พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: ผู้มีส่วนได้เสียคือทายาทตามลำดับกฎหมาย การครอบครองภายหลังมรณะไม่ทำให้มีสิทธิ
คำว่า ผู้มีส่วนได้เสีย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่งมีความหมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาแต่ต้นในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ร.มารดาของเจ้ามรดกแม้จะมีอายุถึง 95 ปี แต่เมื่อ ร.ยังมีชีวิตอยู่ ร.จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมา ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และการที่ผู้ร้องเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ร.มารดาของเจ้ามรดกแม้จะมีอายุถึง 95 ปี แต่เมื่อ ร.ยังมีชีวิตอยู่ ร.จึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 วรรคหนึ่ง ส่วนผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 อันเป็นลำดับถัดลงมา ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และการที่ผู้ร้องเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยขนส่ง: มูลประกันภัยรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาสินค้า ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การประกันภัยในการรับขนมีวิธีการเฉพาะซึ่งแตกต่างจากการประกันภัยทั่วไป เพราะราคาแห่งมูลประกันภัยหรือ ส่วนได้เสียสำหรับการประกันภัยในการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 884 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่หมายความเพียงแต่เฉพาะราคาค่าสินค้าเท่านั้น แต่ยังอาจรวมถึง ค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้วแต่กรณีด้วย เครื่องพิมพ์ซองพิพาทมีราคาซีแอนด์เอฟ จำนวน 71,681ปอนด์สเตอร์ลิง ส่วนราคาที่โจทก์เอาประกันภัยกับผู้ร้องสอดมีจำนวน 78,849 ปอนด์สเตอร์ลิง เมื่อคำนวณแล้วเท่ากับว่าราคาที่เอาประกันภัยนั้นเป็นร้อยละ 110 ของราคาสินค้า แสดงว่าส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของราคาสินค้าดังกล่าวก็คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่รวมเป็นมูลประกันภัย ซึ่งเป็นเรื่องปกติในทางปฏิบัติสำหรับการประกันภัยในการขนส่งสินค้า ดังนี้เงินจำนวน 187,610 บาท ที่โจทก์เรียกว่าเป็น "ค่าเรียกร้อง"คือจำนวนร้อยละ 10 ของราคาเครื่องพิมพ์พิพาทที่เสียหายจำนวน 1,876,100 บาท จึงฟังได้ว่าค่าเรียกร้องดังกล่าวก็คือ ค่าใช้จ่ายอันถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลประกันภัย เป็นส่วนได้ เสียซึ่งผู้ร้องสอดได้รับประกันภัยกับโจทก์ด้วย ตาม มาตรา 884 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลประกันภัยการรับขน: ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาสินค้า
การประกันภัยในการรับขนมีวิธีการเฉพาะซึ่งแตกต่างจากการประกันภัยทั่วไป เพราะราคาแห่งมูลประกันภัยหรือส่วนได้เสียสำหรับการประกันภัยในการรับขนตาม ป.พ.พ. มาตรา 884 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่หมายความเพียงแต่เฉพาะราคาค่าสินค้าเท่านั้น แต่ยังอาจรวมถึงค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายอื่น ๆแล้วแต่กรณีด้วย
เครื่องพิมพ์ซองพิพาทมีราคาซีแอนด์เอฟจำนวน 71,681ปอนด์สเตอร์ลิง ส่วนราคาที่โจทก์เอาประกันภัยกับผู้ร้องสอดมีจำนวน 78,849ปอนด์สเตอร์ลิง เมื่อคำนวณแล้วเท่ากับว่าราคาที่เอาประกันภัยนั้นเป็นร้อยละ 110ของราคาสินค้า แสดงว่าส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของราคาสินค้าดังกล่าวก็คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่รวมเป็นมูลประกันภัย ซึ่งเป็นเรื่องปกติในทางปฏิบัติสำหรับการประกันภัยในการขนส่งสินค้า ดังนี้ เงินจำนวน 187,610 บาท ที่โจทก์เรียกว่าเป็น "ค่าเรียกร้อง" คือจำนวนร้อยละ 10 ของราคาเครื่องพิมพ์พิพาทที่เสียหายจำนวน 1,876,100 บาท จึงฟังได้ว่าค่าเรียกร้องดังกล่าวก็คือ ค่าใช้จ่ายอันถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลประกันภัย เป็นส่วนได้เสียซึ่งผู้ร้องสอดได้รับประกันภัยกับโจทก์ด้วย ตามมาตรา 884 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
เครื่องพิมพ์ซองพิพาทมีราคาซีแอนด์เอฟจำนวน 71,681ปอนด์สเตอร์ลิง ส่วนราคาที่โจทก์เอาประกันภัยกับผู้ร้องสอดมีจำนวน 78,849ปอนด์สเตอร์ลิง เมื่อคำนวณแล้วเท่ากับว่าราคาที่เอาประกันภัยนั้นเป็นร้อยละ 110ของราคาสินค้า แสดงว่าส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของราคาสินค้าดังกล่าวก็คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่รวมเป็นมูลประกันภัย ซึ่งเป็นเรื่องปกติในทางปฏิบัติสำหรับการประกันภัยในการขนส่งสินค้า ดังนี้ เงินจำนวน 187,610 บาท ที่โจทก์เรียกว่าเป็น "ค่าเรียกร้อง" คือจำนวนร้อยละ 10 ของราคาเครื่องพิมพ์พิพาทที่เสียหายจำนวน 1,876,100 บาท จึงฟังได้ว่าค่าเรียกร้องดังกล่าวก็คือ ค่าใช้จ่ายอันถือเป็นส่วนหนึ่งของมูลประกันภัย เป็นส่วนได้เสียซึ่งผู้ร้องสอดได้รับประกันภัยกับโจทก์ด้วย ตามมาตรา 884 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทน
ป.วิ.อ.มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมาย เช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก.มีข้อความว่าก.ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก.กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก.ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงาน-อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก.มีข้อความว่าก.ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก.กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก.ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงาน-อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนิติบุคคล: ต้องสอบสวนผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวนอ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของก. มีข้อความว่าก. ไม่ขอให้การชี้สอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจ ให้ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลย โดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลย เป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมายเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะสอบสวนได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4104/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินมรดกโดยไม่ชอบ ผู้จัดการมรดกใช้อำนาจเกินขอบเขต ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
