คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อมร วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การขนส่งสินค้า, ความรับผิดของผู้ขนส่ง, สินค้าสูญหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ, และความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือเมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้า บริษัทอ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้วจะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่าการปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่าค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 3(2)(ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่28 เมษายน 2534 และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็น บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมาย ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และจำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อให้เรือท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้า พิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616 ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาท บริษัทอ. ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวรับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้า ที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือหลักฐานการรับเงินมรดกและสละสิทธิ ถือเป็นเอกสารสิทธิ ตามกฎหมาย
หนังสือหลักฐานการได้รับเงินและสละสิทธิในที่ดินมรดกเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแก่การก่อ เปลี่ยนแปลง โอนหรือระงับซึ่งสิทธิในที่ดินมรดก จึงเป็นเอกสารสิทธิ ตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิในที่ดินมรดก เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
หนังสือหลักฐานการได้รับเงินและสละสิทธิ์ในที่ดินมรดกเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแก่การก่อ เปลี่ยนแปลงโอนหรือระงับซึ่งสิทธิในที่ดินมรดก จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลิขสิทธิ์เพลง: สิทธิของผู้รับโอนและเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์
เมื่อสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์บทเพลงพิพาทของโจทก์ทำขึ้นในระหว่างที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นในระหว่างนั้นกรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ดังกล่าว ข้อความตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงที่พิพาทที่ทำขึ้นในระหว่างที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521ใช้บังคับระบุว่า ผู้ประพันธ์ตกลงโอนขายและห้างตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพลงตามที่ระบุในสัญญา การโอนขายนี้จึงเป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมดและเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งลิขสิทธิ์และบทเพลงพิพาทเป็นงานดนตรีกรรม ซึ่งไม่ต้องบังคับตามมาตรา 18 และมาตรา 19 ข้อสัญญาดังกล่าว จึงมีความหมายว่า เป็นการโอนลิขสิทธิ์ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 วรรคแรกเมื่อปรากฏว่าขณะพิจารณาคดีนี้ ค.ผู้สร้างสรรค์บทเพลงพิพาทยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนย่อมมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับดังกล่าวนี้ได้ โจทก์ซื้อลิขสิทธิ์บทเพลงพิพาทรวมกับบทเพลงอื่นจากด.ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ แต่เหตุที่จำเลยนำบทเพลงพิพาทไปบันทึกเสียงเนื่องจากจำเลยเข้าใจว่าตนมีสิทธิในลิขสิทธิ์เพลงพิพาทดีกว่าโจทก์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนา กระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: ผลของการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาลฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลาในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีของผู้ค้ำประกัน: คำให้การไม่ชัดเจน ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาล ฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลา ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้ง ว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองคงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิ นำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไป สืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิด ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายปูนซีเมนต์จากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาท สำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตันเป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้นจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขน ปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลาย ในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึง กรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่ง ก็ ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้น จากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์ รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือ องค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณี ที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้น ในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่ง เป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิด ชอบ ของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญา รับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อ องค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาทสำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน เป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วยดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246และ 247
ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือ ช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้น จำเลยที่ 3ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขนปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึงกรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งก็ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือองค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่งเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญารับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน
of 23