คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกาศ บูรพางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ปัญหาข้อกฎหมาย, การบอกเลิกสัญญา, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, บัญชีเดินสะพัด
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา249 วรรคสอง
จำเลยฎีกาอ้างว่า โจทก์คิดยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันไม่ถูกต้อง แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและขอถอนหลักประกันคืน เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้ และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทไม่มีข้อห้ามจำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ดังนั้น สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเลิกกันในวันที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินตกเป็นสมบัติวัดเมื่อพระภิกษุถึงแก่กรรม การโอนขายโดยวัดจึงเป็นโมฆะ
แม้จำเลยที่ 2 จะได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับพระภิกษุส. ไว้แล้ว ตั้งแต่ปี 2528 และชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่พระภิกษุ ส. ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 จนพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพในปี 2530 เมื่อชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของพระภิกษุ ส. อยู่ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ส. ที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623ให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาในขณะที่พระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ดังนั้นเมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดศรีบุญเรืองตามกฎหมายและถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดศรีบุญเรืองด้วย ตาม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33(2)กรณีต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา 34ซึ่งบัญญัติให้ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติฯ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องสิทธิอันเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ ดังนั้น จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส.หรือวัดศรีบุญเรืองจึงไม่มีอำนาจทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลใด ๆได้ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150นิติกรรมดังกล่าวจึงเสียเปล่ามาแต่แรกโดยศาลไม่จำเป็นต้องเพิกถอน และโจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1หรือวัดศรีบุญเรืองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและชำระราคาแก่พระภิกษุ ส.ครบถ้วนแล้วได้เพราะวัดศรีบุญเรืองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามีฐานะเป็นวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ จึงเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72(1)ต่างหากจากพระภิกษุ ส. ผู้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับพระภิกษุ ส. และชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6322/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าต้องพิสูจน์ได้ การยิงขณะหลบหนีไม่ถึงขั้นพยายามฆ่า
ขณะที่จำเลยวิ่งหลบหนีสิบตำรวจตรี ส. และพลตำรวจ ส. จำเลยหันมายิงปืนใส่เจ้าพนักงานตำรวจทั้งสอง1 นัด เพื่อให้พ้นจากการจับกุม จากนั้นหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้โดยมิได้ยิงปืนใส่เจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองอีกเช่นนี้ จะฟังว่าการยิงปืนของจำเลยดังกล่าวเป็นการจ้องเล็งปืนยิงตรงไปยังเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองโดยมีเจตนาฆ่าหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีอาญาโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ: แสงสว่างไม่เพียงพอและไม่เคยรู้จักจำเลย
ผู้เสียหายเห็นคนร้ายโดยอาศัยแสงเทียนเล่มเล็ก ๆ เล่มเดียวซึ่งไม่น่าจะมีแสงสว่างเพียงพอในที่เกิดเหตุ ผู้เสียหายไม่เคยเห็นหน้าและไม่รู้จักจำเลยมาก่อนไม่น่าเชื่อว่าผู้เสียหายจะจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้าย ดังนั้น การเห็นภาพถ่ายจำเลยและชี้ตัวจำเลยว่าเป็นคนร้ายจึงไม่อาจรับฟังสนับสนุนคำเบิกความของผู้เสียหายได้กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6304/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อจำเลยในคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวจำเลย หากกระทำก่อนยื่นคำให้การ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องบริษัทสยามพัฒนา จำกัด เป็นจำเลยที่ 2ให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นบริษัทสยามพัฒนาเซอร์วิส (1988) จำกัด เมื่อพ้นกำหนดเวลา1 ปี แล้ว แต่เป็นเวลาก่อนจำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การซึ่งโจทก์มีสิทธิกระทำได้ เพราะเป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับชื่อคู่ความที่โจทก์ฟ้องในระหว่างส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแก่คู่ความ ไม่มีกฎหมายห้าม ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นคำฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินที่ถูกล้อม – การพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ดินของโจทก์ตามโฉนดเลขที่ 50352 ซึ่งอยู่ท้ายซอยสุดของทางพิพาท ถูกที่ดินแปลงอื่นของบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนภายในหมู่บ้านและออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียว ฉะนั้น โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคแรก โจทก์จึงชอบที่จะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ที่ดินของโจทก์ตามโฉนดเลขที่ 50352 ซึ่งอยู่ท้ายซอยสุดของทางพิพาท ถูกที่ดินแปลงอื่นของบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนภายในหมู่บ้านและออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียว ฉะนั้น โดยนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคแรก โจทก์จึงชอบที่จะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา421 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้บริการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไม่ครอบคลุมความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากทรัพย์สินถูกโจรกรรม ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิรับช่วง
