พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีร่วมกันของโจทก์หลายคน แม้ค่าเสียหายต่างกัน ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาหากมูลเหตุเกิดจากการกระทำละเมิดเดียวกัน
แม้ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองจะแยกต่างหากจากกันได้และค่าเสียหายในส่วนของโจทก์ที่ 2 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน40,000 บาท ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงก็ตามแต่มูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ในคราวเดียวกันโจทก์ทั้งสองย่อมมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์ทั้งสองจึงฟ้องคดีร่วมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับและหลักการบัญชี
โจทก์ได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ จำเลยก็มีหนังสือให้คำแนะนำแก่โจทก์ตามคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีเรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ แนะนำให้โจทก์จัดสรรเป็นเงินสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และจัดสรรเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว กำไรสุทธิที่เหลือให้สมทบเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแนะนำการปฏิบัติให้โจทก์ทราบดังกล่าวแล้ว และตามข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 33 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ว่า ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้... (14) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ฯลฯ แต่ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย โดยในการประชุมใหญ่เพื่อจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ได้ลงมติให้นำกำไรสุทธิมาจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งราคาสินค้าที่สมาชิกได้ซื้อร้อยละ 4 จ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการดำเนินการผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 5 จ่ายเป็นทุนส่งเสริมสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ร้อยละ 10 และจ่ายเป็นทุนรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 นอกเหนือจากที่จำเลยแนะนำไว้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่ามติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ เพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชีของสหกรณ์ที่มีการเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ข้อ 33 (14) จำเลยจึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2511มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์นั้นจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์สั่งโดยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 46 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้นโดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยในฐานะนายทะเบียนหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์นั้นจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์สั่งโดยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 46 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้นโดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยในฐานะนายทะเบียนหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อแนะนำทางบัญชีและการไม่ขาดอายุความ
มติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์โจทก์เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชีเพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชีของสหกรณ์เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้น โดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความ
คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์โดยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้น โดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล จำเลยหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าวก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่าจำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ทั้งการกระทำของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายทะเบียนสหกรณ์ในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและหลักการบัญชี
โจทก์ได้มีหนังสือขอความเห็นชอบในการจัดสรรกำไรสุทธิ ประจำปี 2537 ต่อจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์ จำเลย ก็มีหนังสือให้คำแนะนำแก่โจทก์ตามคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การ เอาประกันและ การจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ แนะนำให้โจทก์จัดสรร เป็นเงินสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย และจัดสรรเป็นเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว กำไรสุทธิที่เหลือ ให้สมทบเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแนะนำ การปฏิบัติให้โจทก์ทราบดังกล่าวแล้ว และตามข้อบังคับของโจทก์ ข้อ 33 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมใหญ่ว่า ที่ประชุมใหญ่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหาทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกิจการของสหกรณ์ซึ่งรวมทั้งในข้อต่อไปนี้ (14) พิเคราะห์และปฏิบัติตามข้อบันทึกของนายทะเบียนสหกรณ์ ฯลฯ แต่ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์กลับไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำ ของจำเลย โดยในการประชุมใหญ่เพื่อจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี 2537 ได้ลงมติให้นำกำไรสุทธิมาจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนตามส่วน แห่งราคาสินค้าที่สมาชิกได้ซื้อร้อยละ 4 จ่ายเป็นเงินโบนัส แก่กรรมการดำเนินการผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ร้อยละ 5จ่ายเป็นทุนส่งเสริมสวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ร้อยละ 10 และจ่ายเป็นทุนรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลร้อยละ 10 นอกเหนือจากที่จำเลยแนะนำไว้ ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่ามติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลย ซึ่งเป็นคำแนะนำการปฏิบัติทางบัญชี เรื่อง การเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรของสหกรณ์ เพื่อให้การปฏิบัติทางบัญชี ของสหกรณ์ที่มีการเอาประกันและการจำหน่ายทรัพย์สินถาวรเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ทั้งชอบด้วยหลักการของสหกรณ์ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยเห็นว่ามติของที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อแนะนำของจำเลยโดยชัดแจ้ง อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ข้อ 33(14)จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 46 สั่งเพิกถอนมตินั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์นั้นจำเลยในฐานะนายทะเบียนสหกรณ์สั่งโดยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 46 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับแก่สหกรณ์จำกัดเท่านั้นโดยมุ่งประโยชน์เพื่อควบคุมดูแล