พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงรับรองฎีกา และความผิดฐานฉ้อโกงจากสัญญาซื้อขายหุ้น
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำเข้าทองคำโดยไม่เสียภาษีและการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่ไม่ชัดเจน
จำเลยที่ 2 รับว่าทองคำแท่งที่หมายเลขกำกับและอักษรแสดงประเทศผู้ผลิตถูกทำลายไปจำนวน 30 แท่งของกลางที่ยึดไว้นั้นเป็นของตน แม้จำเลยที่ 2 จะนำหลักฐานใบเสร็จรับเงินที่ซื้อจากบริษัทต่าง ๆ มาแสดงก็ตาม ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าหมายเลขกำกับตามที่จำเลยที่ 2 อ้างนั้นตรงกับหมายเลขกำกับในทองคำแท่งของกลาง ประกอบกับการนำทองคำแท่งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยชอบนั้น สาระสำคัญต้องมีหมายเลขกำกับเพื่อให้ตรวจสอบในใบขนสินค้าและระบุกำเนิดประเทศผู้ผลิตอีกด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าทองคำแท่งของกลางไม่ใช่ทองคำแท่งจำนวนเดียวกับที่จำเลยที่ 2 ซื้อมา ทองคำแท่งของกลางจึงเป็นทองคำแท่งที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต ทั้งกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ จึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึดเพราะไม่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าว ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 100 ที่จำเลยทั้งสองจะต้องพิสูจน์ว่าของกลางดังกล่าวได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้วหรือได้นำเข้ามาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยทั้งสองนำสืบไม่ได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ในการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ
ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ จำเลยแถลงร่วมกันว่าให้สืบพยาน ข.ปลัดอำเภอผู้กระทำการแทนนายอำเภอ ในขณะทำพินัยกรรมฉบับพิพาทในประเด็นเดียวว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับที่จำเลยอ้างหรือไม่ หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับดังกล่าวและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงแล้วโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การจำเลยและโจทก์ยอมแพ้คดี แต่หากพยานเบิกความว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมและพินัยกรรมฉบับดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอมแล้วจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้คดี ปรากฏว่า ข.เบิกความว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองให้ผู้ตายและพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริง ดังนี้ แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมที่ทำนอกสถานที่โดย ข.ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอในขณะที่นายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่อยู่จึงมิได้ทำพินัยกรรมโดยฐานะเป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอก็ตาม และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1658 บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ เป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองก็ตาม แต่เมื่อไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ในที่ใดว่านายอำเภอหรือผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอจะมอบหมายหรือสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดดำเนินการแทนไม่ได้ และเมื่อนายอำเภอได้สั่งให้ ข.ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภอ อันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข.ย่อมมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ดังนั้น พินัยกรรมฉบับพิพาทจึงเป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่แท้จริงสมตามคำท้าของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทำพินัยกรรมของปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
นายอำเภอสั่งให้ ข. ปลัดอำเภอซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนอกที่ว่าการอำเภอแทนนายอำเภออันเป็นการสั่งตามอำนาจหน้าที่ในทางราชการ ข. จึงมีอำนาจหน้าที่ทำพินัยกรรมตามคำสั่งของนายอำเภอได้ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, การรับรองพยาน, และการเปลี่ยนแปลงตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามความตกลงการขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยกำหนดวงเงินสินเชื่อตามสัญญาซึ่งมีจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม โดยได้กล่าวถึงรายละเอียดของตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับว่า เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินเลขที่เท่าใด จำนวนเงินเท่าใด อัตราดอกเบี้ยเท่าใด ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อใด ฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ชำระต้นเงินให้โจทก์บางส่วนแล้ว และจำเลยที่ 1 เริ่มผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดตั้งแต่เมื่อใด และเมื่อครบกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน คงค้างชำระต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่พิพาทเป็นเงินเท่าใด ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดที่จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์แล้วหรือเมื่อถึงกำหนดใช้เงินแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้โจทก์แทนแล้วนั้นไม่จำต้องกล่าวในฟ้องอีก เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องโจทก์เพียงฉบับเดียว ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินอีก 5 ฉบับ จำเลยไม่ปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสามเข้าใจฟ้องของโจทก์ดีแล้วไม่ได้หลงข้อต่อสู้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา172 วรรคสอง จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงการขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง-ธนบุรี จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินที่จังหวัดระยองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1โจทก์จึงอาจยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามได้ที่ศาลแพ่งหรือศาลแพ่งธนบุรีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และถ้าถือว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามที่จำเลยทั้งสามฎีกา โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้อีกศาลหนึ่ง เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นขึ้นไป และคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งมีเขตศาลดังที่กล่าวข้างต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5 ดังนี้ ศาลแพ่งไม่จำต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็มีอำนาจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้