ตามสัญญาให้บริการเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จะต้องให้บริการเป็นผู้ประสานงานส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่ระบุไว้เพื่อขอความช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และเมื่อปรากฏว่าเครื่องส่งสัญญาณเอส.โอ.เอส. ที่จำเลยที่ 2 ติดตั้งไว้ที่เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท. ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ข้อมูลของจำเลยที่ 2 เนื่องจากถูกคนร้ายงัดทำลายเข้าไปในเครื่องบริการเงินด่วนแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2ละเลยไม่แจ้งเหตุร้ายต่อไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อขอความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาต่อธนาคาร ท. ผู้ซื้อบริการ แต่การที่จำเลยที่ 2 ละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อธนาคาร ท. คู่สัญญาเพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยวินาศภัยในความเสียหายของเงินสดในเครื่องบริการเงินด่วน ของธนาคาร ท. ที่ถูกคนร้ายลักไป ได้ใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาว่าหากจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ท. สัญญาให้บริการเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคาร ท. เพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัญญา ที่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคาร ท.ในกรณีที่ทรัพย์สินของธนาคารถูกโจรกรรม ธนาคาร ท.คงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 3 ที่กำหนดให้ธนาคาร ท. ได้รับการประกันตามขอบข่ายของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ค.ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุว่า ธนาคาร ท.ผู้ใช้บริการเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้น ธนาคาร ท.จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไปได้ และโจทก์ย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคาร ท. มาฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาและการรับช่วงสิทธิจากสัญญาให้บริการ การชดใช้ค่าเสียหายจากความผิดสัญญา
ตามสัญญาให้บริการเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จะต้องให้บริการเป็นผู้ประสานงานส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่ระบุไว้เพื่อขอความช่วยเหลือที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และเมื่อปรากฏว่าเครื่องส่งสัญญาณ เอส.โอ.เอส. ที่จำเลยที่ 2 ติดตั้งไว้ที่เครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท.ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังศูนย์ข้อมูลของจำเลยที่ 2เนื่องจากถูกคนร้ายงัดทำลายเข้าไปในเครื่องบริการเงินด่วนแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ละเลยไม่แจ้งเหตุร้ายต่อไปยังสถานีตำรวจท้องที่เพื่อขอความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติผิดสัญญาต่อธนาคาร ท.ผู้ซื้อบริการ
แต่การที่จำเลยที่ 2 ละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อธนาคาร ท.คู่สัญญา เพราะการละเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาในกรณีดังกล่าวมิได้เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่น เป็นเหตุให้เขาเสียหายตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยวินาศภัยในความเสียหายของเงินสดในเครื่องบริการเงินด่วนของธนาคาร ท.ที่ถูกคนร้ายลักไป ได้ใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยไปแล้วมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาว่าหากจำเลยที่ 2 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ท.สัญญาให้บริการเป็นเพียงสัญญาให้บริการแก่ธนาคาร ท.เพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมทรัพย์สินของธนาคารอีกทางหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคาร ท.ในกรณีที่ทรัพย์สินของธนาคารถูกโจรกรรม ธนาคาร ท.คงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 3 ที่กำหนดให้ธนาคาร ท.ได้รับการประกันตามขอบข่ายของกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท ค.ซึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุว่า ธนาคาร ท.ผู้ใช้บริการเป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้นธนาคาร ท. จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหายตามจำนวนเงินที่ถูกคนร้ายลักไปได้ และโจทก์ย่อมไม่อาจรับช่วงสิทธิของธนาคาร ท.มาฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเนื้อที่ดินในการซื้อขาย ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ และมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยโดยโจทก์ไม่เคยไปดูที่ดินที่ซื้อ จำเลยยืนยันว่าที่ดินมีเนื้อที่ตรงตาม ส.ค.1 ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงเป็นการหลอกลวงฉ้อฉลโจทก์ให้เข้าทำสัญญา หากไม่มีการหลอกลวงโจทก์จะไม่เข้าทำสัญญา สัญญาจะซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โจทก์มีสิทธิบอกล้างตามมาตรา 175(3)
of 19