คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อมร วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ทายาทไม่มีสิทธิเช่าต่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าหลังจากว.ถึงแก่ความตายแล้วจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว.ได้ให้จำเลยที่3ถึงที่5เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำประกอบและผลิตสินค้าโดยจำเลยที่3ถึงที่5ขออนุญาตโจทก์แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่1ถึงที่5เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่1ถึงที่5ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาททำประกอบและผลิตสินค้าเรื่อยมาโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่1ถึงที่5รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยที่1ถึงที่5เพิกเฉยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่1ถึงที่5รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่าว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดีเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจากร.มีกำหนดเวลา30ปีซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากร.ต้องยอมให้ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตามแต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าดังนั้นเมื่อว.ถึงแก่ความตายสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างว.กับร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลงและมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างว.กับจำเลยที่3เป็นอันสิ้นสุดลงด้วยจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว. จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปส่วนจำเลยที่3ถึงที่5ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจากว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้ เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้นกฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัดและให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา30ปีด้วยหรือแม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา30ปีและไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของว.หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเช่นนี้ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างร.ผู้ให้เช่ากับว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ทายาทไม่ได้รับสิทธิเช่าต่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจาก ว.ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ได้ให้จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำ ประกอบ และผลิตสินค้า โดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ขออนุญาตโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาท ทำ ประกอบ และผลิตสินค้าเรื่อยมา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เพิกเฉย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่า ว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไป ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดี เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้ ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจากร.มีกำหนดเวลา30 ปี ซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ร.ต้องยอมให้ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตาม แต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อ ว.ถึงแก่ความตายสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ว.กับร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลงและมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 3 เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว. จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ส่วนจำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจากว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้ เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้น กฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัด และให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา 30 ปี ด้วย หรือ แม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของ ว.หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ร.ผู้ให้เช่ากับว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อจากการฝ่าฝืนสัญญาณจราจรทำให้เกิดอุบัติเหตุและทรัพย์สินเสียหาย
ถนนซึ่งจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมามีป้ายสัญญาณจราจรให้หยุดก่อนที่จะขับรถผ่านสี่แยกที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามป้ายสัญญาณจราจรดังกล่าวด้วยการหยุดรอ แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามป้ายสัญญาณจราจรกลับขับรถยนต์บรรทุกผ่านสี่แยกที่เกิดเหตุด้วยความเร็วสูงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาณจราจรที่ให้หยุดรถก่อนเข้าสู่ทางร่วมทางแยก ทำให้ชนรถยนต์ซึ่งจำเลยที่ 5 ขับที่บริเวณสี่แยกแล้วเสียหลักไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทช็อตปลาสาธารณะ เสียชีวิต ลดโทษผู้เยาว์ รอลงอาญา คุมประพฤติ
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสิ่งที่มีอันตรายโดยสภาพสามารถทำอันตรายบุคคลอื่นให้ถึงแก่ความตายได้ทำการช็อตปลาในคลองสาธารณะที่ประชาชนใช้ร่วมกันนอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้งแล้วยังเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์อันถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสี่อีกด้วยเมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าที่จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ดังกล่าวช็อตจนถึงแก่ความตายก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยทั้งสามไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลองแล้วถูกกระแสไฟฟ้าช็อตหรือเป็นเพราะผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตถึงแก่ความตายก็ตามก็ไม่มีผลทำให้จำเลยทั้งสามพ้นผิดแต่อย่างใด การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามเกิดจากความประมาทมิใช่เกิดจากการกระทำโดยเจตนาจึงมีเหตุอันควรได้รับความปรานีประกอบกับขณะเกิดเหตุจำเลยที่1และที่2มีอายุไม่เกิน17ปีซึ่งความรู้ผิดชอบย่อมจะไม่สมบูรณ์เท่ากับผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสำหรับจำเลยที่3แม้จะมีอายุมากรู้สึกผิดชอบดีแล้วแต่ก็เป็นการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่1และที่2อันเป็นเหตุในลักษณะคดีต้องยกประโยชน์ในส่วนนี้ให้แก่จำเลยที่3ด้วยโทษที่จำเลยทั้งสามได้รับมีกำหนดเวลาไม่มากนักหากรับโทษจำคุกไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำการอบรมให้กลับตัวเป็นคนดีได้ทันซ้ำยังอาจทำให้จดจำเอาตัวอย่างที่ไม่ดีจากผู้ต้องขังอื่นมาประพฤติปฏิบัติอันอาจเป็นผลร้ายต่อสังคมไทยในภายหน้าได้สมควรให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสามไว้ซึ่งน่าจะมีผลดีแก่สังคมโดยส่วนรวมมากกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทใช้ไฟฟ้าช็อตปลาทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ถือเป็นความรับผิดทางอาญา แม้ผู้ตายจะลงไปในน้ำหรือแก้สายไฟฟ้า
จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลาในคลองสาธารณะ ถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตาย ก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลย ไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลอง หรือผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตาย ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยพ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทจากการช็อตปลาในที่สาธารณะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลาในคลองสาธารณะถือได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59วรรคสี่เมื่อผู้ตายถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตายก็ต้องถือว่าเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าเหตุที่เกิดขึ้นจะเป็นเพราะผู้ตายลงไปอาบน้ำในคลองหรือผู้ตายไปแก้สายไฟฟ้าที่เกี่ยวติดสิ่งของจึงถูกกระแสไฟฟ้าช็อตตายก็ไม่มีผลทำให้จำเลยพ้นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในคดีเช่าทรัพย์สินและการวินิจฉัยฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนอกเหนือจากสัญญาเช่า
การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาฟ้องเดิมและฟ้องแย้งแยกจากกันสำหรับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าหากจะนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ30,000บาทและโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนนั้นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ7,000บาทก็ตามยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์ปีที่3เดือนละ2,083บาทที่ดินพิพาทจึงมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ2,083บาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลโดยไม่มีสิทธิ: บทบัญญัติโทษและขอบเขตการนำกฎหมายเลือกตั้งมาใช้
พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิ มิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใด และตามพ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528 มาตรา 3 ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา 7 ว่า "การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน (4) ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม" เมื่อ พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2528 มาตรา 3 บัญญัติวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ตามความใน(4) แห่งมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า พ.ร.บ.สุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2528มาตรา 3 มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7 (4) ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะตามพ.ร.บ.สุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลไว้มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมด ดังนั้น จะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับ โดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งสุขาภิบาล การนำบทบัญญัติกฎหมายอื่นมาใช้โดยอนุโลมต้องตีความอย่างเคร่งครัด
พระราชบัญญัติ สุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่า"การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม"เมื่อพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3บัญญัติวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามความใน(4)แห่งมาตรา7ของพระราชบัญญัติดังกล่าวคือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลไว้มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาได้ไม่ดังนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บทกำหนดโทษโดยอนุโลมจากกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในคดีเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์โดยไม่มีสิทธิมิได้บัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตราหนึ่งมาตราใดและตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ซึ่งให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่าการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมนั่นก็คือให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลมซึ่งต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4)ให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นมิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับทั้งหมดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษโดยเฉพาะมาใช้บังคับโดยอนุโลมหาได้ไม่ฉะนั้นเมื่อจำเลยไปใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลพระสมุทรเจดีย์ในวันเกิดเหตุโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งถือว่าการกระทำของจำเลยในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคแรก
of 23