คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อมร วีรวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าที่ละเมิด แม้เปลี่ยนเครื่องหมายใหม่ก็ไม่ถือเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิม
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ5,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยจะเลิกผลิตและจำหน่ายน้ำปลาเครื่องหมายการค้าที่พิพาทเมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีเดิมแล้ว จำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามฟ้องคดีเดิมอยู่ต่อไป จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว เมื่อจำเลยยังชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาส่วนนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งความเสียหายว่า จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำหน่ายน้ำปลาของโจทก์ได้น้อยลงคิดเป็นเงินเดือนละ 35,000 บาทขอให้บังคับห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องจำนวนหนึ่งกับค่าเสียหายอีกเดือนละ 35,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทหรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ คำขอในส่วน ที่ระบุถึงเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะ เหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนี้ เป็นเพียงคำขอล่วงหน้าในอนาคต เมื่อในขณะพิจารณาคดี เดิมยังไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้า อื่นตามคำขอดังกล่าวที่จะนำมาพิจารณาและในชั้น พิจารณาคดีเดิมศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับ เครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา คงมีแต่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาฝ่ายเดียวดังนี้ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกจำหน่ายน้ำปลาที่พิพาทก็มิใช่เป็นการพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะการค้าโดยรวมอาจเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ก็มีรายละเอียดประกอบแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยใช้และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทออกไปบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่อาจเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่ถูกห้ามใช้ตามคำพิพากษา ดังนี้ กรณีที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และทำให้โจทก์เสียหายมากหรือน้อยกว่าที่ศาลกำหนดให้ในคดีเดิมหรือไม่อย่างใด ก็เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป กรณีไม่อาจถือได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้ บังคับคดีแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายในส่วนนี้ ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับคดีในส่วนค่าเสียหาย ไม่ตรงตามคำพิพากษาเป็นเรื่องสิทธิในการบังคับคดี ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกา ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไข เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีค่าเสียหายจากการใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนคล้ายกัน: การบังคับคดีเฉพาะตามคำพิพากษาเดิม
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 5,000 บาทนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจำเลยจะเลิกผลิตและจำหน่ายน้ำปลาเครื่องหมายการค้าที่พิพาทเมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีเดิมแล้ว จำเลยยังคงใช้เครื่องหมายการค้าตามฟ้องคดีเดิมอยู่ต่อไป จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว เมื่อจำเลยยังชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาส่วนนี้ไม่ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างเหตุแห่งความเสียหายว่า จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่เหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายจำหน่ายน้ำปลาของโจทก์ได้น้อยลงคิดเป็นเงินเดือนละ 35,000 บาทขอให้บังคับห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายที่คิดถึงวันฟ้องจำนวนหนึ่ง กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 35,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท หรือเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ คำขอในส่วนที่ระบุถึงเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงคำขอล่วงหน้าในอนาคต เมื่อในขณะพิจารณาคดีเดิมยังไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นตามคำขอดังกล่าวที่จะนำมาพิจารณาและในชั้นพิจารณาคดีเดิมศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา คงมีแต่จำเลยอุทธรณ์ฎีกาฝ่ายเดียว ดังนี้ การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกจำหน่ายน้ำปลาที่พิพาทก็มิใช่เป็นการพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอื่นอันมีลักษณะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะการค้าโดยรวมอาจเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ก็มีรายละเอียดประกอบแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าพิพาทที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยใช้และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายจากการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่พิพาทออกไปบ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่อาจเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่ถูกห้ามใช้ตามคำพิพากษา ดังนี้ กรณีที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และทำให้โจทก์เสียหายมากหรือน้อยกว่าที่ศาลกำหนดให้ในคดีเดิมหรือไม่ อย่างใด ก็เป็นกรณีที่โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวต่อไป กรณีไม่อาจถือได้ว่าการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับคดีในส่วนค่าเสียหายไม่ตรงตามคำพิพากษาเป็นเรื่องสิทธิในการบังคับคดีซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนตามกฎหมาย: การเชิดตัวแทนและผลผูกพันสัญญา แม้ไม่มีหลักฐานแสดงความเป็นตัวแทนโดยชัดแจ้ง
