คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกาศ บูรพางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด การกระทำต่อเนื่องและไม่มีเหตุป้องกัน
จำเลยใช้มีดยาวทั้งด้ามรวม 8 นิ้วแทงผู้เสียหายหลายครั้ง โดยเฉพาะบาดแผลที่ท้องซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้กระเพาะอาหารและตับ ฉีกขาด จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำว่าจะเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย ทั้งจำเลยได้กระทำผิด ไปโดยตลอดแล้ว การที่จำเลยไม่แทงผู้เสียหายซ้ำอีกและช่วยพาผู้เสียหายลงจากตึกที่เกิดเหตุไปรักษาพยาบาล ไม่ใช่เป็นการยับยั้งไม่กระทำการให้ตลอดหรือกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำบรรลุผลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 82 จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายผู้เสียหายก่อนและเป็นการสมัครใจต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกัน จำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยบันดาลโทสะไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีมูลฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง: ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแล้ว ห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายแม้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตามคดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ การใช้กำลังป้องกันต้องสมควรแก่เหตุ และไม่เกินความจำเป็น
เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนโดยตบตีทำร้าย และเตะจำเลยก่อนฝ่ายเดียวอันถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตัวเองได้แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ตบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธแต่อย่างใด การที่จำเลยใช้อาวุธมีดเลือกแทงที่ช่องท้องของผู้ตายอันเป็นอวัยวะที่สำคัญ แม้จะแทงไปเพียง 1 ครั้งแต่ถูกลำไส้และเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องฉีกขาดเป็นเหตุ ให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยย่อม เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควร แก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความตอบคำถามค้าน และองค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบตามกฎหมาย
จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เช็คพิพาทจำเลยมิได้ลงวันที่สั่งจ่าย แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายในภายหลังและจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์ร่วมเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าเช็คพิพาทจำเลยกรอกข้อความและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาเรียบร้อยแล้ว คงมาลงวันที่ในเช็คดังกล่าวต่อหน้าโจทก์ร่วมโดยจำเลยเป็นผู้เขียนด้วยตนเอง คำเบิกความของโจทก์ร่วมดังกล่าวแม้โจทก์ร่วมมิได้เบิกความไว้แต่ต้น แต่ก็เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับหรือไม่ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงแล้วหยิบยกมาวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานขัดต่อกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผู้พิพากษาลงนามคนเดียว เนื่องจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อีก 2 คน ซึ่งลงนามเป็นองค์คณะในต้นร่างคำพิพากษาย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นเสียก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษา แต่ผู้พิพากษา 2 คนนั้นได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้บันทึกต่อท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้พื้นที่ประทานบัตรทำเหมืองแร่เพื่อเกษตรกรรม แม้เป็นการค้า ศาลยกคำสั่งระงับ
จำเลยรับโอนประทานบัตรจากบริษัทซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมทรัพยากรธรณีให้ทำเหมืองแร่ดีบุกโดยวิธีเหมืองเรือขุดบริเวณป่าชายเลนที่เกิดเหตุเนื้อที่ 591 ไร่เศษ แต่ต่อมาราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกตกต่ำทำให้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จำเลยจึงขออนุญาตหยุดการทำเหมืองแร่เป็นรายปี ระหว่างการหยุดทำเหมืองจำเลยทำบ่อเลี้ยงกุ้งในที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรรวม 11 บ่อ เนื้อที่100 ไร่เศษ การที่ทรัพยากรธรณีจังหวัดที่เกิดเหตุมีคำสั่งให้จำเลยระงับการใช้พื้นที่ประทานบัตรเพื่อเลี้ยงกุ้ง และให้ถมหรือทำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองแร่ให้เป็นไปในสภาพเดิมภายใน 10 วัน และจำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม แต่พื้นที่ที่จำเลยใช้เลี้ยงกุ้งในเขตประทานบัตรดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดการทำเหมืองได้จริง และการเลี้ยงกุ้งหรือทำนากุ้งของจำเลยในพื้นที่ประทานบัตรที่เกิดเหตุเป็นการกระทำเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 73 (3)แต่ตามบทกฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้กระทำในเชิงพาณิชย์ไว้ ทั้งมิได้กำหนดไว้ว่าพื้นที่ดังกล่าวให้ทำเพื่อเกษตรกรรมได้เพียงบางส่วน ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่จำเลยจะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อการเกษตรกรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม คำสั่งของทรัพยากรธรณีจังหวัดที่ให้จำเลยระงับใช้พื้นที่ประทานบัตรทำนากุ้ง และให้ทำที่ดินให้เหมือนสภาพเดิมภายใน 90 วัน จึงเป็นการมิชอบ แม้จำเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และการผิดนัดชำระหนี้
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่บรรยายว่าในวันครบกำหนดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีวันที่ 10 สิงหาคม 2531 จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดแต่จำเลยมายื่นฎีกาในเรื่องนี้ว่า โจทก์ไม่แนบการ์ดบัญชีมาท้ายฟ้องทั้งหมด คงแนบมาตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2530เป็นต้นมา ก่อนนั้นไม่ปรากฏยอดหนี้เป็นมาอย่างไร ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามสัญญาตกลงให้คิดดอกเบี้ยทบต้นอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ส่วนที่เกินวงเงินให้คิดร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญาเลิก เพราะครบกำหนดอายุสัญญา จำเลยมิได้ชำระหนี้แก่โจทก์จึงได้ชื่อว่าผิดนัด จำเลยยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นต่อไปจนกว่าได้ชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลย ที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็น หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยาย ในคำฟ้อง ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่า หากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ให้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญา บัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535 แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้งดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่ หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็ มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และ จำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์ จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชี กันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้น, เจตนาของคู่สัญญา, และการเลิกสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยได้เปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับโจทก์เมื่อใด ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวงเงินเท่าใด ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด โดยกำหนดชำระเสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญากำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยทุกวันที่เท่าใด หากผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามกำหนดจำเลยยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงิน และให้ถือเป็นต้นเงินที่จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกับต้นเงิน หลังจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับโจทก์ จำเลยได้ใช้เช็คและหลักฐานอื่น ๆ เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และนำเงินเข้าบัญชีเพื่อตัดทอนหนี้สินกันหลายครั้งหลายหน จนถึงวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามและบอกเลิกสัญญาของโจทก์ จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นจำนวนเท่าใด กับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าภายในอายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำเลยได้เบิกถอนเงินจากโจทก์โดยวิธีใด เป็นเงินจำนวนเท่าใด และครั้งสุดท้ายจำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นวันที่ใด ตลอดจนรายละเอียดในบัญชีกระแสรายวันซึ่งโจทก์ได้อ้างในคำฟ้องแล้วเป็นอย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้อง
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมีข้อตกลงล่วงหน้าว่าหากจำเลยเบิกเงินเกินไปจากเงินฝากที่มีอยู่ในบัญชี และโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินตามเช็คไป ก็ให้โจทก์กับจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีกันโดยได้มีการหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้ง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ก็ระบุข้อความไว้ว่า การให้กู้และกู้ตามสัญญานี้เป็นไปตามประเพณีของธนาคาร ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงิน ซึ่งข้อสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นเรื่องประเพณีการค้าขายที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 655 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. และการที่จำเลยขอเปิดบัญชีและทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีในวันเดียวกันย่อมเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะเบิกเงินเกินบัญชีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด และตามประเพณีปฏิบัติของทางธนาคารพาณิชย์ก็ได้ยึดถือกันเช่นนั้นมาโดยตลอด สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับพิพาทซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 13 มีนาคม 2535แต่ภายหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยยังนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันอีกหลายครั้ง ดังนี้ เมื่อมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาหลังกำหนดเวลาตามสัญญาสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนเงินโดยการใช้เช็คแล้วปรากฏว่าไม่มีการนำเงินเข้าฝากและถอนอีกเลย คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับจำนวนต้นเงินเท่านั้น และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป และจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดกันทางบัญชีต่อไปและโจทก์จำเลยประสงค์จะเลิกสัญญาต่อกันในวันอันเป็นวันครบรอบหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามสัญญาและเป็นภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาใช่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันอันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ไม่ และหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในแบบไม่ทบต้นเท่านั้น และอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเป็นโมฆะหากผู้ส่งไม่ได้ตกลงด้วยชัดเจน และผู้ขนส่งต้องรับผิดในราคาสินค้าที่แท้จริง
แม้พนักงานของบริษัทส.ผู้ส่ง ได้ลงชื่อไว้ในใบรับเอกสารซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งก็ตาม แต่บริษัทฮ.ผู้ส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ดังนี้ ข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ประกอบ กับสินค้าพิพาทเป็นยาแม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 วรรคหนึ่งบริษัทฮ.ผู้ส่งจึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของบริษัทฮ.ผู้ส่งในราคาทรัพย์สินที่แท้จริงซึ่งได้สูญหายไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า: การยกเว้นความรับผิด และการสูญหายของสินค้า
แม้ผู้ฝากสินค้าพิพาทจะเป็นพนักงานของบริษัท ฮ.ผู้ส่ง ได้ลงชื่อไว้ในใบลำดับรายการรับฝากส่งพัสดุภัณฑ์ซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งก็ตาม แต่บริษัท ฮ.ผู้ส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 625
สินค้าพิพาทเป็นยา ซึ่งแม้มีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 620 วรรคหนึ่ง บริษัทฮ.ผู้ส่งจึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท ฮ.ผู้ส่งในราคาทรัพย์สินที่แท้จริงซึ่งได้สูญหายไปนั้นตาม มาตรา 616
ฎีกาของจำเลยที่ว่า สินค้าพิพาทบริษัท ฮ.ไม่ใช่เจ้าของที่จะนำไปประกันภัยไว้แก่โจทก์ บริษัท ฮ.จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ในประเด็นข้อนี้จำเลยได้แถลงสละประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
of 19