พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จก่อนถูกสอบสวน: ไม่ใช่การให้การในฐานะผู้ต้องหา
จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า "ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตาม แต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่าพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 78, 157, 160 วรรคหนึ่งและ ป.อ.มาตรา 137 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จก่อนถูกกล่าวหา: การแจ้งข้อความเท็จต่อพนักงานสอบสวนก่อนการถูกสอบสวนในความผิดอื่น ไม่ถือเป็นการให้การเท็จ
จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า"ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตามแต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่า พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),78,157,160 วรรคหนึ่ง และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีผู้ร้องสอด - ทุนทรัพย์ที่พิพาทคือราคาที่ดินพิพาทและเงินมัดจำ ไม่ใช่จำนวนเงินที่โจทก์ฟ้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเชิดหรือรู้อยู่แล้วให้พระอธิการช. บุตรจำเลย ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดีนี้เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยและรับเงินมัดจำส่วนของจำเลยจำนวน 220,000 บาท จากโจทก์ ต่อมาจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยรับเงินส่วนที่เหลือ5,893,250 บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 30,000,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยเชิดหรือรู้แล้วยอมให้ผู้ร้องสอดเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือรับเงินมัดจำจากโจทก์จำเลยไม่ได้ขายที่ดินของจำเลยให้แก่บุคคลใดเลย ดังนั้นที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 อ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเพียงคนเดียว ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและริบเงินมัดจำกับโจทก์ในนามของตนเองไม่เกี่ยวกับจำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาทที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น จึงเป็นการที่ผู้ร้องสอดขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการขัดกับข้ออ้างของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อโจทก์และต่อจำเลยและต่อจำเลยมิใช่เป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ฝ่ายเดียวดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้อง สำหรับทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้องนั้น โดยในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาท ซึ่งเท่ากับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน5,893,250 บาท รวมกับเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาทที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดเป็นเงินรวม6,113,250 บาท และในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น หากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดและพิพากษาเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดก็ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน220,000 บาท ที่โจทก์ได้มอบให้ผู้ร้องสอดไว้นั้นได้เองอยู่แล้วเงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ทุนทรัพย์ของคดีที่ผู้ร้องสอดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลด้วย ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาทจำนวน6,113,250 บาท แต่ปรากฏว่าผู้ร้องสอดได้ชำระค่าขึ้นศาลสำหรับทุนทรัพย์จำนวนเพียง 220,000 บาท ยังชำระค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามจำนวนทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน 6,113,250 บาท เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องเป็นจำนวนถึง 35,893,250 บาท และสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดเมื่อผู้ร้องสอดไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดและให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องจำนวน 35,893,250 บาท โดยให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน6,113,250 บาท ให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลกรณีคู่ความฝ่ายที่สามเข้ามาเป็นปฏิปักษ์ต่อทั้งโจทก์และจำเลย ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเชิดหรือรู้อยู่แล้วให้ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นบุตรจำเลยเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยและรับเงินมัดจำส่วนของจำเลยจำนวน 220,000 บาท จากโจทก์ แต่จำเลยไม่ยอมโอนให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยรับเงินส่วนที่เหลือ5,893,250 บาท และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน 30,000,000 บาท ให้แก่โจทก์จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเชิดผู้ร้องสอด ดังนั้นที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ อ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเพียงคนเดียว ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและรับเงินมัดจำกับโจทก์ในนามของตนเอง ไม่เกี่ยวกับจำเลยโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น จึงเป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองและบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่อ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการขัดกับข้ออ้างของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย เป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อโจทก์และต่อจำเลย ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้อง
ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการขอให้ศาลรับรอง คุ้มครองและบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียวผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทซึ่งเท่ากับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ5,893,250 บาท รวมกับเงินมัดจำ 220,000 บาท ที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดเป็นเงินรวม 6,113,250 บาท ส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำ 220,000 บาท ที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น หากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดก็ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์ได้มอบให้ผู้ร้องสอดไว้นั้นได้เองอยู่แล้ว เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ทุนทรัพย์ของคดีที่ผู้ร้องสอดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลด้วย
ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการขอให้ศาลรับรอง คุ้มครองและบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียวผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาทซึ่งเท่ากับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ5,893,250 บาท รวมกับเงินมัดจำ 220,000 บาท ที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดเป็นเงินรวม 6,113,250 บาท ส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำ 220,000 บาท ที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น หากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดก็ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำที่โจทก์ได้มอบให้ผู้ร้องสอดไว้นั้นได้เองอยู่แล้ว เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ทุนทรัพย์ของคดีที่ผู้ร้องสอดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลผู้ร้องสอด: ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนของราคาที่ดินพิพาท
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเชิดหรือรู้อยู่แล้วให้พระอธิการ ช.บุตรจำเลย ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดในคดีนี้ เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของจำเลยและรับเงินมัดจำส่วนของจำเลยจำนวน 220,000 บาท จากโจทก์ ต่อมาจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้พิพากษาบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยรับเงินส่วนที่เหลือ 5,893,250 บาท หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเงิน30,000,000 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยเชิดหรือรู้แล้วยอมให้ผู้ร้องสอดเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือรับเงินมัดจำจากโจทก์ จำเลยไม่ได้ขายที่ดินของจำเลยให้แก่บุคคลใดเลย ดังนั้นที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 อ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเพียงคนเดียว ผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและริบเงินมัดจำกับโจทก์ในนามของตนเองไม่เกี่ยวกับจำเลย โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น จึงเป็นการที่ผู้ร้องสอดขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว อันเป็นการขัดกับข้ออ้างของโจทก์และข้อต่อสู้ของจำเลย จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์ทั้งต่อโจทก์และต่อจำเลย มิใช่เป็นการเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้คดีกับโจทก์ฝ่ายเดียวดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้อง สำหรับทุนทรัพย์ที่ผู้ร้องสอดเรียกร้องนั้น โดยในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าผู้ร้องสอดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาท ซึ่งเท่ากับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 5,893,250 บาท รวมกับเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่ผู้ร้องสอดอ้างว่าโจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดเป็นเงินรวม 6,113,250 บาท และในส่วนที่ผู้ร้องสอดขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องสอดริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาทที่โจทก์วางไว้กับผู้ร้องสอดนั้น หากศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดก็ย่อมมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 220,000 บาท ที่โจทก์ได้มอบให้ผู้ร้องสอดไว้นั้นได้เองอยู่แล้วเงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่ทุนทรัพย์ของคดีที่ผู้ร้องสอดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลด้วยผู้ร้องสอดจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ของราคาที่ดินพิพาทจำนวน6,113,250 บาท แต่ปรากฏว่าผู้ร้องสอดได้ชำระค่าขึ้นศาลสำหรับทุนทรัพย์จำนวนเพียง 220,000 บาท ยังชำระค่าขึ้นศาลไม่ถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามจำนวนทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน 6,113,250 บาท เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องเป็นจำนวนถึง 35,893,250 บาทและสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดเมื่อผู้ร้องสอดไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องสอดและให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ผู้ร้องสอดชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องจำนวน 35,893,250 บาท โดยให้ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินพิพาทจำนวน 6,113,250 บาท ให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5304/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดสิทธิซื้อนาคืนหลังเกินกำหนด 3 ปี แม้มีการปกปิดการขาย ผู้รับโอนไม่ถือว่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าหากผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ผู้เช่านาย่อมมีสิทธิซื้อที่นานั้นจากผู้รับโอน แต่ทั้งนี้การใช้สิทธิดังกล่าวต้องกระทำภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้ถึงการโอนนั้น หรือภายในกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันที่ผู้ให้เช่านาโอนขายนาไป เมื่อปรากฏว่า ส. ผู้ให้เช่านาโอนขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์เป็นระยะเวลาเกินกว่าสามปีแล้วจำเลยที่ 17 ซึ่งเป็นผู้เช่านาพิพาทจึงยื่นเรื่องต่อคชก.จังหวัดปทุมธานี การที่ คชก.จังหวัดปทุมธานีมีคำวินิจฉัยให้จำเลยที่ 17 มีสิทธิซื้อนาพิพาทจากโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะจำเลยที่ 17 หมดสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์แล้วเนื่องจากพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ ต้องเพิกถอนมติดังกล่าว แม้ในขณะจดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ส. จะแจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่จดทะเบียนสิทธิว่าไม่มีผู้เช่านาทั้ง ๆ ที่มีจำเลยที่ 17 เช่าอยู่ อันเป็นการปกปิดการขาย ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 แต่ ส.ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิโดยอิสระในการจำหน่ายทรัพย์สินของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ทั้งจำเลยที่ 17 เองก็ยังคงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากโจทก์ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ดังนี้ จะถือว่า ส.และโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากเจตนาเป็นประมาท ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 192 วรรคสาม
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225ที่จำเลยฎีกาเพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากเจตนาเป็นประมาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้โต้แย้งชัดเจน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายตาม ป.อ.มาตรา 225 ที่จำเลยฎีกาเพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างไร ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 220จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสี่ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเจตนาจุดไฟเผากิ่งมะนาวแห้งในสวนมะนาวของบิดาจำเลย จนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงลุกลามไหม้โรงเรือนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมทั้งสอง ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 220จำเลยให้การปฏิเสธ และนำสืบต่อสู้ทำนองว่า เหตุที่เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของโจทก์ร่วมทั้งสองมิใช่การกระทำของจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โรงเรือนที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แต่เป็นการกระทำโดยประมาท จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย ตาม ป.อ.มาตรา 225 ดังนี้ เป็นกรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ โดยมิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษแล้ว ไม่เข้ากรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสี่ จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้คำให้การต้องแสดงเหตุอันควร หากมิได้อ้างเหตุ ศาลมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้
เมื่อจำเลยขอแก้คำให้การจำเลยก็ต้องแสดงเหตุอันควรมาในคำร้องให้ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 163 วรรคสอง ด้วย แต่ตามคำร้องขอแก้คำให้การของจำเลยจำเลยมิได้อ้างเหตุขอแก้มาในคำร้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้คำให้การต้องแสดงเหตุอันควรครบถ้วนตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยขอแก้คำให้การจำเลยก็ต้องแสดงเหตุอันควรมาในคำร้องให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง ด้วย แต่ตามคำร้องขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยมิได้อ้างเหตุขอแก้มาในคำร้อง ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบแล้ว