แม้สัญญาจ้างเหมาเรือจะไม่ระบุว่าบริษัท ค. เป็นตัวแทนหรือกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่สินค้าคือปูนซีเมนต์ที่บรรทุกมากับเรือนั้นเป็นของจำเลยที่ 1 ที่สั่งซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อนำมายังประเทศไทยซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ใบตราส่งก็ระบุว่าผู้รับตราส่งหรือผู้รับสินค้าคือจำเลยที่ 1 เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง ประเทศไทยแล้ว นายเรือก็ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ไปทำการขนสินค้าตามหนังสือบอกกล่าวความพร้อมซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เช่า/ผู้รับสินค้า ต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้ทำการกักสินค้า จำเลยที่ 1 ได้ติดต่อบริษัท ค. ให้ติดต่อฝ่ายโจทก์ให้ปล่อยสินค้าโดยระบุว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้โอนเงินค่าระวางเรือจำนวน 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ มาเรียบร้อยแล้ว โดยจำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบเรื่องค่าเรือเสียเวลาจำนวน 1,550,000 บาท โดยให้ธนาคารทำสัญญาค้ำประกัน ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นจำนวน 1,550,000 บาท ด้วย เมื่อขนถ่ายสินค้าเสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเรือเสียเวลาให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ทวงถามตามหนังสือทวงถามซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าเหมาเรือ จำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เช่าเรือเลย สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างบริษัท ค. ขนถ่ายสินค้านั้นปรากฏข้อความว่าจำเลยที่ 1 ให้บริษัท ค. จัดเตรียมเรือเดินทะเลเพื่อขนถ่ายสินค้าทำนองให้กระทำการแทนเท่านั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทน
แม้คำฟ้องโจทก์ที่ 1 จะบรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นการบรรยายฟ้องในเรื่องกฎหมายลักษณะตัวการตัวแทน เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดบริษัท ค. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเรื่องตัวการตัวแทนได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
(วรรคนี้วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 8191/2538)
ตามสัญญาจ้างเหมาเรือไม่มีข้อห้ามว่ากรณีที่มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการแล้ว ห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดี นอกจากนี้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ว่าด้วยวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด 3 ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ และ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ก็มิได้มีข้อห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเช่นเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาอนุญาโตตุลาการโดยมิได้เสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องอาจยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยานหรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่สัญญาดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่นหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ ก็ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสีย" แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำให้การ แต่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและศาลไม่จำต้องจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นคู่ความและการหมดอายุสิทธิร้องสอดคดี การครอบครองปรปักษ์ และผลของการจดทะเบียนสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน10 ปี การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ในคดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นผลให้ได้กรรมสิทธิ์เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้สอดร้องขอไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้น ตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน 10 ปีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกระเบิดซ้อมขว้างหมดสภาพ ไม่เป็นเครื่องกระสุนปืน ไม่มีความผิด
จำเลยมีลูกระเบิดของกลางไว้ในครอบครอง แต่เป็นเพียงลูกระเบิดซ้อมขว้างซึ่งอยู่ในสภาพทำการซ้อมขว้างไม่ได้ เพราะชนวนถูกทำลายมาก่อนและวัตถุระเบิด (ดินดำ) ที่บรรจุอยู่ภายในถูกสำรอกหมดแล้ว ดังนี้ ลูกระเบิดของกลางจึงไม่เป็นวัตถุระเบิด และย่อมไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนด้วย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง และเมื่อลูกระเบิดของกลางนั้นสิ้นสภาพความเป็นลูกระเบิดแล้ว ทั้งจำเลยเก็บไว้บนหิ้งบูชา ศาลฎีกาจึงไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกระเบิดซ้อมขว้างไร้สภาพ ไม่เป็นเครื่องกระสุนปืน การครอบครองจึงไม่ผิด
จำเลยมีลูกระเบิดซ้อมขว้างซึ่งอยู่ในสภาพทำการซ้อมขว้าง ไม่ได้ เพราะชนวนถูกทำลายมาก่อนและวัตถุระเบิด (ดินดำ) ที่บรรจุอยู่ภายในถูกสำรอกหมดแล้วไว้ในครอบครอง ดังนี้ ลูกระเบิดของกลางจึงไม่เป็นวัตถุระเบิด และย่อมไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนด้วย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครอง และเมื่อลูกระเบิดของกลางนั้นสิ้นสภาพความเป็นลูกระเบิดแล้ว ทั้งจำเลยมีเจตนาเพียงเก็บไว้บนหิ้งบูชา ศาลฎีกาจึงไม่ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่เคยถูกวินิจฉัยแล้ว แม้เปลี่ยนรูปคดีก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินพิพาทคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยตั้งรูปคดีมาใหม่ว่าโจทก์มอบ ที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำเลย ส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ ซึ่งแตกต่างกับรูปคดีของคดีก่อนซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกันคือโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน: คำพิพากษาศาลถึงที่สุดมีผลผูกพัน แม้เปลี่ยนรูปคดี
ที่ดินพิพาทคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยตั้งรูปคดีมาใหม่ว่าโจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ ซึ่งแตกต่างกับรูปคดีของคดีก่อนซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกันคือโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อยู่ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยไม่มีเหตุผลอันควร อาจถูกมองว่าเป็นการประวิงคดี
จำเลยทั้งสองเคยร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งประสงค์ จะสืบเป็นพยานเพียงปากเดียว ติดภาระหน้าที่ราชการถึงสองนัดศาลชั้นต้นก็ได้เห็นความสำคัญของภาระหน้าที่ที่จำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติด้วยการอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมาแล้วทั้งสองนัดการที่จำเลยที่ 1 ไม่มาศาลในนัดที่สามโดยการโทรศัพท์แจ้งให้ทนายความจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1ติดประชุมโดยจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานที่ควรแก่การเชื่อถือมาแสดงว่ามีการประชุมเรื่องดังกล่าวกันจริงและจำเลยที่ 1จำเป็นจะต้องไปร่วมประชุมด้วยตนเอง ถือว่าจำเลยที่ 1ไม่ให้ความสำคัญแก่คำกำชับและวันเวลานัดของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเวลานัดของหน่วยงานราชการที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งเช่นกัน ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้
of 23