พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินและการตกเป็นโมฆะของข้อตกลงราคา
ส.สามีโจทก์กับ ล.สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กัน โดย ล.ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่ง เมื่อ ล.มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส.ไปรับแทน โดย ส.ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล.ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส.เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 797
ส.จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล.ตัวการส.จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล.ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส.กับ ล.ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล.ยังเป็นหนี้ส.อยู่อีกจำนวนมาก ล.จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล.ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นการที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล.กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส.โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส.สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
ส.จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล.ตัวการส.จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล.ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส.กับ ล.ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล.ยังเป็นหนี้ส.อยู่อีกจำนวนมาก ล.จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล.ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นการที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล.กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส.โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส.สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าซื้อเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ไม่ชัดเจนราคา และผลของการเป็นโมฆะต่อกรรมสิทธิ์
ส. สามีโจทก์กับ ล. สามีจำเลยมีนิติสัมพันธ์กันโดย ล. ซึ่งมีสิทธิได้โควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยงวดละ 10 เล่มครึ่งเมื่อ ล. มอบบัตรโควต้าของตนให้ ส. ไปรับแทน โดย ส. ต้องชำระเงินค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สภาสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในนามของ ล. ไปก่อน ย่อมถือได้ว่า ล.ตัวการให้ ส. เป็นตัวแทนของตนในการทำการรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย อันเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ส. จ่ายเงินทดรองค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปก่อนแทน ล. ตัวการ ส. จึงมีสิทธิเรียกเอาเงินชดใช้จาก ล. ตัวการรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคหนึ่ง และเมื่อ ส. กับ ล. ได้หักทอนบัญชีกันแล้วปรากฏว่า ล. ยังเป็นหนี้ ส. อยู่อีกจำนวนมากล. จึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้ แต่ ล. ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น การที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล.โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ส. ย่อมถือได้ว่า ล. กับจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่ ส. โดยการโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการที่ ส.ผู้ให้กู้ยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินกู้ แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงขัดต่อมาตรา 656 วรรคสองตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม การโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดิน และบ้านพิพาทให้แก่โจทก์โดยความยินยอมของ ส. สามีโจทก์ย่อมไม่มีผลบังคับ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แม้จะมีการทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าต่อการเคหะแห่งชาติ และโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้น ทั้งได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาเป็นของโจทก์แล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาท ที่ให้จำเลยเช่าซื้อไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องภายใน 10 ปี
ประเด็นในคดีอาญาและคดีนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ กรณีจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดในการที่จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยเสียหาย โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่โจทก์ที่ 2 มีอยู่ในมูลหนี้ต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 วรรคสาม เมื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ที่มีอยู่ดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่ 1 จึงย่อมมีอายุความ 10 ปี เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด: เงินที่ได้จากการขายยาเสพติด
จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ กับจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการขายอีกจำนวน 150 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย น้ำหนักรวมกันทั้งหมด 15.25 กรัม เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลย และยึดได้ธนบัตรจำนวน 44,000 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นไป เมื่อ ป.อ.มาตรา 33 (2) บัญญัติให้ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดด้วย ดังนี้ เมื่อธนบัตรจำนวน 44,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นไปก่อนหน้าที่จำเลยถูกจับในคดีนี้ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบเงินของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ได้ตาม ป.อ.