พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา: จำเลยต้องปฏิบัติตาม แม้มีคดีใหม่โต้แย้งสิทธิ
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาทพร้อมกับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายแพ้คดีให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาคือออกจากบ้านและที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ จำเลยจะอาศัยเหตุที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอแสดงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุมิใช่ที่ดินของโจทก์เป็นคดีขึ้นมาใหม่เพื่อขอให้งดการบังคับคดีนี้ไว้ก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความฝ่ายแพ้ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา การงดบังคับคดีไม่ชอบ
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาทพร้อมกับให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์คดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายแพ้คดีให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาคือออกจากบ้านและที่ดินพิพาทเมื่อจำเลยขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ จำเลยจะอาศัยเหตุที่จำเลยฟ้องโจทก์ขอแสดงสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินราชพัสดุมิใช่ที่ดินของโจทก์เป็นคดีขึ้นมาใหม่เพื่อขอให้งดการบังคับคดีนี้ไว้ก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำประโยชน์ในที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สัญญาเช่าไม่ทำให้เกิดสิทธิไล่บุคคลอื่นที่ครอบครองก่อน
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เทศบาลตำบลหัวหินจึงเป็นผู้มีอำนาจควบคุมดูแลและหาผลประโยชน์ในที่พิพาทโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับเทศบาลตำบลหัวหิน แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเทศบาลหัวหิน มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์มีบุคคลสิทธิต่อเทศบาลตำบลหัวหินในอันที่จะใช้สอยหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ เทศบาลมีอำนาจควบคุม การเช่าไม่สร้างสิทธิเหนือผู้อื่น
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งมี พ.ร.ฎ.กำหนดเป็นเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ดังนั้น เทศบาลตำบลหัวหินจึงเป็นผู้มีอำนาจควบคุมดูแลและหาผลประโยชน์ในที่พิพาทเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทก่อนที่โจทก์ได้ทำสัญญาเช่ากับเทศบาลตำบลหัวหิน การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับเทศบาลตำบลหัวหิน มีผลเพียงแต่ทำให้โจทก์มีบุคคลสิทธิต่อเทศบาลตำบลหัวหินในอันที่จะใช้สอยหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะหวงกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิสั่งจ่ายเช็คหลังเสียชีวิต - สัญญาบุคคลสิทธิระงับ - ความรับผิดทางแพ่งจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคาร โดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวน ในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจากบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดกของ ม.ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของจำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คจากบัญชีหลังผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ถือเป็นการยักยอกมรดก เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตาย
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารโดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวนในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคาร ผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจาก บัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายเงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่ วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดก ของ ม. ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของ จำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือ vs. จ้างเหมาระวาง, อายุความค่าชดใช้เรือเสียเวลา, และภาระการพิสูจน์ผู้ทำสัญญา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้นจะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญหาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่ เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาะระวางบรรทุกของเรือโดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคง เป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรื่องที่ ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่อง ค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้อง เอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่ เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใดกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัทม.ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือและอายุความฟ้องเรียกร้องค่าชดใช้เรือเสียเวลา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา)ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตกัญชาหลายกรรม: แยกพิจารณาผลผลิตจากต้นกัญชาที่ปลูก กับกัญชาที่ไม่ได้พิสูจน์แหล่งที่มา
จำเลยผลิตกัญชาโดยการเพาะปลูกต้นกัญชาประมาณ 400 ต้นและมีกัญชาแห้งหนัก 12 กิโลกรัม กับเมล็ดกัญชาแห้ง 1 ถุง หนัก 1 กิโลกรัมไว้ในครอบครอง ดังนี้เห็นได้ว่าเฉพาะแต่ต้นกัญชาจำนวน 25 ต้น เท่านั้น ที่ถือว่าเป็นผลที่เกิดจากการผลิตกัญชาโดยการปลูกของจำเลย แต่สำหรับกัญชาแห้งหนัก12 กิโลกรัม กับเมล็ดกัญชาแห้ง 1 ถุง หนัก 1 กิโลกรัม เมื่อไม่ปรากฏว่าคือส่วนหนึ่งของผลผลิตซึ่งเกิดจากต้นกัญชาที่จำเลยปลูก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตกัญชาและการครอบครองยาเสพติดเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยผลิตกัญชาโดยการเพาะปลูกต้นกัญชาประมาณ 400 ต้นและมีกัญชาแห้งหนัก 12 กิโลกรัม กับเมล็ดกัญชาแห้ง 1 ถุงหนัก 1 กิโลกรัม ไว้ในครอบครอง ดังนี้เห็นได้ว่าเฉพาะแต่ต้นกัญชาจำนวน 25 ต้น เท่านั้น ที่ถือว่าเป็นผลที่เกิดจากการผลิตกัญชาโดยการปลูกของจำเลย แต่สำหรับกัญชาแห้งหนัก12 กิโลกรัม กับเมล็ดกัญชาแห้ง 1 ถุง หนัก 1 กิโลกรัมเมื่อไม่ปรากฏว่าคือส่วนหนึ่งของผลผลิตซึ่งเกิดจากต้นกัญชาที่จำเลยปลูก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน