คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกาศ บูรพางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทิน ทำให้จำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ แม้เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
แม้ว่าตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยจะได้ความว่าก่อนกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพยายามฆ่า ให้จำคุก13 ปี 4 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2530 ก็ตาม แต่จำเลยก็ได้รับโทษและพ้นโทษมาแล้วเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535 จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ที่บัญญัติให้ถือว่าจำเลยมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดที่ได้กระทำก่อนหรือในวันที่9 มิถุนายน 2539 และพ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ดังนั้น กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56ที่ศาลจะพิจารณารอการลงโทษให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน: การพิพากษาปรับบทลงโทษกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง,89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันให้ลงโทษฐานขายเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ สิบตำรวจตรีหญิง ว.กับสายลับได้เข้าไปขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำนวน 4 เม็ด โดยมีร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกซุ่มรออยู่นอกโกดัง จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากโกดังไปประมาณ15 นาที จึงกลับเข้ามาและมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว. แต่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ขอรับไว้เพียง 2 เม็ด โดยอ้างว่าเอาเงินมาไม่พอและมอบธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่เตรียมไว้ใช้ในการล่อซื้อให้แก่จำเลยต่อมาสิบตำรวจตรีหญิง ว.กับร้อยตำรวจเอก ก.และพวกได้เข้าจับกุมจำเลยและค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด กับธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่ใช้ในการล่อซื้อจากตัวจำเลย ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน เนื่องจากจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ไปก่อนจำนวน 2 เม็ด ส่วนเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจยึดได้จากตัวจำเลยในขณะจับกุมอีกจำนวน 2 เม็ด ที่เหลือเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยนำมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ซึ่งการส่งมอบก็เป็นความผิดฐานขายตามกฎหมายเช่นเดียวกันฉะนั้นเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากขายจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันคือ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนนั่นเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62วรรคหนึ่ง, 89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี4 เดือน คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนแต่เพียงบทเดียว เป็นการพิพากษาปรับบทลงโทษความผิดของจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น หาได้เป็นการพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องแบ่งมรดก: เริ่มนับเมื่อจัดการมรดกเสร็จสิ้น แม้ผู้จัดการมรดกไม่ยกอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1620 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1629 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไป ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาท การฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา 1300 มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027 เพียง 2 แปลง โดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใด จำเลยที่ 1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่ 1 จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2027เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอม ดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่ 2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่น ทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 3 ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมา จึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: การจัดการมรดกเสร็จสิ้นเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกของเจ้ามรดกจึงตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1620วรรคหนึ่งและมาตรา1629เมื่อจำเลยที่1ได้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลย่อมมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทต่อไปทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดพิพาทมาก่อนแต่อย่างใดเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นทายาทการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดกโดยมีจำเลยที่1เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเช่นนี้จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติมาตรา1300มาใช้กับกรณีตามฟ้องของโจทก์คดีนี้ได้ เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดพิพาทและที่ดินโฉนดเลขที่2027เพียง2แปลงโดยไม่มีทรัพย์มรดกอื่นใดจำเลยที่1ได้จัดการโอนที่ดินโฉนดพิพาทให้แก่จำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเมื่อวันที่10มกราคม2527โดยทายาทอื่นบางคนก็ทราบและจำเลยที่1จัดการขายที่ดินโฉนดเลขที่2027เมื่อวันที่2มีนาคม2530นำเงินมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ามรดกและแบ่งเงินที่เหลือให้ทายาทบางคนโดยการขายที่ดินนี้ทายาททุกคนซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วยก็ให้ความยินยอมดังนี้ถือได้ว่าการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทของจำเลยที่2นับแต่ได้รับโอนต่อมาเป็นการครอบครองเพื่อตนมิใช่การครอบครองแทนทายาทอื่นทั้งมีการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาทและการจัดการมรดกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2มีนาคม2530ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มนับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการฟ้องขอแบ่งมรดกจำเลยที่3ในฐานะทายาทและเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากจำเลยที่2ในเวลาต่อมาจึงอยู่ในฐานะผู้สืบสิทธิจากจำเลยที่2อีกฐานะหนึ่งด้วยย่อมยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754,1755ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่19กรกฎาคม2536เป็นระยะเวลาเกินกว่า1ปีไม่ว่าจะนับแต่วันที่ถือว่าจำเลยที่2ครอบครองเพื่อตนหรือวันที่จัดการมรดกสิ้นสุดลงดังนี้คดีของโจทก์จึงเป็นอันขาดอายุความตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นและแม้จำเลยที่1และที่2จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่มูลความแห่งคดีมิอาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่3ยกอายุความขึ้นต่อสู้ถือว่าจำเลยที่1และที่2ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้เช่นกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องกรณีตัวการ-ตัวแทน และการระบุตัวผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัย
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 80 - 5080 สมุทรสาคร โดยเป็นนายจ้างหรือเป็นตัวการได้ใช้จ้างวานให้ผู้ขับซึ่งเป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นตัวการ แล้วผู้ขับดังกล่าวได้กระทำละเมิดชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ประการแรกผู้ขับซึ่งเป็นทั้งลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และประการที่สองเป็นตัวแทนซึ่งขับรถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการ เพื่อให้จำเลยที่ 1 รับผิดทั้งสองประการ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 862 วรรคสอง ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยซึ่งระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัย แต่ความหมายของผู้เอาประกันภัยตามกฎหมายต้องเป็นผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยเท่านั้นดังนั้น เมื่อ ส.เป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยจึงเป็นผู้เอาประกันภัย ส่วนที่ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อ ช.บุตร ส. ช.จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ และเมื่อคดีนี้มิได้พิพาทกันเองระหว่างคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ไปแล้วโดยรับช่วงสิทธิมาเนื่องจากรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดวินาศภัยขึ้น การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า ส.เป็นผู้เอาประกันภัย แต่ตามตารางกรมธรรม์มีชื่อ ช.ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบต่างกับคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องและการระบุตัวผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัย
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 80-5080 สมุทรสาคร โดยเป็นนายจ้างหรือเป็นตัวการได้ใช้จ้างวานให้ผู้ขับซึ่งเป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นตัวการ แล้วผู้ขับดังกล่าวได้กระทำละเมิดชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า ประการแรกผู้ขับขี่เป็นทั้งลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และประการที่สองเป็นตัวแทนซึ่งขับรถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการ เพื่อให้จำเลยที่ 1 รับผิดทั้งสองประการ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 วรรคสองผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยซึ่งระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัย แต่ความหมายของผู้เอาประกันภัยตามกฎหมายต้องเป็นผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยเท่านั้น ดังนั้น เมื่อ ส. เป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยจึงเป็นผู้เอาประกันภัย ส่วนที่ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อ ช.บุตรส.ช.จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ และเมื่อคดีนี้มิได้พิพาทกันเองระหว่างคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ไปแล้วโดยรับช่วงสิทธิมาเนื่องจากรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดวินาศภัยขึ้น การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าส.เป็นผู้เอาประกันภัยแต่ตามตารางกรมธรรม์มีชื่อช.ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบต่างกับคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อระบุความสัมพันธ์ของจำเลยกับผู้กระทำละเมิด และการรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน80-5080สมุทรสาครโดยเป็นนายจ้างหรือเป็นตัวการได้ใช้จ้างวานให้ผู้ขับซึ่งเป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่1เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ในฐานะเป็นตัวการแล้วผู้ขับดังกล่าวได้กระทำละเมิดชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าประการแรกผู้ขับขี่เป็นทั้งลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่1และประการที่สองเป็นตัวแทนซึ่งขับรถโดยมีจำเลยที่1เป็นตัวการเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1ในฐานะตัวการเพื่อให้จำเลยที่1รับผิดทั้งสองประการจึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา862วรรคสองผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยซึ่งระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์อาจเป็นคนละคนกับผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยแต่ความหมายของผู้เอาประกันภัยตามกฎหมายต้องเป็นผู้ที่ส่งเบี้ยประกันภัยเท่านั้นดังนั้นเมื่อส. เป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยจึงเป็นผู้เอาประกันภัยส่วนที่ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อช.บุตรส. ช.จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์และเมื่อคดีนี้มิได้พิพาทกันเองระหว่างคู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยแต่เป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ไปแล้วโดยรับช่วงสิทธิมาเนื่องจากรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้เกิดวินาศภัยขึ้นการที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าส.