คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประกาศ บูรพางกูร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 188 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ การแต่งตั้งทนายความ และการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต
จำเลยร่วมที่ 4 ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องขอของโจทก์ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วม ที่ 4 จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ทั้งมี สิทธิที่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคหนึ่งแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยร่วมที่ 4 มิได้แต่งตั้ง ส. ให้เป็นทนายความของตน การที่ ส. แถลงยอมรับว่าจำเลยร่วมที่ 4เป็นบริวารของจำเลยและแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2แทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ การกระทำของ ส. เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า ส. มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยร่วมที่ 4 ทราบต่อ ๆ มาอีกจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามมาตรา 243(2) ประกอบ มาตรา 247 แม้โจทก์จะเคยเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่ น.ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่คดีดังกล่าวจำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฟ้อง น. ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกแสดงว่า จำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. อีกต่อไป การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการซื้อที่ดินโดยสุจริต
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้หมายเรียก จำเลยร่วมที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลย เพราะบุคคลทั้งสี่อ้างว่าเป็นญาติและบริวารของจำเลยได้บุกรุกเข้าไปปลูกบ้านเรือนในที่ดินพิพาทคนละหลัง ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้หมายเรียกบุคคลทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยกำหนดให้ยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนด 15 วัน ในการส่งหมายเรียกดังกล่าวเจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำร้องสอดไปส่งให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 โดยจำเลยร่วมที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำร้องสอดไว้แทนจำเลยร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แต่จำเลยร่วมที่ 4 มีบ้านอยู่ต่างหากจากบ้านของจำเลยร่วมที่ 1 ดังนี้เมื่อจำเลยร่วมที่ 4 ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องขอของโจทก์ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ดังนั้น จำเลยร่วมที่ 4 จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ทั้งมีสิทธิที่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยร่วมที่ 4 มิได้แต่งตั้ง ส.ให้เป็นทนายความของตน การที่ ส.ได้แถลงยอมรับว่าจำเลยร่วมที่ 4 เป็นบริวารของจำเลยและแถลงไม่ติดใจสืบพยานจึงย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์แทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ และเมื่อการกระทำของ ส.ดังกล่าวเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า ส.มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยร่วมที่ 4 ทราบต่อ ๆ มาอีก กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์และจำเลยร่วมที่ 4 โดยให้จำเลยร่วมที่ 4 ยื่นคำให้การใหม่แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามมาตรา 243 (2)ประกอบมาตรา 247
แม้โจทก์จะเคยเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่ น.ในคดีที่จำเลยฟ้อง น.กับพวกขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่คดีดังกล่าวจำเลยถอนฟ้อง น.ไปแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฟ้อง น.ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินแปลงพิพาทของ น.อีกต่อไป การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทของ น.ในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในกรณีเช่นว่านี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ พยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารได้ตามกฎหมาย
การรับสภาพหนี้นั้น ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือเสมอไปเพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)บัญญัติว่า ถ้าลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยทำหนังสือรับสภาพให้ก็ตาม หรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นก็ใช้ได้ ดังนั้นการรับสภาพหนี้จึงไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้อง & ผู้ลงลายมือชื่อโดยไม่ระบุตัวแทนต้องรับผิด
เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ ผู้ทรงคนเดิม มีสิทธิโอนต่อให้บุคคลอื่นได้และย่อมโอนให้แก่กันได้โดยการส่งมอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918ประกอบมาตรา 989 เมื่อโจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทโดยการส่งมอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ครอบครองเช็คในฐานเป็นผู้รับเงินโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบตามมาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทได้ เช็คพิพาทนั้นไม่ปรากฏข้อความในเช็คว่าจำเลยที่ 2ได้เขียนระบุว่าได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกด้วย แม้จำเลยที่ 2 ประทับตราของจำเลยที่ 1ในเช็คพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ได้กรณีจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทโดยมิได้เขียนแถลงว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 901

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิหักบัญชีเงินฝากของผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
โจทก์มีสิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาที่เรียกชื่อว่าสัญญาจำนำสิทธิ จำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยมาชำระหนี้โจทก์ได้ทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อปรากฏจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวหักบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์นับแต่นั้น การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปแล้วจึงค่อยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์จึงต้องใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวตามข้อตกลงในสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อมีการโอนสิทธิเช่าซื้อ ไม่ใช่โอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับประกันภัยยังคงต้องรับผิด
กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า กรมธรรม์นี้จะสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้ผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่เอาประกันภัยโดยแท้จริงการที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 เช่าซื้อรถยนต์ จากบริษัท จ. แล้วโอนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อแทนโดยมิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 2 เข้าสวมสิทธิ แทนจำเลยที่ 3 เท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 4 ในฐานะ ผู้รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังกล่าวต่อโจทก์ด้วย แม้โจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมรถยนต์ ของโจทก์โดยขายไปในสภาพที่ถูกชนก็ตาม จำเลยที่ 4 ก็ต้องชดใช้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8397/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัยต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง การเปลี่ยนมือผู้เช่าซื้อไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
กรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า กรมธรรม์นี้จะสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยได้โอนรถยนต์ให้ผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุที่เอาประกันภัยโดยแท้จริง การที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท จ.แล้วโอนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อแทนโดยมิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวนั้น เป็นแต่เพียงจำเลยที่ 2เข้าสวมสิทธิแทนจำเลยที่ 3 เท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวต่อโจทก์ด้วย แม้โจทก์ไม่ได้ซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์โดยขายไปในสภาพที่ถูกชนก็ตาม จำเลยที่ 4ก็ต้องชดใช้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการค้ำประกัน การลงลายมือชื่อในเอกสารประกอบสัญญา
สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทในช่องผู้ค้ำประกันมีชื่อจำเลยที่ 2ได้ลงลายมือชื่อไว้ และมีข้อความระบุไว้อยู่เหนือลายมือชื่อว่า ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันกู้เงินให้แก่...มีข้อสัญญาดังแจ้งต่อไปนี้ ซึ่ง...ผู้กู้ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินของท่านไปเมื่อวันที่...เดือน...พ.ศ... นั้น ถ้า...ล้มตายเสียก็ดี หลบหนีหายไปเสียก็ดี หรือมีตัวอยู่ก็ดี ท่านจะเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยแก่...ไม่ได้โดยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยอมใช้ต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่ท่านตามที่...ได้ทำสัญญาไว้ให้แก่ท่านจนครบ ทันใดนี้ผู้เขียนสัญญาได้อ่านข้อสัญญาให้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยละเอียดตลอดทุกข้อแล้ว ข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานผู้อยู่พร้อมกัน ณ ที่นี้ ข้อความดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าต่อจากหนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมคือจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญ ข้อความดังกล่าวอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตามป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสอง โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการค้ำประกันเงินกู้ที่สมบูรณ์ และสิทธิของโจทก์ในการบังคับคดีผู้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทในช่องผู้ค้ำประกันมีชื่อจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ และมีข้อความระบุไว้อยู่เหนือลายมือชื่อว่า ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันกู้เงินให้แก่ มีข้อสัญญาดังแจ้งต่อไปนี้ ซึ่ง ผู้กู้ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินของท่านไปเมื่อวันที่ เดือน พ.ศ.นั้น ถ้า ล้มตายเสียก็ดี หลบหนีหายไปเสียก็ดีหรือมีตัวอยู่ก็ดี ท่านจะเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยแก่ไม่ได้ โดยเหตุประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าผู้ค้ำประกันยอมใช้ต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่ท่านตามที่ได้ทำสัญญาไว้ให้แก่ท่านจนครบ ทันใดนี้ผู้เขียนสัญญาได้อ่านข้อสัญญาให้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยละเอียดตลอดทุกข้อแล้วข้าพเจ้าได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานผู้อยู่พร้อมกัน ณ ที่นี้ ข้อความดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อรับรองไว้อยู่ในกระดาษแผ่นเดียวกันแต่อยู่คนละหน้าต่อจากหนังสือสัญญากู้เงินที่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ผู้ยืมคือจำเลยที่ 1เป็นสำคัญ ข้อความดังกล่าวอ่านแล้วเข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7771/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เช็คชำระหนี้ซื้อขายสินค้า การแก้ไขเช็ค และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงิน
เดิมจำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าผ้าแก่โจทก์ด้วยเช็คหลายฉบับและหลายครั้ง แต่เช็คส่วนใหญ่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงเปลี่ยนเช็คเป็นเช็คพิพาทและเช็คอื่นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 15 ฉบับ ให้แก่โจทก์แทน ซึ่งเช็คพิพาทธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกให้แก่โจทก์มีมูลหนี้มาจากจำเลยซื้อสินค้าผ้ายืดของโจทก์ การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่ายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว
มูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นมูลหนี้อันเกิดจากการซื้อขายสินค้าผ้า และเมื่อจำเลยเพียงแต่ชำระมูลหนี้เดิมด้วยเช็คซึ่งโจทก์ยอมรับเอาเช็คพิพาทนั้นแทนการชำระหนี้โดยการใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทและเช็คฉบับอื่น ๆที่มีการเปลี่ยนเช็คแทนกันมาตลอด ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้เดิมจึงไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคท้าย ประกอบกับโจทก์จำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ การที่มีการเปลี่ยนเช็คพิพาทให้แทนเช็คเดิมซึ่งธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วกรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการระงับมูลหนี้เดิม จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับ
เช็คพิพาท แม้จะมีการแก้ไขวันเดือนที่สั่งจ่าย แต่ผู้แก้ไขคือศ.ซึ่งเป็นสามีจำเลย โดยจำเลยกับ ศ.สามีจำเลยได้ร่วมกันซื้อสินค้าผ้ายึดจากโจทก์และทั้งจำเลยกับ ศ.มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ด้วยเช็คพิพาท ประกอบกับบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ขอเปิดและบัตรตัวอย่างลายมือชื่อที่ทำไว้กับธนาคารตามเช็คพิพาท จำเลยและ ศ. ต่างมีสิทธิสั่งจ่ายเช็คตามบัญชีดังกล่าวได้ ดังนี้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ยินยอมให้ ศ.เป็นผู้แก้ไขวันที่สั่งจ่ายแทนจำเลยแล้ว เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง
แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลจะปรากฏว่า โจทก์ได้ดำเนินคดีทางแพ่งกับจำเลยและ ศ.สามีจำเลยแล้ว โดยโจทก์นำยึดที่ดินโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้างคดีอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทเพราะยังไม่มีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ดังกล่าว กรณียังถือไม่ได้ว่าเช็คพิพาทสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
of 19