พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาคาร: คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี) มิใช่คำสั่งของเทศบาล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่ อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1)นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรี จำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นกับการฟ้องร้องคดีอาคาร: การแยกบทบาทนายกเทศมนตรีและเทศบาล
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้...เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า (1) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล...ดังนั้น นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนเทศบาลเมืองนนทบุรีจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น และที่นายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารก็สั่งในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) หรือไม่ อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าสมควรเรียกนายกเทศมนตรีเมืองนนทบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) หรือไม่ อีกต่อไป เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดี การสืบพยาน และการวินิจฉัยข้อพิพาทเรื่องลายมือชื่อปลอม ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในวันชี้สองสถาน คู่ความแถลงสละข้อต่อสู้อื่น ๆ คงเหลือประเด็นว่าสัญญากู้ตามฟ้องปลอมหรือไม่ แม้จะจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ด้วยว่าคู่ความตกลงท้ากันว่าหากศาลวินิจฉัยฟังว่าลายมือชื่อผู้กู้ปลอมโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่ปลอม จำเลยเป็นฝ่ายแพ้ ก็ไม่ใช่การท้ากันให้ศาลตัดสินคดีไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยคดีไปตามพยานหลักฐาน ฉะนั้น แม้ก่อนสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยต่างขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารที่มีลายมือชื่อของผู้กู้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของผู้กู้ในสัญญากู้นั้นปลอมหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้ตกลงท้ากันโดยหากผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้นดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์เสร็จแล้วส่งรายงานการ ตรวจพิสูจน์กลับคืนมาศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แล้วจึงพิพากษาคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วและให้นัดฟังคำพิพากษาหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์เอกสารและส่งรายงานการตรวจพิสูจน์โดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นเช่นนั้นแล้ว แม้โจทก์มิได้คัดค้านคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) และ(2) ศาลอุทธรณ์ไม่อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปลอมแปลงเงินตราต่างประเทศ: ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษตามกระทงความผิดได้
ป.อ.มาตรา 248 ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดฐานปลอมเงินตราตามมาตรา 240 หรือผู้กระทำความผิดฐานแปลงเงินตราตามมาตรา 241 หรือผู้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 247 ซึ่งได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวด 1 ลักษณะ 7 อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 แต่กระทงเดียวดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 244,246 และมาตรา 247 นั้น เป็นการพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรปลอมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมกระทงหนึ่ง และฐานมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมเงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการปลอมเงินตราดังกล่าวอีกกระทงหนึ่ง โดยศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่าง-ประเทศตามมาตรา 247 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 248 ที่จะต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 247 แต่กระทงเดียว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปลอมเงินตราต่างประเทศ: การพิจารณาความผิดกระทงเดียวตามมาตรา 248
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 248 ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดฐานปลอมเงินตราตามมาตรา 240 หรือผู้กระทำความผิดฐานแปลงเงินตราตามมาตรา 241 หรือผู้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 247 ซึ่งได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวด 1 ลักษณะ 7 อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 แต่กระทงเดียว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244,246 และมาตรา 247 นั้น เป็นการพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรปลอมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมกระทงหนึ่ง และฐานมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมเงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการปลอมเงินตราดังกล่าวอีกกระทงหนึ่ง โดยศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 247 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 248 ที่จะต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 247 แต่กระทงเดียว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และผลต่อความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี
วันออกเช็คตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ คือวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ
วันออกเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯคือวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองและการฟ้องคดีเรียกคืนที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองมีความหมายว่า คดีจะขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทต่อเมื่อมีการแย่งการครอบครองเสียก่อน การที่จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่ไม่เคยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลย ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกินหนึ่งปีคดีก็ไม่ขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาท คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญในคดีที่ว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีนี้โจทก์ฟ้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายและการคิดดอกเบี้ย
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงบางบอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2531 ออกใช้บังคับซึ่งมีที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ด้วยการดำเนินการต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติไปตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ได้บัญญัติไว้ และในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนนั้นคณะกรรมการฯ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานั้นได้แต่งขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับนั้นก็เป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และเจ้าหน้าที่ได้เข้าครอบครอง และใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปโดย มีกฎหมายรองรับอยู่โดยชอบแล้วในขณะนั้น จึงไม่เสียไปแต่อย่างใดแม้ต่อมาพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะสิ้นอายุลง ดังนั้นการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนที่ได้ดำเนินการไปแล้วในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกายังมีผลใช้บังคับอู่จึงใช้ได้ไม่เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ผลของการสิ้นอายุ พ.ร.ฎ. ไม่กระทบสิทธิที่เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงหนองบอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ออกใช้บังคับซึ่งมีที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ด้วย การดำเนินการต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติไปตามที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้บัญญัติไว้ และในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนนั้นคณะกรรมการฯที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.นั้นได้แต่งขึ้นเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับนั้นก็เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว และเจ้าหน้าที่ได้เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปโดยมีกฎหมายรองรับอยู่โดยชอบแล้วในขณะนั้น จึงไม่เสียไปแต่อย่างใด แม้ต่อมา พ.ร.ฎ.ดังกล่าวจะสิ้นอายุลง ดังนั้น การกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนที่ได้ดำเนินการไปแล้วในระหว่างที่ พ.ร.ฎ.ยังมีผลใช้บังคับอยู่จึงใช้ได้ไม่เสียไป