เป็นผู้เอาประกันภัยแต่ตามตารางกรมธรรม์มีชื่อช.ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบต่างกับคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัย: การยกเว้นความรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ใบอนุญาตหมดอายุ แต่ความเสียหายมิใช่จากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่เพียงใดโดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อนก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลยและผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า180วันและขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่าตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ1.10และ3.9.2เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยานศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษาดังนี้กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่นๆแล้วทั้งตามคำให้การของจำเลยจำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้นกรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วและหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่ ตามตารางกรมธรรม์ข้อ1.10มีข้อความว่า"บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้"ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุกๆข้อและรวมถึงข้อ3.9ตอนท้ายด้วยและข้อ3.9.2มีข้อความว่า"การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใดๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน180วันฯลฯในเวลาเกิดอุบัติเหตุ"และตอนท้ายของข้อ3.9มีข้อความว่า"การยกเว้นตามข้อ3.9จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้"ดังนี้เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน180แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ตามตารางกรมธรรม์ข้อ1.10ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: การยกเว้นความรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ขาดต่ออายุใบอนุญาต แต่ความเสียหายมิใช่จากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด โดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อน ก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลย และผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน และขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.10 และ 3.9.2 เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่น ๆ แล้ว ทั้งตามคำให้การของจำเลย จำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่า ผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาท ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้น กรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น จึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วและหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่ ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 มีข้อความว่า "บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้"ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุก ๆ ข้อและรวมถึง ข้อ 3.9 ตอนท้ายด้วย และข้อ 3.9.2 มีข้อความว่า"การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน 180 วัน ฯลฯ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ"และตอนท้ายของข้อ 3.9 มีข้อความว่า "การยกเว้นตามข้อ 3.9จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้"ดังนี้ เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน 180 แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ ตามตารางกรมธรรม์ข้อ 1.10 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีผู้ขับขี่ขาดต่ออายุใบอนุญาต แต่ความเสียหายมิใช่เกิดจากความประมาท
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด โดยกำหนดให้โจทก์นำสืบก่อน ก่อนสืบพยานโจทก์คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้เอาประกันภัยรถยนต์พิพาทไว้แก่จำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยท้ายคำแถลงของจำเลย และผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกินกว่า 180 วัน และขอให้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายว่า ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวเข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.10 และ 3.9.2 เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงได้นัดฟังคำพิพากษา ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่น ๆ แล้ว ทั้งตามคำให้การของจำเลย จำเลยก็มิได้อ้างเหตุว่า ผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาท ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้ไม่ได้ขับรถโดยประมาทนั้น กรณีจึงเป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น จึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว และหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปหรือนอกเหนือจากคำฟ้องไม่
ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 มีข้อความว่า "บริษัทอาจจะไม่รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัย และเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์นี้" ซึ่งมีความหมายรวมถึงเงื่อนไขตามข้อกำหนดของสัญญาทุก ๆ ข้อ และรวมถึง ข้อ 3.9 ตอนท้ายด้วย และข้อ3.9.2 มีข้อความว่า "การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆหรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกิน 180 วัน ฯลฯ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ" และตอนท้ายของข้อ 3.9 มีข้อความว่า "การยกเว้นตามข้อ 3.9 จะไม่นำมาใช้ในกรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้" ดังนี้ เมื่อผู้ขับรถที่เอาประกันภัยไว้แม้จะขาดต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์เกิน 180 วัน แต่กรณีที่ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นและมิใช่เป็นความประมาทของผู้ขับ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ ตามตารางกรมธรรม์ ข้อ 1.10 ต่อโจทก์
of 19