พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องและการแก้ไข น.ส.3 ก. เมื่อออกทับที่ดินเดิม
โจทก์ได้รับการยกให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจากบิดาโจทก์ และได้ครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมาตั้งแต่ปี 2515 และเพิ่งมีเหตุพิพาทกับจำเลยในปี 2536เว้นไม่ได้ทำปี 2522 และโจทก์เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ของที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวยังคลุมถึงที่ดินของจำเลยด้วย และการเพิกถอน น.ส.3 ก. ต้องเพิกถอนทั้งฉบับ ซึ่งย่อมกระทบ ถึงสิทธิของจำเลยในส่วนที่ดินที่เป็นของจำเลย จึงไม่มีเหตุเพิกถอน น.ส.3 ก. ฉบับดังกล่าวได้ แต่เมื่อศาลฎีกา ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และ น.ส.3 ก. ของจำเลย ออกทับที่ดินพิพาท จำเลยต้องแก้ไข น.ส.3 ก. ฉบับดังกล่าว ให้มีผลคลุมเฉพาะที่ดินของจำเลยเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. เฉพาะส่วนที่ทับที่ดินพิพาท ย่อมมีผลทำนองเดียวกับการแก้ไข น.ส.3 ก. ไม่ให้มีผลคลุมถึงที่ดินพิพาท คงให้มีผลคลุมถึงเฉพาะที่ดินส่วนของจำเลยเท่านั้น ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้จำเลยไปขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ไปศาล
คดีแพ่งระหว่างโจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7กับโจทก์ทั้งห้าต่างไม่ไปศาลตามวันเวลานัด ต้องถือว่าคู่ความ ทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4แถลงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีกรณีดังกล่าวบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 วรรคแรก โดยศาลไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 5ที่ 6 และที่ 7 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความขาดนัดและจำเลยแถลงไม่ติดใจดำเนินคดี
คดีแพ่งระหว่างโจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 กับโจทก์ทั้งห้าต่างไม่ไปศาลตามวันเวลานัด ต้องถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 แถลงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี กรณีดังกล่าวบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 200 วรรคแรกโดยศาลไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6587/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์มีพิรุธและข้อต่อสู้ของจำเลยสมเหตุสมผล ศาลฎีกายกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
เมื่อคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์มีพิรุธก็รับฟังคำเบิกความดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยปราศจากข้อระแวงสงสัย ไม่ได้ ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด ทั้งต่อสู้ว่าจำเลยสงสัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจกลั่นแกล้ง จำเลยด้วยการนำธนบัตรตามสำเนาธนบัตร ที่เจ้าพนักงานตำรวจเตรียมไว้มาใส่ในกระเป๋าเงิน ของจำเลยตอนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดกระเป๋าของจำเลยไป ซึ่งข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวก็ควรรับฟังประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อจำเลยปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องและพยานหลักฐาน ของโจทก์มีพิรุธ ก็ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็น คุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6576/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุบอกกล่าวทวงถามเป็นข้อต่อสู้หลังศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาอ้างเป็นข้อกฎหมายว่า การที่โจทก์มิได้บอกกล่าวทวงถาม จำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด ไม่ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบนั้น การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยดังกล่าวย่อมต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยได้ยกเรื่องบอกกล่าวทวงถามขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้เพิกถอน น.ส.3 ก. พิพาท ตามคำขอของโจทก์ ก็ย่อมเป็นผล ต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นการ ให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ. เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน59 ตารางวา ในราคา 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินของโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 ไร่ 55 ตารางวา ในราคา 60,000 บาท จำเลยที่ 3ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 งาน 88 ตารางวาในราคา 20,000 บาท โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจาก ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1เพียงประมาณ 1 ปี ราคาของที่ดินจึงไม่น่าจะต่างกันมากนัก ที่ดินเฉพาะในส่วนที่พิพาทกันมีเนื้อที่เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งแปลง ราคาของที่ดินพิพาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ของคดีนี้ย่อมไม่เกิน50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์พิจารณาจากราคาที่ดินพิพาท แม้ฟ้องเพิกถอน น.ส.3 ก. แต่มีประเด็นกรรมสิทธิ์เกี่ยวข้อง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้เพิกถอน น.ส.3 ก.พิพาท ตามคำขอของโจทก์ ก็ย่อมเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นการให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ปรากฎว่าโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ.เนื้อที่4 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา ในราคา 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ขอออกน.ส.3 ก. ทับที่ดินของโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1เนื้อที่ 3 ไร่ 55 ตารางวา ในราคา 60,000 บาท จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 งาน 88 ตารางวา ในราคา 20,000 บาท โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 เพียงประมาณ 1 ปี ราคาของที่ดินจึงไม่น่าจะต่างกันมากนัก ที่ดินเฉพาะในส่วนที่พิพาทกันมีเนื้อที่เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งแปลง ราคาของที่ดินพิพาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ของคดีนี้ย่อมไม่เกิน 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดจากการหยุดก่อสร้าง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากจำเลยตามสัญญาฉบับพิพาท ในราคา 4,615,394 บาท และโจทก์ชำระเงินให้จำเลยในวันทำสัญญาเป็นเงินค่าจอง 50,000 บาท และค่างวดอีก 5 งวด คืองวดเดือนมกราคม 2538ถึงเดือนพฤษภาคม 2538 เป็นเงิน 340,000 บาท หลังจากนั้นโจทก์ผ่อนชำระให้แก่จำเลยในงวดเดือนมิถุนายน 2538 ถึงเดือนมกราคม 2539 อีก 8 งวด เป็นเงิน365,056 บาท รวมเป็นเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยทั้งสิ้น 755,056 บาท และโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวต่อจำเลยแล้ว ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุว่า ผู้จะซื้อต้องชำระเงินในระหว่างการก่อสร้างอาคารชุดตามเวลาที่กำหนดไว้ และผู้จะขายสัญญาว่าจะทำการก่อสร้างอาคารชุดให้เสร็จโดยเร็วที่สุด ซึ่งแสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่จำเลยหยุดก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538 ถึงเดือนกันยายน 2539 เป็นระยะเวลา 1 ปีเศษ โดยจำเลยไม่เคยมีหนังสือแจ้งความคืบหน้าการก่อสร้าง ถือได้ว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างอาคารในระหว่างเวลาที่โจทก์ผ่อนชำระราคา กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน อาคารชุด ผู้ขายผิดสัญญาหยุดก่อสร้าง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โดยที่สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุว่าผู้จะซื้อต้องชำระเงินในระหว่างการก่อสร้างตามเวลาที่กำหนดไว้และว่าผู้จะขายสัญญาว่าจะทำการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว แสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายอาคารชุดหยุดการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผ่อนชำระราคา เป็นเวลาถึง 1 ปีเศษกรณีต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์อาคารชุด ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้ จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาโดยมิได้ให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้นต้องถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความรับผิดและค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนิน งานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