สำหรับการแบ่งขายที่ดินครั้งแรก จำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกอ้างว่าขายเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ของเจ้ามรดก จึงเป็นการจัดสรรทรัพย์สินของเจ้ามรดกเพื่อชำระหนี้ ซึ่งจะต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1740 วรรคท้ายกล่าวคือ ให้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด แต่ทายาทคนใดคนหนึ่งอาจมิให้มีการขายเช่นว่านั้นได้โดยชำระราคาทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ผู้ตีราคาซึ่งศาลตั้งขึ้นได้กำหนดให้ จนพอแก่จำนวนที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้าให้ความยินยอมในการขายที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการซื้อขายที่ไม่ชอบ สำหรับการขายที่ดินครั้งที่สองในที่ดินส่วนที่เหลือนั้น
แม้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 282 เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนของเจ้ามรดกครึ่งหนึ่งย่อมตกได้แก่ทายาทซึ่งมีโจทก์ทั้งห้าที่เป็นทายาทรวมอยู่ด้วยทันที จำเลยที่ 1 จึงยังมีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับทายาทของเจ้ามรดกคนอื่น แม้ในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 จะทำการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง จำเลยที่ 1 และทายาทของเจ้ามรดกคนอื่นก็ยังเป็นเจ้าของรวมที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ จำเลยที่ 1 จะแบ่งแยกแล้วกำหนดว่าเป็นของตนส่วนใดโดยมิได้รับความยินยอมจาเจ้าของรวมคนอื่น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364หาได้ไม่ ดังนั้น ที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ จึงมิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 1 รับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ ใส่ชื่อจำเลยทั้งสองและต่อมาโอนขายส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า จึงเป็นการโอนโดยมิชอบเช่นกัน เมื่อการทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งสองครั้งของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จะเป็นทายาท แต่รับโอนในฐานะผู้ซื้อมิใช่รับโอนในฐานะทายาท จึงมิใช่เป็นไปเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก แต่เป็นการกระทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกต้องเสียเปรียบ โจทก์ทั้งห้าจึงมีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกในสภาพเดิม
จำเลยที่ 2 ใช้หนี้ของเจ้ามรดกให้แก่ธนาคารไป 548,000บาท ดังนั้น จึงต้องหักเงินกองมรดกใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เสียก่อนแบ่งมรดก
แม้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 282 เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนของเจ้ามรดกครึ่งหนึ่งย่อมตกได้แก่ทายาทซึ่งมีโจทก์ทั้งห้าที่เป็นทายาทรวมอยู่ด้วยทันที จำเลยที่ 1 จึงยังมีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับทายาทของเจ้ามรดกคนอื่น แม้ในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 จะทำการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง จำเลยที่ 1 และทายาทของเจ้ามรดกคนอื่นก็ยังเป็นเจ้าของรวมที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ จำเลยที่ 1 จะแบ่งแยกแล้วกำหนดว่าเป็นของตนส่วนใดโดยมิได้รับความยินยอมจาเจ้าของรวมคนอื่น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364หาได้ไม่ ดังนั้น ที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ จึงมิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 1 รับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ ใส่ชื่อจำเลยทั้งสองและต่อมาโอนขายส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า จึงเป็นการโอนโดยมิชอบเช่นกัน เมื่อการทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งสองครั้งของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จะเป็นทายาท แต่รับโอนในฐานะผู้ซื้อมิใช่รับโอนในฐานะทายาท จึงมิใช่เป็นไปเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก แต่เป็นการกระทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกต้องเสียเปรียบ โจทก์ทั้งห้าจึงมีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกในสภาพเดิม
จำเลยที่ 2 ใช้หนี้ของเจ้ามรดกให้แก่ธนาคารไป 548,000บาท ดังนั้น จึงต้องหักเงินกองมรดกใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เสียก่อนแบ่งมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การสร้างโครงเหล็กพาดสายไฟบนที่ดินภารยทรัพย์ ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินของโจทก์ร่วมตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยเพื่อใช้เป็นทางเดินให้รถยนต์เข้าออกได้ ปักเสาพาดสายไฟฟ้าท่อประปา ท่อระบายน้ำ โทรศัพท์และอื่น ๆ อีกผ่านโดยตลอดตามบันทึกข้อตกลงเรื่องภารจำยอม การที่จำเลยที่ว่าจ้างให้ทำ โครงเหล็กวางพาดสายไฟและติดหลอดไฟฟ้าเพื่อให้มีแสงสว่างแบบถาวร แม้จะเกินความจำเป็นไปบ้างแต่ก็เป็นการใช้สิทธิของเจ้าของสามทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387ส่วนจะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์หรือไม่นั้นต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์หรือเข้าไปเพื่อถือครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมทั้งหมดหรือบางส่วน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา: คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธ ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์นี้ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นระหว่างพิจารณาคดี และคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำปฏิเสธ
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์นี้ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคหนึ่ง