกันอยู่ไม่เด็ดขาด ศาลฎีกาพิพากษากลับ
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีนั้น แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องและจำเลยให้การปฏิเสธ อันเป็นประเด็นแห่งคดีแต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเกี่ยวกับการหย่าไว้เพียงว่า จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าหรือไม่แต่เพียงประการเดียวเท่านั้นโดยโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างสละสิทธิไม่ติดใจในประเด็นเกี่ยวกับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยแยกกันอยู่อีกต่อไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าในคดีดังกล่าวได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นของเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีหรือไม่ โจทก์จึงนำเอาเหตุเพราะสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี มาฟ้องหย่าจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าซ้ำ: เหตุหย่าที่ยังไม่ถึงที่สุดในคดีก่อน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีนั้น แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องและจำเลยให้การปฏิเสธ อันเป็นประเด็นแห่งคดี แต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเกี่ยวกับการหย่าไว้เพียงว่า จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าหรือไม่แต่เพียงประการเดียวเท่านั้น โดยโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างสละสิทธิไม่ติดใจในประเด็นเกี่ยวกับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยแยกกันอยู่อีกต่อไป ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าในคดีดังกล่าวได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นของเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีหรือไม่ โจทก์จึงนำเอาเหตุหย่าเพราะสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี มาฟ้องหย่าจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดระยะเวลาส่งตัวเยาวชนเข้าสถานพินิจต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำพิพากษาด้วยว่าเมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย คดีนี้จำเลยเกิดวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์วันที่ 24 พฤษภาคม 2549 ดังนั้น กำหนดเวลาในการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 3 ปี 10 เดือน จึงเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราต่อเนื่องในวาระเดียวกัน ถือเป็นกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 กับพวกติดตามผู้เสียหายไปในลักษณะทันที ถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยที่ 1 ทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกันโดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราต่อเนื่อง: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายครั้งแรกในคืนวันที่ 16 มีนาคม 2544 ครั้นถึงวันรุ่งขึ้นเวลาเที่ยงวัน ผู้เสียหาย จะกลับบ้านจึงเดินออกจากบ้านที่เกิดเหตุกับนางสาว ร. เดินไปประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามมา จำเลยที่ 2 จับแขนนางสาว ร. จำเลยที่ 1 จับแขนผู้เสียหายบอกผู้เสียหายว่าค่อยกลับตอนเย็น ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยที่ 1 ดึงแขนลากตัวผู้เสียหายกลับไปในบ้านเกิดเหตุแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายอีก 1 ครั้ง เห็นว่า จำเลยที่ 1 กับพวกติดตามผู้เสียหายทันที ถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยที่ 1 ทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสกรณีที่ดินมีบ้านพักส่วนตัวและตึกแถวให้เช่า ศาลชี้ทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัว
ทรัพย์สินส่วนที่เป็นสินสมรสอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์และจำเลยมีเพียงตึกแถว 2 หลัง การจะให้ขายทอดตลาดที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ซึ่งมีบ้านพักอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่อีก 1 หลังย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นสินส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่กรรมสิทธิ์รวม แต่หากจะให้ขายทอดตลาดเฉพาะตึกแถว 2 หลัง ที่เป็นสินสมรสแล้วนำเงินมาแบ่งกันก็คาดหมายได้ว่าจะไม่มีผู้ซื้อ หรือถึงจะขายได้ก็จะได้ราคาที่ไม่เหมาะสม เพราะผู้ซื้อไม่มีสิทธิในที่ดิน จึงเห็นควรแบ่งทรัพย์โดยให้ตึกแถว 2 หลังที่เป็นสินสมรส เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน และนำค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นถือเป็นสินสมรสอันจะต้องนำมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 ประกอบมาตรา 1364
of 23