พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าและผู้ให้เช่าต่อความเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า และการหักกลบลบหนี้
จำเลยได้เช่าโป๊ะเหล็กพร้อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ประจำโป๊ะจำนวน 1 ลำ ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 177,000 บาท และเช่าเครื่องกว้านพร้อมเครื่องยนต์จำนวน 1 ชุด ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 7,500 บาท รวมค่าเช่าเดือนละ 184,500 บาท ผู้เช่ามีหน้าที่ใช้ทรัพย์สินที่เช่าด้วยความระมัดระวังตามประเพณีนิยม และมีหน้าที่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง การที่โจทก์ผู้ให้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่ากลับคืนมา แต่ทรัพย์สินที่เช่าดังกล่าวได้รับความเสียหายและชำรุด โจทก์ทำการซ่อมแซมโป๊ะและเครื่องกว้านที่ชำรุดเสียหาย แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากความผิดของจำเลยผู้เช่า ดังนี้จึงฟังได้ว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยผู้เช่าใช้ทรัพย์สินที่เช่าโดยชอบ โจทก์ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และโจทก์ต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 550 โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าซ่อมโป๊ะและเครื่องกว้านจากจำเลยได้
เมื่อเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการลากจูงโป๊ะที่ให้จำเลยเช่ากลับมายังอู่ของโจทก์ ตามที่โจทก์อ้างมีข้อความระบุว่า โจทก์จะให้เรือยนต์ไปลากโป๊ะเอง แสดงว่าโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยลากโป๊ะคืนโจทก์ โจทก์จึงเรียกค่าลากโป๊ะ จากจำเลยไม่ได้
จำเลยค้างชำระค่าเช่าโป๊ะแก่โจทก์เป็นเงิน 313,650 บาทสำหรับรายการที่จำเลยอ้างว่าได้จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกว้านทดแทนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พนักงานของโจทก์ผู้ให้เช่าได้ทำสูญหายไป เช่น แบตเตอรี่ เชือกสลิงและกิ๊ปจับสลิง รวมเป็นเงิน 66,530 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานของโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย กรณีจึงถือว่าความสูญหายหรือบุบสลายเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่าเพราะความผิดของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 562 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายในส่วนนี้ขึ้น จำเลยจะเรียกร้องความเสียหายจากโจทก์ไม่ได้ และจะนำค่าเสียหายดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้จากโจทก์ไม่ได้
เมื่อเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการลากจูงโป๊ะที่ให้จำเลยเช่ากลับมายังอู่ของโจทก์ ตามที่โจทก์อ้างมีข้อความระบุว่า โจทก์จะให้เรือยนต์ไปลากโป๊ะเอง แสดงว่าโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยลากโป๊ะคืนโจทก์ โจทก์จึงเรียกค่าลากโป๊ะ จากจำเลยไม่ได้
จำเลยค้างชำระค่าเช่าโป๊ะแก่โจทก์เป็นเงิน 313,650 บาทสำหรับรายการที่จำเลยอ้างว่าได้จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกว้านทดแทนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พนักงานของโจทก์ผู้ให้เช่าได้ทำสูญหายไป เช่น แบตเตอรี่ เชือกสลิงและกิ๊ปจับสลิง รวมเป็นเงิน 66,530 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานของโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย กรณีจึงถือว่าความสูญหายหรือบุบสลายเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่าเพราะความผิดของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 562 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายในส่วนนี้ขึ้น จำเลยจะเรียกร้องความเสียหายจากโจทก์ไม่ได้ และจะนำค่าเสียหายดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้จากโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ vs. สัญญาเดิม และประเด็นการปลดจำนอง
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่
ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกรับสภาพหนี้มีผลระงับสัญญากู้เดิม การปลดจำนองต้องมีข้อตกลงชัดเจน