มาตรา 33 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด: เงินจากการขายยาเสพติดเข้าข่ายริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวน 20 เม็ดให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ กับจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการขายอีกจำนวน 150 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย น้ำหนักรวมกันทั้งหมด 15.25 กรัม เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลย และยึดได้ธนบัตรจำนวน 44,000 บาท ซึ่งเป็นธนบัตรที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นไป เมื่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) บัญญัติให้ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิดด้วย ดังนี้ เมื่อธนบัตรจำนวน 44,000 บาทเป็นเงินที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำนวนอื่นไปก่อนหน้าที่จำเลยถูกจับในคดีนี้ กรณีจึงเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบเงินของกลางจำนวนดังกล่าวนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายเรือจากสภาพอากาศรุนแรงอยู่ในความคุ้มครองประกันภัย หากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นทันทีจากเหตุภัย
เมื่อปูมเรือเป็นเอกสารสำคัญของการเดินเรือประจำเรือ ทั้งเป็นที่ยอมรับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปและซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ว่า เรือลำนั้นแล่นไปที่ใดผจญกับสิ่งใดบ้าง จึงฟังได้ว่ารอยบุบใต้ท้องเรือเกิดขึ้น จากอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรงทำให้เรือผจญคลื่นลมแรงหาใช่เกิดจากการใช้งานตามปกติไม่ ทั้งเรือลำนี้เป็นเรือเดินระหว่างประเทศ ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากสถาบันที่นานาชาติยอมรับ เมื่อกรมธรรม์ระบุเงื่อนไขพิเศษว่า ผู้รับประกันภัยยอมให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายจากสภาพอากาศรุนแรง ฉะนั้น การที่เรือเสียหายจนวิศวกรของสถาบันนิปปอนไคจิโคไค สั่งซ่อม หากไม่ซ่อมจะไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้งานได้ตามปกติ แสดงว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นทันทีเมื่อผจญคลื่นลมรุนแรงหรืออากาศแปรปรวนทำให้ไม่สามารถใช้งานปกติดังที่จำเลยอ้าง ความเสียหายของโจทก์จึงอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาเช่าฉางผสมสัญญาฝากทรัพย์ มิใช่อายุความค่าสินไหมทดแทน ใช้บังคับตามอายุความทั่วไป 10 ปี
โจทก์ตกลงทำสัญญาเช่าฉาง เก็บรักษาข้าวเปลือกจากจำเลย โดยมีข้อสัญญาที่จำเลยจะต้องรับผิดถ้าเกิดความเสียหายหรือ สูญหายขึ้น และต้องชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพ ไม่เกินร้อยละ 2 ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย สัญญาดังกล่าวนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ยังมีข้อกำหนด ให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือก ดูแลมิให้เกิดความ เสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือก ที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ รวมอยู่ด้วย การฟ้องให้จำเลยชำระราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวน ไปพร้อมดอกเบี้ยเช่นนี้ มิใช่การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน เกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30(มาตรา 164 เดิม) ฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในการต่อสู้คดีทำให้คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ทำให้ไม่ต้องนำสืบพยาน
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมดคงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงานกระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิในการต่อสู้คดีและการยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง
ก่อนวันสืบพยานในคดีที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การทนายโจทก์และทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาศาล ทั้งสองฝ่ายร่วมกันแถลงว่าคดีตกลงกันไปเกือบเสร็จสิ้นแล้วยังติดขัดรายละเอียดอีกเล็กน้อย ขอเลื่อนคดีเพื่อทำยอมนัดหน้า และฝ่ายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินดีสละข้อสู้ตามคำให้การทั้งหมด คงเหลือไว้ประเด็นเดียวคือค่าเสียหาย หากนัดหน้าทำยอมกันไม่ได้ก็ติดใจสู้ประเด็นนี้เพียงประการเดียว ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วโดยทนายจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงชื่อไว้ รายงาน-กระบวนพิจารณาของศาลดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 49 และคำแถลงของทนายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อตกลงในการสละสิทธิในข้อต่อสู้ตามคำให้การของตนทั้งหมดในประเด็นอื่นรวมทั้งประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยและกรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จริง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองฝิ่นเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับสถานที่และเจตนา
จำเลยเป็นผู้เช่าแพปลาอันเป็นสถานที่ค้นพบฝิ่นของกลางโดยลักษณะแพปลาที่เกิดเหตุนั้นสภาพภายนอกก่อสร้างด้วยอิฐบล็อกและอีกส่วนหนึ่งเป็นกำแพง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ มีประตูเข้าออกได้สองทาง ประตูหน้าเป็นประตูเหล็กปิดไว้อย่างแน่นหนาและใส่กุญแจไว้ ส่วนประตูอีกด้านหนึ่งปิดตายไว้ซึ่งจะเปิดจากด้านนอกไม่ได้ต้องเปิดจากด้านในเท่านั้น ในวันที่ตรวจค้นนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้งัดกุญแจก่อนแล้วจึงเข้าไปได้ แสดงให้เห็นว่าแพปลาที่เกิดเหตุนี้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปได้โดยลำพังเพราะสถานที่มิดชิดแน่นหนากับใส่กุญแจที่ประตูเหล็กด้านหน้าด้วย ดังนั้น จึงมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าฝิ่นดิบของกลางที่ค้นพบในแพปลา เป็นของจำเลยโดยจำเลยมีไว้ในครอบครองจำนวนมากเพื่อนำไปจำหน่ายจริง