พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7279/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้ไม่มีตัวการ ศาลพิจารณาจากคำรับสารภาพและลดโทษได้
จำเลยยินยอมให้ พ. นำเฮโรอีนไปซุกซ่อนไว้ในที่ดินของจำเลยอันเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ พ. กับพวกมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้โจทก์จะยังไม่ได้ฟ้อง พ. และยังไม่ได้ตัว น.ผู้ว่าจ้างให้ พ. ทำการซุกซ่อนเฮโรอีนมาดำเนินคดีก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้สนับสนุนไปได้
จำเลยกระทำความผิดต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 โทษที่ศาลล่างทั้งสองวางลงโทษจำเลยจากฐานจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษต่ำสุดที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้ว จึงวางโทษจำคุกสถานเบากว่านี้อีกไม่ได้
คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนที่จำเลยให้การว่าได้อนุญาตให้ พ. นำเฮโรอีนไปซุกซ่อนในที่ดินของจำเลยเท่ากับจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานสนับสนุนการมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและคำรับดังกล่าวนั้นได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดอันเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของศาล จึงสมควรลดโทษให้จำเลย
จำเลยกระทำความผิดต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 53 โทษที่ศาลล่างทั้งสองวางลงโทษจำเลยจากฐานจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษต่ำสุดที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้ว จึงวางโทษจำคุกสถานเบากว่านี้อีกไม่ได้
คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนที่จำเลยให้การว่าได้อนุญาตให้ พ. นำเฮโรอีนไปซุกซ่อนในที่ดินของจำเลยเท่ากับจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานสนับสนุนการมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและคำรับดังกล่าวนั้นได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดอันเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของศาล จึงสมควรลดโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7244/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภัยอันตรายจากขบวนการพาคนต่างด้าวเข้าประเทศ: ศาลยืนจำคุก ไม่รอลงโทษ
การที่จำเลยทั้งห้ากับพวกร่วมกันชักชวนและนำพาบุคคลต่างด้าว 22 คน ให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วร่วมกันจัดหาพาหนะให้บุคคลต่างด้าวเหล่านั้นโดยสารเดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร อันเป็นการอุปการะช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่คนต่างด้าวให้เข้ามาในราชอาณาจักร รวมถึงการร่วมกันช่วยเหลือ ซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการถูกจับกุม ล้วนเป็นการกระทำความผิดที่เป็นภัยอันตรายต่อประเทศชาติทั้งในด้านความมั่นคงและด้านสังคมอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นช่องทางให้คนต่างด้าวเข้ามาปลอมตัวเป็นคนสัญชาติไทยและเข้ามาก่ออาชญากรรมทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรงอยู่เนือง ๆ แล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวเข้ามาแย่งอาชีพของคนไทย สร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจให้แก่คนไทยโดยใช่เหตุ ยิ่งกว่านั้น คนต่างด้าวบางรายยังนำโรคติดต่อที่ยากต่อการบำบัดรักษา สร้างปัญหาทางด้านสาธารณสุขให้แก่คนในชาติอีกด้วย ลักษณะการกระทำความผิดของ จำเลยทั้งห้ากับพวกถือเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอพิจารณาคดีใหม่: คุณสมบัติคู่ความและเหตุขาดนัด
ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 207ได้นั้น จะต้องเป็นคู่ความและเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และการขาดนัดพิจารณาเป็นเหตุให้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ฝ่ายที่ขาดนัดนั้นแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทด้วย
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ไปแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และผู้คัดค้านไม่ได้ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท และมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ไปแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และผู้คัดค้านไม่ได้ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่ต้องเป็นคู่ความที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดและมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้ที่จะมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ได้นั้นจะต้องเป็นคู่ความและเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณา และการขาดนัดพิจารณาเป็นเหตุให้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ฝ่ายที่ขาดนัดนั้นแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทด้วย คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ไปแล้ว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(11) และผู้คัดค้านไม่ได้ถูกศาลแสดงว่าขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นที่พิพาทผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ทุนทรัพย์, อัตราค่าทนายความ, และการคืนค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครอง ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินเป็น น.ส. 3 โจทก์ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลย คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธ์ในที่ดินพิพาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย
แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยบุกรุกมีเนื้อที่ 1 งาน 47 ตารางวา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายขอให้ทำแผนที่พิพาท ในการทำแผนที่พิพาทเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้รังวัดโดยคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นผู้นำชี้ และรับกันว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา จึงมีประเด็นโต้เถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินกัน ในเนื้อที่ 1 งาน 33 ตารางวา ซึ่งคิดเป็นราคาในขณะที่ยื่นคำฟ้องเพียง 49,875 บาท คดีนี้จึงมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นเงินจำนวนดังกล่าว แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 55,125 บาท ก็ไม่ทำให้ทุนทรัพย์ในคดีเพิ่มขึ้นได้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งเป็นการกำหนดโดยผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้วินิจฉัย ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. สองร้อยบาท แต่จำเลยเสียเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเหตุรอการลงโทษในคดีลักทรัพย์ การกระทำที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมไม่อาจรอการลงโทษได้
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฎีกาของจำเลยที่ 1 เพียงว่า "รอไว้สั่งเมื่อผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคำร้อง ขอให้รับรองฎีกาเสร็จแล้ว" แต่เมื่อผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อ ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับฎีกา ของจำเลยที่ 1 อีก คงมีแต่รายการระบุว่าโจทก์ได้รับสำเนาฎีกาของจำเลยที่ 1 และเจ้าหน้าที่รายงานว่าโจทก์รับสำเนาฎีกาครบกำหนดแล้วไม่ยื่นคำแก้ฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานของเจ้าหน้าที่ว่า ส่งสำนวนไปศาลฎีกา พฤติกรรมดังกล่าวถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 216 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 200 และ 201 แล้วศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 1 ได้ การลักทรัพย์โดยการถอดชิ้นส่วนรถยนต์ที่จอดไว้เป็นพฤติการณ์ที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม แม้ทรัพย์ที่ลักไปจะมีราคาน้อยก็ตาม และที่ผู้เสียหายได้รับทรัพย์คืนไปก็เนื่องจากเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ได้พร้อมกับทรัพย์ที่ถูกลัก การที่ผู้เสียหายได้ทรัพย์คืนมา จึงไม่ใช่การบรรเทาผลร้ายของจำเลยที่ 1 พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทรัพย์สินก่อนอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสมีผลผูกพันทางกฎหมาย
ผู้ตายกับจำเลยทำข้อตกลงก่อนอยู่กินร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสว่าทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินร่วมกัน ผู้ตายยินยอมยกให้จำเลยทั้งหมด แต่จำเลยต้องกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสียเลี้ยงดูภรรยาเก่าและบุตรทั้งหกที่เกิดจากภรรยาเก่าของผู้ตายด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลบังคับตามกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่ผู้ตายอยู่กินกับจำเลยจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว หาได้เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง, 67 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุกจำเลย 5 ปี เพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน คำขอนอกจากนั้นให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 ริบของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิ่มโทษจำเลย เป็นไม่เพิ่มโทษกับให้ริบของกลางเท่านั้น โดยมิได้แก้บทมาตราแห่งความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการแก้เฉพาะในเรื่องโทษ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดเดิมไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขโทษเล็กน้อย ไม่กระทบฐานความผิด ไม่รับฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง,67เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ ลงโทษ ตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกจำเลย 5 ปีเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 97 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน คำขอนอกจากนั้นให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97ริบของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ให้เพิ่มโทษจำเลย เป็นไม่เพิ่มโทษกับให้ริบของกลางเท่านั้นโดยมิได้แก้บทมาตราแห่งความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการแก้เฉพาะ ในเรื่องโทษ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุก จำเลยในความผิดเดิมไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6833/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารเด็ก แม้มีพฤติการณ์ไม่รุนแรง ประกอบกับมีการชดใช้ค่าเสียหายและผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ศาลฎีกาให้รอการลงโทษ
แม้จำเลยจะกระทำอนาจารผู้เสียหายซึ่งมีอายุไม่เกิน15 ปี โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการใช้แขนรัดคอใช้มือปิดปาก จับทรวงอก และพยายามปลดตะขอกางเกงของผู้เสียหายพร้อมกับพูดขอให้ผู้เสียหายยอมให้จำเลยกระทำชำเราก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้ใช้อาวุธทำการขู่เข็ญหรือประทุษร้ายผู้เสียหาย ทั้งก่อน เกิดเหตุผู้เสียหายกับจำเลยเคยติดต่อคบหากันอย่างคนรักพฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายจึงไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยไม่เคยกระทำความผิดหรือเคยต้องรับโทษจำคุกมาก่อน และจำเลยได้บรรเทาผลร้ายด้วยการยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย จนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไม่ประสงค์จะให้จำเลยต้องรับโทษทางอาญา ดังนั้น หากปรานีจำเลยด้วยการรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยได้กลับตัวเป็นพลเมืองดีและคุมความประพฤติจำเลยไว้เพื่อให้พนักงานคุมประพฤติคอยสอดส่อง ดูแลแนะนำช่วยเหลือหรือตักเตือนให้จำเลยได้แก้ไขฟื้นฟู ตนเอง น่าจะบังเกิดผลดีแก่จำเลยและสังคมส่วนรวมมากกว่า