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคา ที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8477/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายและการไถ่ถอนจำนองโดยปริยาย การคืนเงินและดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ศ. และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินกู้จำเลยที่ 1 โดยจำนองที่ดินพิพาท 8 แปลงไว้แก่จำเลยที่ 1 เป็นประกันด้วย ในการจัดการหนี้สินของจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 และธนาคาร ศ. ร่วมรู้เห็นและจัดการด้วย จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท 8 แปลงนี้ไว้แก่โจทก์ โดยความรู้เห็นของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้ชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 5,000,000 บาท เป็นแคชเชียร์เช็คซึ่งเรียกเก็บเงินได้แล้ว และให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 1,000,000 บาท โดยส่วนที่เหลือสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จะโอนที่ดิน 8 แปลงให้แก่โจทก์ กรณีนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกันสัญญากับจำเลยที่ 2 ด้วย ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ดำเนินการไถ่ถอนจำนองและโอนที่ดินพิพาท 8 แปลงให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลาย หลังจากนั้นโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน 8 แปลงฉบับใหม่กับจำเลยที่ 2 โดยไม่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสองผิดสัญญาจะซื้อจะขายครั้งแรก ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายและไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท 8 แปลงครั้งแรก และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายครั้งแล้วครบกำหนดต่างฝ่ายต่างเพิกเฉย กรณีถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้ง 2 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ต่างฝ่ายต่างจะเรียกค่าเสียหายใด ๆ แก่กันไม่ได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนเงิน 5,000,000 บาท และ 1,000,000 บาท ตามลำดับพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากทรัพย์มรดกและการโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ช. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141 ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช. ได้หย่าขาดจากกันประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช. ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับจะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ช. ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส การที่ ช. นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช. ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการขายที่ดินมรดกและการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอม
ช.กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5พ.ศ.2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช.ได้หย่าขาดจากกัน ประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช.ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจาก ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับ จะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ ช.ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส
การที่ ช.นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช.ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1 จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ได้
การที่ ช.นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช.ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1 จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8225/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี และผลกระทบต่อสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดู
โจทก์ได้ ว.เป็นภริยาภายหลังจากจำเลยออกจากบ้านที่เคยอยู่ร่วมกับโจทก์ฉันสามีภริยาไปแล้ว ทั้งลักษณะของการที่จำเลยออกจากบ้านที่เคยอยู่ร่วมกับโจทก์ก็ล้วนแต่เป็นการตัดสินใจของจำเลยเอง มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ขับไล่จำเลยหรือโจทก์นำหญิงอื่นเข้ามาอยู่กินในบ้านฉันสามีภริยาอันเป็นการบีบบังคับให้จำเลยต้องออกจากบ้านแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีที่จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ต่างหากจากโจทก์
โจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2) ได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง ย่อมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้จำเลยสิ้นสิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อที่จำเลยขอเพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป
โจทก์และจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2) ได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1461 วรรคสอง ย่อมสิ้นสุดลง เป็นเหตุให้จำเลยสิ้นสิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อที่จำเลยขอเพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูจากโจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยนั่งโดยสารในรถที่คนขับหลบหนีและชนรถเจ้าหน้าที่ ไม่ถือเป็นผู้ร่วมทำละเมิดหากไม่มีส่วนรู้เห็นหรือช่วยเหลือ
เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรโจทก์นำรถยนต์ของโจทก์ออกปฏิบัติหน้าที่ตั้งด่านเพื่อตรวจจับรถขนสินค้าหลบหนีภาษีศุลกากร ด. ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าหลบหนีภาษีศุลกากรโดยมีจำเลยนั่งมาในรถด้วยความเร็วและไม่ยอมหยุดให้ตรวจเมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์ให้สัญญาณหยุด เฉี่ยวชนรถยนต์ ของโจทก์เสียหาย จำเลยเพียงนั่งมาในรถไม่มีส่วนทำความผิดด้วยทั้งจำเลยไม่ได้รู้เห็นในการทำละเมิดของด. หรือยุยงช่วยเหลือด. กระทำละเมิด ยังไม่พอถือว่าจำเลยร่วมทำละเมิดอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย คำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษไปเด็ดขาดแล้วเป็นเรื่องที่จำเลยถูกฟ้องว่าร่วมกับ ด.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และทำร้ายผู้อื่น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์ที่ถูกจำเลยขับรถยนต์ชนอันเป็นคดีแพ่ง ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยในคดีแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในทางละเมิด จำเลยต้องมีส่วนร่วมในการกระทำละเมิด หรือรู้เห็นการกระทำละเมิดของผู้อื่น
ฟ้องโจทก์ตั้งรูปคดีมาว่า จำเลยกับพวกร่วมกันขับรถยนต์บรรทุกสินค้าหลบหนีภาษีศุลกากรแล้วชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย แต่โจทก์ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับ ด.ขับรถยนต์ชนรถยนต์ของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดโจทก์ คงได้ความแต่เพียงว่า ด.เป็นผู้ขับรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายโดยจำเลยเป็นเพียงบุคคลภายนอกที่นั่งมาในรถยนต์กระบะที่ ด.เป็นผู้ขับเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ด้วย ทั้งไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้รู้เห็นในการทำละเมิดของ ด.หรือยุยงช่วยเหลือ ด.กระทำละเมิดโจทก์ แม้ ด.จะมีส่วนทำละเมิดขับรถชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายเพียงเท่านี้ก็ยังไม่พอถือว่าจำเลยร่วมทำละเมิดอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยคดีนี้ถูกฟ้องจนศาลพิพากษาลงโทษไปเด็ดขาดแล้วนั้น ปรากฏเพียงว่าคดีอาญานั้นจำเลยถูกฟ้องหาว่าร่วมกับ ด.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และทำร้ายผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 138,391, 83 เท่านั้น ไม่ได้มีประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับความเสียหายรถยนต์ของโจทก์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้และไม่มีผลผูกพันจำเลยในคดีนี้ ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยคดีนี้ถูกฟ้องจนศาลพิพากษาลงโทษไปเด็ดขาดแล้วนั้น ปรากฏเพียงว่าคดีอาญานั้นจำเลยถูกฟ้องหาว่าร่วมกับ ด.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และทำร้ายผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 138,391, 83 เท่านั้น ไม่ได้มีประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับความเสียหายรถยนต์ของโจทก์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้และไม่มีผลผูกพันจำเลยในคดีนี้ ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมทำละเมิด จำเลยนั่งโดยสารในรถที่ชนเสียหาย ไม่พอรับผิด
ฟ้องโจทก์ตั้งรูปคดีมาว่า จำเลยกับพวกร่วมกันขับรถยนต์บรรทุกสินค้าหลบหนีภาษีศุลกากรแล้วชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย แต่โจทก์ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับ ด. ขับรถยนต์ชนรถยนต์ของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดโจทก์ คงได้ความแต่เพียงว่า ด. เป็นผู้ขับรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายโดยจำเลยเป็นเพียงบุคคลภายนอกที่นั่งมาในรถยนต์กระบะที่ ด.เป็นผู้ขับเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ด้วย ทั้งไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้รู้เห็นในการทำละเมิดของ ด.หรือยุยงช่วยเหลือด.กระทำละเมิดโจทก์ แม้ ด. จะมีส่วนทำละเมิดขับรถชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายเพียงเท่านี้ก็ยังไม่พอถือว่าจำเลยร่วมทำละเมิดอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย คำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยคดีนี้ถูกฟ้องจนศาลพิพากษาลงโทษไปเด็ดขาดแล้วนั้น ปรากฏเพียงคดีอาญานั้นจำเลยถูกฟ้องหาว่าร่วมกับ ด. ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และทำร้ายผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,391,83 เท่านั้น ไม่มีมีประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับความเสียหายรถยนต์ของโจทก์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้และไม่มีผลผูกพันจำเลยในคดีนี้ ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์