เอกสารหมาย จ.34 เป็นใบแจ้งหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม โดยหักจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนออกแล้วการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 มอบแก่โจทก์โดยระบุจำนวนเงินเท่ากับยอดหนี้ในเอกสารหมาย จ.34 ให้โจทก์ไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมที่ถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับเงินจากโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมายจ.14 ตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 ก็มีมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม และแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการคืนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมแก่จำเลยที่ 1 มาแสดง พยานหลักฐานโจทก์ก็รับฟังได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.14 แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมมาฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 อีก
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกถึงวันนัดครั้งสุดท้ายเป็นเวลา 7 เดือนเศษ พยานจำเลยทั้งสามมีจำเลยที่ 2 เบิกความเพียงปากเดียวยังไม่สิ้นกระแสความ ส่วนจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้เข้าเบิกความเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ต่างขอเลื่อนคดี อ้างเหตุเจ็บป่วยบ้าง มีธุรกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศบ้าง และเปลี่ยนทนายจำเลยบ้าง หลายครั้งหลายหน ทั้ง ๆ ที่ทนายจำเลยทั้งสามได้ให้คำรับรองต่อศาลว่าจะนำพยานมาสืบให้เสร็จ หากไม่มีพยานมาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ การขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์ประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีอีก และถือว่าหมดพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
ในระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามฉ้อโกงโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนสอบสวนแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่เมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและข้อเท็จจริงตามสำนวนสอบสวนก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความในชั้นศาลปัญหาว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ย่อมอาศัยข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยทั้งสามนำสืบในคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวนสอบสวนคดีอาญา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมอ้างผลคดีอาญาในสำนวนการสอบสวนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงการขายลดตั๋วเงินและสัญญาวงเงินสินเชื่อกับโจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ในกรุงเทพมหานคร มูลคดีจึงเกิดในเขตอำนาจของศาลแพ่ง จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง-ธนบุรี จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินที่จังหวัดระยองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1โจทก์จึงอาจยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามได้ที่ศาลแพ่งหรือศาลแพ่งธนบุรีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และถ้าถือว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามที่จำเลยทั้งสามฎีกา โจทก์ก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดระยองได้อีกศาลหนึ่ง เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้นขึ้นไป และคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคำฟ้องที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งมีเขตศาลดังที่กล่าวข้างต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5 ดังนี้ ศาลแพ่งไม่จำต้องใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็มีอำนาจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้
เอกสารหมาย จ.34 เป็นใบแจ้งหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม โดยหักจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนออกแล้วการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 มอบแก่โจทก์โดยระบุจำนวนเงินเท่ากับยอดหนี้ในเอกสารหมาย จ.34 ให้โจทก์ไว้ จึงถือได้ว่าเป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เพื่อชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมที่ถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้รับเงินจากโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมายจ.14 ตั๋วสัญญาใช้เงินตามเอกสารหมาย จ.14 ก็มีมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน5 ฉบับเดิม และแม้โจทก์จะไม่มีหลักฐานการคืนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมแก่จำเลยที่ 1 มาแสดง พยานหลักฐานโจทก์ก็รับฟังได้ และเมื่อจำเลยที่ 1ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.14 แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงิน 5 ฉบับเดิมมาฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 อีก
นับตั้งแต่วันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกถึงวันนัดครั้งสุดท้ายเป็นเวลา 7 เดือนเศษ พยานจำเลยทั้งสามมีจำเลยที่ 2 เบิกความเพียงปากเดียวยังไม่สิ้นกระแสความ ส่วนจำเลยที่ 3 ยังไม่ได้เข้าเบิกความเพราะจำเลยที่ 2และที่ 3 ต่างขอเลื่อนคดี อ้างเหตุเจ็บป่วยบ้าง มีธุรกิจต้องเดินทางไปต่างประเทศบ้าง และเปลี่ยนทนายจำเลยบ้าง หลายครั้งหลายหน ทั้ง ๆ ที่ทนายจำเลยทั้งสามได้ให้คำรับรองต่อศาลว่าจะนำพยานมาสืบให้เสร็จ หากไม่มีพยานมาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน ดังนี้ การขอเลื่อนคดีของจำเลยทั้งสามมีพฤติการณ์ประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีอีก และถือว่าหมดพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
ในระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามฉ้อโกงโจทก์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนสอบสวนแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่เมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาและข้อเท็จจริงตามสำนวนสอบสวนก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความในชั้นศาลปัญหาว่าจำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ย่อมอาศัยข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยทั้งสามนำสืบในคดีนี้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงในสำนวนสอบสวนคดีอาญา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมอ้างผลคดีอาญาในสำนวนการสอบสวนดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การครอบครองและบุกรุกที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์โดยไม่ชอบ
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม ดังนี้ จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้าน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 (2) แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม ดังนี้ จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใด จำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การบุกรุกครอบครองและสิทธิในที่ดิน แม้ยังไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ900ไร่มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามดังนี้จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีและการถือว่าคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อไม่ฎีกาภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2กุมภาพันธ์2538โดยได้มีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทั้งสองทราบนัดโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลที่สำนักทำการงานเมื่อวันที่29ธันวาคม2537ทั้งแจ้งวันนัดให้จำเลยที่1และที่2ทราบโดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามฟ้องด้วยเมื่อวันที่15มกราคม2538แต่ปรากฎว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มาฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้วเมื่อปิดหมายแจ้งวันนัดให้ทราบตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยวิธีอื่นแทนทำให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่ได้ปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา79วรรคสองฉะนั้นสำหรับทนายจำเลยทั้งสองจึงต้องถือว่าได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยชอบตั้งแต่วันที่มกราคม2538ส่วนจำเลยที่1และที่2ถือว่าได้ทราบวันนัดโดยชอบตั้งแต่วันที่31มกราคม2538เมื่อคู่ความไม่มีฝ่ายใดมาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2กุมภาพันธ์2538การที่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งรายงานไว้ด้านหลังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้งดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโดยชอบด้วยกฎหมายในวันที่2กุมภาพันธ์2538นั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา140(3)วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุดนับแต่วันที่3มีนาคม2538เป็นต้นมาแล้วการที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่26มิถุนายน2538ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่และเมื่อจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งขณะนั้นคดีมิได้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจทั่วไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยการปิดหมายและการถือว่าคู่ความทราบวันนัดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่2 กุมภาพันธ์ 2538 โดยได้มีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ทนายจำเลยทั้งสองทราบนัดโดยการปิดหมายตามคำสั่งศาลที่สำนักทำการงานเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2537 ทั้งแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบ โดยการปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามฟ้องด้วยเมื่อวันที่ 15 มกราคม2538 แต่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มาฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านโดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อการปิดหมายแจ้งวัดนัดให้ทราบตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยวิธีอื่นแทน ทำให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่ได้ปิดหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ฉะนั้นสำหรับทนายจำเลยทั้งสองจึงต้องถือว่าได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยชอบตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2538 ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2ถือว่าได้ทราบวันนัดโดยชอบตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2538 เมื่อคู่ความไม่มีฝ่ายใดมาศาลในวันนัดฟังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2538 การที่ศาลชั้นต้นได้จดแจ้งรายงานไว้ด้านหลังคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้งดการอ่าน โดยถือว่าได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสองฟังโดยชอบด้วยกฎหมายในวันที่ 2กุมภาพันธ์ 2538 นั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) วรรคสองแล้วเมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้น คำพิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุดนับแต่วันที่ 3 มีนาคม 2538 เป็นต้นมาแล้ว การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2538 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองซึ่งถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งขณะนั้นคดีมิได้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งคำร้องของจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจทั่วไปตามลำดับชั้นศาล