พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่สามารถรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมที่เสียชีวิตก่อน
ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของจ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกและจ. ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่จ. ได้เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของจ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่สามารถรับมรดกแทนที่ได้หากไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1643ที่กำหนดให้สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรงนั้นหมายความถึงผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตอันแท้จริงเท่านั้นส่วนบุตรบุญธรรมแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627จะให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตามก็หมายความเพียงว่าบุตรบุญธรรมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1629(1)และมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้นหามีผลทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยไม่เพราะไม่ใช่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1643ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของจ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกและจ. ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้วเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่จ. ได้เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของจ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกแทนที่ของบุตรบุญธรรม: ไม่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก และ จ. ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ. ได้เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมเมื่อผู้รับบุญธรรมถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก และ จ.ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดก เช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ.ได้ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนคดีก่อนสั่งงดสืบพยาน: การยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน นั้น หมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริง ๆ แต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา 88 วรรคสอง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานก่อนพิจารณาคำขอเลื่อนคดี มิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า7วันนั้นหมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริงๆแต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา88วรรคสอง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองและโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง1ข้อ2กแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและกำหนดเวลาการยื่นบัญชีระบุพยาน: ศาลต้องพิจารณาคำขอเลื่อนคดีก่อนสั่งงดสืบพยาน
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน นั้น หมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริง ๆ แต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา 88 วรรคสอง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระ ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระ ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเลื่อนคดีก่อนสั่งงดสืบพยาน: ศาลต้องพิจารณาคำขอเลื่อนคดีก่อน หากอนุญาตเลื่อนคดีได้ วันนั้นไม่ถือเป็นวันนัดสืบพยาน
ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน นั้น หมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริง ๆ แต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา 88 วรรคสอง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลกับการรับรองอุทธรณ์: โจทก์ต้องดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่ กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณา เมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง ศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์: ศาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาเมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเองศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