พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฐานฝ่าฝืนกฎหมายและบทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันการเงิน, อายุความ, และการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และโจทก์ได้นำสืบถึงการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกที่กระทำแต่ละกรรมอย่างละเอียดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทำความผิดไปได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นโมฆะ แม้มีข้อกำหนดขัดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ
ข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนจะกำหนดวิธีการเลิกสัญญาและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไว้โดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ หากผู้ให้เช่าซื้อฝ่าฝืน เมื่อผู้ให้เช่าซื้อชำระค่าปรับตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 แล้วผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถที่จะกลับมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดได้ ดังนั้น แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุเงื่อนไขในการเลิกสัญญาแตกต่างไปจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ก็คงไม่มีผลใช้บังคับเฉพาะข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เพราะสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้หาทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะทั้งฉบับแต่อย่างใดไม่ ส่วนค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดนอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น" เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาเช่าซื้อจึงไม่เป็นโมฆะ
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ข้อ 3(7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่าบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาต่อเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และได้กำหนดโทษในการฝ่าฝืน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือและบอกเลิกสัญญา จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ข้อ 3(7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่าบริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาต่อเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และได้กำหนดโทษในการฝ่าฝืน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือและบอกเลิกสัญญา จึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแต่อย่างใด เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อขัดประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การบอกเลิกสัญญาไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาเช่าซื้อข้อ 7 ก. และข้อ 8 ขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ข้อ 3(7)ก. ที่ออกตามความในมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เพราะตามประกาศดังกล่าวได้กำหนดไว้ว่าจะต้องระบุในสัญญาเช่าซื้อว่า การที่จะถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจะต้องผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติด ๆ กัน และให้ผู้ให้เช่าซื้อต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าซื้อให้ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ติดค้างภายใน 30 วัน หากผู้เช่าซื้อไม่ชำระ ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่ข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าซื้อ แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนจะกำหนดวิธีการเลิกสัญญาและการกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อไว้โดยเฉพาะเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่ก็แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่า ในชั้นแรกหากผู้ให้เช่าซื้อฝ่าฝืนข้อกำหนดในการเลิกสัญญา เมื่อผู้ให้เช่าซื้อชำระค่าปรับตามมาตรา 70 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 แล้วผู้ให้เช่าซื้อก็ยังสามารถที่จะกลับมาปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ ดังนั้น แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุเงื่อนไขในการเลิกสัญญาแตกต่างไปจากประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว ก็คงไม่มีผลใช้บังคับเฉพาะข้อกำหนดในการเลิกสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น เพราะสามารถแยกส่วนที่สมบูรณ์ออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ได้ หาทำให้สัญญาเช่าซื้อตกเป็นโมฆะทั้งฉบับไม่
สำหรับค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัด นอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น ข้อสัญญาข้อนี้เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเช่นกัน
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ข้อ 3 (7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่า "กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสองงวดติด ๆ กัน บริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาเช่าซื้อ ริบบรรดาเงินที่ได้รับชำระแล้ว และกลับเข้าครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อได้ต่อเมื่อบริษัทเงินทุนมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ และผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น" ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และตามมาตรา 70แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ได้กำหนดโทษปรับในการฝ่าฝืน มาตรา 31 ไว้ด้วยจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระรวม 6 งวด ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และบอกเลิกสัญญาจึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
สำหรับค่าเสียหายที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัด นอกจากยอมให้ริบเงินที่ชำระไปแล้วยังต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระทั้งหมดด้วยนั้น ข้อสัญญาข้อนี้เป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเช่นกัน
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์บางประเภทของบริษัทเงินทุนออกตามความในมาตรา 31 แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ข้อ 3 (7) ก. กำหนดวิธีการเลิกสัญญาว่า "กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินรายงวดสองงวดติด ๆ กัน บริษัทเงินทุนจะเลิกสัญญาเช่าซื้อ ริบบรรดาเงินที่ได้รับชำระแล้ว และกลับเข้าครองรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อได้ต่อเมื่อบริษัทเงินทุนมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อยสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ และผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น" ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ไม่ให้เอาเปรียบลูกค้าในการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และตามมาตรา 70แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 ได้กำหนดโทษปรับในการฝ่าฝืน มาตรา 31 ไว้ด้วยจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระรวม 6 งวด ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และบอกเลิกสัญญาจึงไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบและไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน เมื่อสัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์: แยกความผิดของบริษัทกับกรรมการ
อายุความตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 เป็นอายุความสำหรับการกระทำผิดของบริษัทเฉพาะที่เป็นความผิดตามมาตรา 70 เท่านั้นกรณีที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กระทำผิดในขณะมีฐานะเป็นกรรมการของบริษัทและกระทำโดยเจตนา เป็นความผิดตามมาตรา 75 ซึ่งมีอายุความ 5 ปีนับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายหุ้น: การที่โจทก์ไม่ได้พิสูจน์การจัดการซื้อหุ้นและออกเงินทดรอง ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้จัดการซื้อหุ้นให้จำเลยและออกเงินทดรองแทนจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านในปัญหาข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้นแม้จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะ ก็ไม่ทำให้โจทก์ชนะคดีได้ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2871/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้น: ข้อพิพาทเรื่องการจัดการซื้อหุ้นและการรับผิดชอบหนี้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ได้จัดการซื้อหุ้นให้จำเลยและออกเงินทดรองแทนจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านในปัญหาข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ดังนั้นแม้จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะก็ไม่ทำให้โจทก์ชนะคดีได้ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย