คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกาศ บูรพางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับแทน
เมื่อหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้นำส่งโดยเจ้าพนักงานขององค์การสื่อสารแห่งประเทศไทย มีผู้ลงลายมือชื่อรับแทนเป็นเอกสารตามใบตอบรับในประเทศของทางราชการ ทั้งการส่งก็เป็นการส่งตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์และทนายโจทก์ที่ได้แจ้งไว้ต่อศาล จึงฟังได้ว่าได้นำส่งให้แก่โจทก์และทนายโจทก์โดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 73 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถือว่าชอบแล้วตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้นำส่งโดย เจ้าพนักงานขององค์การสื่อสารแห่งประเทศไทยมีผู้ลงลายมือชื่อรับแทนเป็นเอกสารตามใบตอบรับในประเทศของทางราชการ ทั้งการส่งก็เป็นการส่งตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์และทนายโจทก์ที่ได้แจ้งไว้ต่อศาล จึงฟังได้ว่าได้นำส่งให้แก่โจทก์และทนายโจทก์โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5710/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเพลิงเผาทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของร่วม ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 และ 218
จำเลยซึ่งเป็นผู้จุดไฟจนเกิดไฟไหม้บ้านเป็นเจ้าของ บ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วยและเนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 218 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา 217 โดย มาตรา 218 บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดต่อทรัพย์ที่ระบุไว้ ในมาตรา 218(1) ถึง (6) ต้องได้รับโทษหนักขึ้น ดังนั้น การกระทำอันมิได้เป็นความผิดตามมาตรา 217 แม้กระทำต่อ ทรัพย์ที่ระบุในมาตรา 218 ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดเช่นกัน เมื่อมาตรา 217 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า การวางเพลิงเผาทรัพย์ ของผู้อื่นเป็นความผิดโดยไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" ก็เป็นความผิดแล้ว จึงต้อง ตีความคำว่า "ทรัพย์ของผู้อื่น" โดยเคร่งครัด เพราะเป็น การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญา มิอาจตีความขยายความ ออกไปให้รวมถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหาได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นเจ้าของบ้านเกิดเหตุรวมอยู่ด้วย การกระทำของ จำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 217 และย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 218(1) เช่นเดียวกัน การที่โจทก์ฎีกาว่าหากศาลฎีกาฟังว่าจำเลยไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1) ก็เป็นความผิดตาม มาตรา 220 วรรคสอง แต่เมื่อพิจารณาความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 แล้ว กรณีจะต้องเป็นการกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใด ๆ แม้เป็นของผู้กระทำเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้พิพากษาลงโทษตามบทบัญญัติดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะบังคับคดีไม่ได้ ศาลไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัทได้
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการบังคับคดี
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารประกอบคำให้การ แม้เป็นสำเนาและมิได้สืบประกอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาท ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลรับฟังเอกสารท้ายคำให้การเป็นพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงิน ให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาทปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบ ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผล เท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะ: ลายมือชื่อกรรมการไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองบริษัท
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: ผู้มีส่วนได้เสียคือทายาทตามลำดับกฎหมาย การครอบครองภายหลังมรณะไม่ทำให้มีสิทธิ
คำว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่งมีความหมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาแต่ต้นในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ร.มารดาของเจ้ามรดกแม้จะมีอายุถึง 95 ปี แต่เมื่อ ร.ยังมีชีวิตอยู่ ร.จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมา ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และการที่ผู้ร้องเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
of 19