กำกับให้การดำเนินการของสหกรณ์จำกัดทุกแห่งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวลจำเลยในฐานะนายทะเบียนหาได้มีผลประโยชน์ใด ๆ ในสหกรณ์จำกัดไม่ ระยะเวลาในการเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์ จึงไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 และเมื่อจำเลยได้เพิกถอนมติดังกล่าว ก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2538 ของโจทก์ กรณีถือได้ว่า จำเลยได้ดำเนินการภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งการกระทำ ของจำเลยก็มิใช่เป็นการมิได้ใช้บังคับซึ่งสิทธิเรียกร้อง ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 จึงไม่ขาดอายุความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเล่นแชร์: ความผูกพันตามข้อตกลงและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วย่อมมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนคือสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ การที่จำเลยประมูลแชร์ได้แล้วสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ที่ยังประมูลไม่ได้เช็คนั้นจึงมีมูลหนี้ต่อกันจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6(1) ถึง (4) เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันกฎหมายฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง อันเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น จึงต้องมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมายการชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7285/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันสัญญาประมูลแชร์และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.เล่นแชร์
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วย่อมมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนคือสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ การที่จำเลยประมูลแชร์ได้แล้วสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ เช็คนั้นจึงมีมูลหนี้ต่อกันจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 (1) ถึง (4) เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันกฎหมายฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง อันเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น จึงต้องมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 6 (1) ถึง (4) เท่านั้น ส่วนสมาชิกผู้เข้าเล่นแชร์ด้วยกันกฎหมายฉบับนี้หาได้มีบทบัญญัติห้ามเล่นแชร์แต่อย่างใดไม่ การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง อันเกิดจากการตกลงกันระหว่างผู้เล่น จึงต้องมีผลผูกพันและบังคับกันได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์ตามฟ้องจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา กรณีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุว่า"บัดนี้ผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ช. อีกต่อไป เนื่องจากจะนำคดีฟ้องร้องในทางแพ่งเองจึงขอถอนคำร้องทุกข์" ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป เพราะหากโจทก์ ขอถอนคำร้องทุกข์เพื่อประสงค์ดำเนินคดีอาญาเองแล้วก็ไม่เป็นการยากที่ระบุไว้เช่นเดียวกับที่ระบุว่าจะนำคดี ไปฟ้องร้องในทางแพ่งเอง กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์ไปโดยไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
ตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุว่า "บัดนี้ผู้เสียหายไม่มีความประสงค์จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับ ช.อีกต่อไป เนื่องจากจะนำคดีฟ้องร้องในทางแพ่งเองจึงขอถอนคำร้องทุกข์ " ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป เพราะหากโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์เพื่อประสงค์ดำเนินคดีอาญาเองแล้ว ก็ไม่เป็นการยากที่ระบุไว้เช่นเดียวกับที่ระบุว่าจะนำคดีไปฟ้องร้องในทางแพ่งเอง กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ขอถอนคำร้องทุกข์ไปโดยไม่ประสงค์ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6627/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านคำพิพากษาชัดแจ้ง การอ้างเพียงว่าเคยมีการประนีประนอมยอมความในคดีอาญา ไม่อาจใช้เป็นเหตุ
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยระบุเพียงว่าโจทก์นำมูลหนี้เดียวกันกับคดีนี้ไปฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญา จนสามารถหาข้อยุติและประนีประนอมยอมความกับ โจทก์ไปแล้ว โจทก์กลัวนำตั๋วเงินในมูลหนี้เดิมในคดีอาญา มาฟ้องเป็นคดีนี้ ซึ่งโจทก์ควรแจ้งให้จำเลยทราบเพราะจำเลย ได้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเพื่อผ่อนชำระหนี้ตามคดีอาญา ดังกล่าว โจทก์ฉกฉวยโอกาสที่จำเลยไม่ทราบฟ้องโจทก์ มาปิดช่องทางการต่อสู้คดีของจำเลยโดยขอให้ ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว จนศาลพิพากษา ให้จำเลยชำระหนี้ ซึ่งไม่เป็นธรรมแก่จำเลย คำขอให้ พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุ โดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือ ไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร ทั้งจำเลยมิได้โต้แย้ง คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค ตามฟ้องดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย และไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหาก มีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไรคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวจำเลยยังมิได้กล่าว โดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น จึงเป็นคำขอให้พิจารณาใหม่ที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัด – การคิดดอกเบี้ย – วันหักบัญชีครั้งสุดท้าย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์และจำเลยทำต่อกันเป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา วงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทจำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 9 มกราคม 2539 จำนวน 509,000 บาท แล้วจำเลยได้นำเงินฝากเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2539 จำนวน 30,000 บาท หักทอนบัญชีแล้วมียอดหนี้ 4,070,147.21 บาท หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินจาก บัญชีอีก คงมีแต่รายการหนี้ค่าธรรมเนียมเช็คคืนและดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นทุกเดือนจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเท่านั้นการที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คถอนเงินออกจากบัญชี แล้วโจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินและคิดค่าธรรมเนียมเช็คคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2539 แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปและโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่ 31 มกราคม 2539 ถือว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มี การเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2539 ซึ่งเป็น วันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิ คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก