พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเองและบ้านที่ปลูกใหม่: สิทธิสินสมรสเมื่อกรรมสิทธิ์ยังไม่สมบูรณ์
ที่ดินมือเปล่าที่พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวนิคมสร้างตนเองยังมิได้มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยและยังอยู่ในระหว่างที่กำลังปฏิบัติตามเงื่อนไขของการจะได้กรรมสิทธิ์ แต่ยังปฏิบัติไม่สำเร็จตามเงื่อนไข และตกอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และถึงแม้หากจะได้มีหลักฐานกรรมสิทธิ์อยู่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าห้าปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสได้ ส่วนสิทธิในการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะไปว่ากล่าวกับนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ต่อไป บ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสปัจจุบันมีราคา 70,000 บาทและบ้านหลังนี้จำเลยได้ปลูกแทนบ้านที่ปลูกอยู่เดิม โดยจำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างใหม่ไปเป็นเงิน40,000 บาท ดังนี้การคำนวณราคาบ้านหลังเดิมว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องนำราคาบ้านหลังปัจจุบัน หักด้วยราคาค่าใช้จ่ายที่นำมาปลูกขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินนิคมสร้างตนเองและผลกระทบต่อสินสมรส การโอนที่ดินต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ
ที่ดินมือเปล่าที่พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรส เมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวนิคมสร้างตนเองยังมิได้มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย และยังอยู่ในระหว่างที่กำลังปฏิบัติตามเงื่อนไขของการจะได้กรรมสิทธิ์ แต่ยังปฏิบัติไม่สำเร็จตามเงื่อนไข และตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511 มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และถึงแม้หากจะได้มีหลักฐานกรรมสิทธิ์อยู่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าห้าปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสได้ ส่วนสิทธิในการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะไปว่ากล่าวกับนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ต่อไป
บ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสปัจจุบันมีราคา 70,000 บาทและบ้านหลังนี้จำเลยได้ปลูกแทนบ้านที่ปลูกอยู่เดิม โดยจำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างใหม่ไปเป็นเงิน 40,000 บาท ดังนี้การคำนวณราคาบ้านหลังเดิมว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องนำราคาบ้านหลังปัจจุบัน หักด้วยราคาค่าใช้จ่ายที่นำมาปลูกขึ้นใหม่
บ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสปัจจุบันมีราคา 70,000 บาทและบ้านหลังนี้จำเลยได้ปลูกแทนบ้านที่ปลูกอยู่เดิม โดยจำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างใหม่ไปเป็นเงิน 40,000 บาท ดังนี้การคำนวณราคาบ้านหลังเดิมว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องนำราคาบ้านหลังปัจจุบัน หักด้วยราคาค่าใช้จ่ายที่นำมาปลูกขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดิน: สิทธิครอบครองไม่ชัดเจน แบ่งที่ดินให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก. ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก. ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน และเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดิน: หลักฐานไม่ชัดเจน สิทธิเท่ากัน แบ่งครึ่ง
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก.ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก.ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กันและเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดิน: เมื่อหลักฐานไม่ชัดเจน ศาลแบ่งกรรมสิทธิ์ให้ทั้งสองฝ่าย
โจทก์และจำเลยต่างมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักฐานแสดงสิทธิสำหรับที่ดินของตนโดยเจ้าพนักงานออกให้ในวันเดียวกัน โจทก์จำเลยต่างนำชี้เขตที่ดินพิพาทไม่ตรงกับรูปแผนที่ดินและเนื้อที่ดินใน น.ส.3 ก. ของตน รวมทั้งแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศ เมื่อแผนที่ที่ดินพิพาททำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตรงตามแผนที่ระวางรูปถ่ายทางอากาศและแผนที่ที่ดินใน น.ส.3 ก. ของโจทก์จำเลย จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าที่ดินพิพาทตามที่โจทก์จำเลยนำชี้เขตที่ดินทับกันอยู่ในเขตที่ดินของฝ่ายใดกันแน่ เมื่อพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าฝ่ายใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใดเนื่องจากที่ดินอยู่ติดกัน และมีการชี้เขตที่ดินของตนสับสนเกินเลยเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่ง และไม่อาจชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เนื้อที่เท่าไร จึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาด้วยกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดครอบครองไว้เป็นจำนวนเท่าใด จึงต้องฟังว่าโจทก์จำเลยต่างมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน และเมื่อไม่อาจครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันได้ก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6571/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์เฉพาะการเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจ และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจ ฯลฯ นั้น จะต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจเท่านั้นมิได้ห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดาซึ่งเมื่อนำพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6มาประกอบแล้วก็คือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งอัตราโทษตามมาตรา 277 วรรคสองระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต และตามมาตรา 277 วรรคสามระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ จำเลยจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนนายหน้า: สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะเนื่องจากผู้ซื้อผิดสัญญา ทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนส่วนเกิน
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ป. ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อระบุว่า จำเลยต้องการให้โจทก์เป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการขายที่ดินให้กับบริษัทค.ไม่ว่าจะเป็นที่ดินส่วนใดก็ตาม ซึ่งทางจำเลยขายให้กับทางบริษัทค.ได้ จำเลยสัญญาว่าจะจัดค่านายหน้าให้กับโจทก์ 20,000 บาท ต่อไร่ของที่ดินทุก ๆ แปลง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้า 3 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 20,000 บาท ต่อเมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยขายที่ดินดังกล่าวได้จนเป็นผลสำเร็จเมื่อโจทก์เพียงแต่จัดให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับพ.กรรมการบริษัทค.แต่ต่อมาผู้จะซื้อผิดสัญญาจนมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวไปแล้ว กรณีจึงหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันจะทำให้จำเลยได้รับเงินตามราคาที่ตกลงกันไว้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินหรือค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนนายหน้า: การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษเมื่อยังไม่มีการซื้อขายสำเร็จ
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ป.ผู้ขาย กับจำเลยผู้ซื้อระบุว่า จำเลยต้องการให้โจทก์เป็นนายหน้าหรือตัวแทนในการขายที่ดินให้กับบริษัท ค.ไม่ว่าจะเป็นที่ดินส่วนใดก็ตาม ซึ่งทางจำเลยขายให้กับทางบริษัท ค.ได้ จำเลยสัญญาว่าจะจัดค่านายหน้าให้กับโจทก์ 20,000 บาท ต่อไร่ของที่ดินทุก ๆ แปลง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้า 3 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 20,000 บาท ต่อเมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยขายที่ดินดังกล่าวได้จนเป็นผลสำเร็จ เมื่อโจทก์เพียงแต่จัดให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับ พ.กรรมการบริษัท ค. แต่ต่อมาผู้จะซื้อผิดสัญญาจนมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวไปแล้ว กรณีจึงหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันจะทำให้จำเลยได้รับเงินตามราคาที่ตกลงกันไว้ไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินหรือค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่านายหน้าและค่าตอบแทนพิเศษ: การซื้อขายไม่สำเร็จไม่ผูกพัน
ตามบันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ป. ผู้ขายกับจำเลย ผู้ซื้อระบุว่า จำเลยต้องการให้โจทก์เป็นนายหน้า หรือตัวแทนในการขายที่ดินให้กับบริษัทค. หากจำเลยขายให้กับทางบริษัทค.ได้ จำเลยสัญญาว่าจะจัดค่านายหน้าให้กับโจทก์20,000 บาท ต่อไร่ของที่ดินทุก ๆ แปลง ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้า 3 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ในอัตราไร่ละ 20,000 บาท ต่อเมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยขายที่ดินดังกล่าวได้จนเป็นผลสำเร็จคือ ถ้าจำเลยขายที่ดินได้เงินมาในราคาไร่ละ 150,000 บาทก็จะจัดให้โจทก์ได้ราคาส่วนเกินจากราคาที่จำเลยต้องการขาย ในราคาไร่ละ 130,000 บาท โดยโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษไปในอัตรา 20,000 บาท ต่อไร่ ตามที่ขายได้เมื่อโจทก์เพียงแต่จัดให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับ พ.กรรมการบริษัทค.แต่ต่อมาพ. ผู้จะซื้อผิดสัญญา จนมีการเลิกสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวไปแล้ว กรณีจึงหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันจะทำให้จำเลยได้รับเงินตามราคาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินหรือค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ในท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เขตอำนาจศาลอยู่ที่สถานที่ทำข้อตกลง
จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1520 และมาตรา 1566 (6)เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้