พบผลลัพธ์ทั้งหมด 221 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: อายุความ, ลูกหนี้ร่วม, และข้อยกเว้นการฟ้อง
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย และบทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296 โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมและเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12
การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรสโดยการซื้อร่วมและยกให้โดยเสน่หา การพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะได้มา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีและภริยากันได้ร่วมกับ ฉ. ซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ ฉ. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ต่อมา ฉ. ได้โอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยแต่ผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไม่ได้ร่วมกันซื้อ แต่ ฉ. เป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ดังนั้น ประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว และจำเลยได้มาโดยการซื้อร่วมกับโจทก์หรือได้รับการยกให้โดยเสน่หาจาก ฉ. จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทจำเลยรับโอนมาจาก ฉ. โดยเสน่หาและเป็นสินสมรส จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนที่ดินโดยเสน่หา และการซื้อร่วมกัน ถือเป็นประเด็นที่ศาลวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีและภริยากันได้ร่วมกับนายฉายซื้อที่ดินพิพาท โดยใส่ชื่อนายฉายเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายฉายได้โอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยแต่ผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไม่ได้ร่วมกันซื้อ แต่นายฉายเป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียว และภายหลังต่อมาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ดังนั้น ประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวและจำเลยได้มาโดยการซื้อร่วมกับโจทก์หรือได้รับการยกให้โดยเสน่หาจากนายฉาย จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทจำเลยรับโอนมาจากนายฉายโดยเสน่หาและเป็นสินสมรสจึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8009/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการนับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) บัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญา โดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมตามเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ห้ามเรื่องการนับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกัน กรณีจึงเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้นับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกับระยะเวลาฝึกอบรมของคดีอื่นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรได้รับการฝึกอบรมสั่งสอนและสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีและให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชนเป็นคน ๆ ไป ตามมาตรา 82 ของกฎหมายดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรจะให้จำเลยที่ 1 ฝึกอบรมต่อเนื่องกับการฝึกอบรมในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นแล้วก็มีอำนาจที่จะพิพากษาหรือมีคำสั่งได้โดยการฝึกอบรมต้องไม่ให้ระยะเวลาเกินกว่าจำเลยที่ 1 มีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ศาลชั้นต้นกำหนด และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูงไม่เกิน 6 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 121 (2) แต่จำเลยมีสิทธิขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ซึ่งจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอนุญาตแล้ว การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ไม่จำต้องขออนุญาตให้ยกคำร้องแล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาจึงให้ยกฎีกา ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ของจำเลยและสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณา แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7546/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูงไม่เกิน 6 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 (2) แต่จำเลยมีสิทธิขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ซึ่งจำเลยได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและ ครอบครัวอนุญาตแล้ว การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ ไม่จำต้องขออนุญาต ให้ยกคำร้องแล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา ศาลฎีกาจึงให้ยกฎีกา ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว และยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ของจำเลยและสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณาแล้วให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7483/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ กรณีร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเอง แม้มีการถอนคำร้องของผู้อื่น
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านผู้คัดค้านที่ 1 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ แม้ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จะใช้ข้อความว่า ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยรับความยินยอมของโจทก์ (ผู้ร้อง) นั้น ก็เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านที่ 2 ร้องสอดใช้สิทธิของตนเองเพื่อโต้แย้งกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มิใช่มาตรา 57 (2) จึงสามารถใช้สิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 แม้ต่อมาผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องและคำคัดค้านและศาลจะได้สั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จากสารบบความก็คงมีผลเฉพาะคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีคำร้องและคำคัดค้านเดิมตามลำดับที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้คำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7483/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์กรณีมีการร้องสอด และการพิจารณาคำร้องของผู้เยาว์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านผู้คัดค้านที่ 1 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ แม้ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จะใช้ข้อความว่า ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยได้รับความยินยอมของโจทก์ (ผู้ร้อง) นั้น ก็เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านที่ 2 ร้องสอดใช้สิทธิของตนเองเพื่อโต้แย้งกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มิใช่มาตรา 57 (2) จึงสามารถใช้สิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 แม้ต่อมาผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องและคำคัดค้านและศาลจะได้สั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จากสารบบความก็คงมีผลเฉพาะคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีคำร้องและคำคัดค้านเดิมตามลำดับที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้คำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาแก้ข้อเท็จจริงในคดีเยาวชน เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 66 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดระยอง มีกำหนด 1 ปี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) , 67 (ที่แก้ไขใหม่) และ 102 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ลงโทษจำคุก 1 ปี 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้มาก แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: สัญญาประนีประนอมต้องดำเนินการตามกฎหมายให้ถูกต้องก่อนจึงมีผล
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย มีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู? และข้อ 3 ระบุว่า? จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้