พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินส.ค.1 ก่อนเสียชีวิต: ที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า บ.ได้ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส.ค.1 ให้แก่บุตรทั้งห้าคนของตนโดยได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้บุตรทั้งห้าครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ปี 2500 จนกระทั่ง บ.ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2525 ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของ บ.อีกต่อไปดังนั้นเมื่อ บ.ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ บ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ บ.และให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ.เพื่อโจทก์จะได้นำที่ดินพิพาทไปแบ่งปันให้แก่ทายาทของ บ.ต่อไป และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ กรณีสุดวิสัยและไม่ได้รู้เห็น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อน ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์: กรณีสุดวิสัย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถ-จักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนและการแจ้งข้อหา, ความผิดฐานล่วงละเมิดความปกครองผู้เยาว์, ความประสงค์ในการอยู่กินฉันสามีภริยา
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 134 พนักงานสอบสวนอาจทำการสอบสวนได้เมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนในหลายกรณีด้วยกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีการจับตัวผู้ต้องหามามอบให้และทำบันทึกการจับกุมแต่อย่างใด การที่ร้อยตำรวจเอก ส.เบิกความว่าได้จับจำเลยนั้น แม้จะมิใช่การจับในความหมายตามป.วิ.อ.แต่เป็นเรื่องนำตัวจำเลยและผู้เยาว์ไปพบกับพนักงานสอบสวนในฐานะที่ ส.เป็นผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยไว้พร้อมกับแจ้งข้อหาแก่จำเลยและบันทึกคำให้การของจำเลยไว้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยถูกจับกุมโดยเจ้าพนักงานก็เป็นฟ้องที่อาจรับไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำเบิกความของ ส.ที่ว่าไม่มีการจับกุมจำเลยเพราะจำเลยกับผู้เยาว์และผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์มาอยู่ต่อหน้าพยานเอง แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ในวันเกิดเหตุจริง แม้ผู้เยาว์ยินยอมก็มีผลแต่เพียงว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่ผู้เยาว์เท่านั้น แต่การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ห้องพักของพี่ชายจำเลยและได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ มิใช่เป็นไปในลักษณะที่มีความประสงค์จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา นอกจากนี้ก่อนวันเกิดเหตุจำเลยกับผู้เยาว์ร่วมประเวณีกันที่โรงแรม และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันในที่อื่น ๆ อีกหลายครั้งโดยที่จำเลยยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ครั้นถึงวันนัดจะนำสินสอดมาสู่ขอผู้เยาว์จำเลยก็หลบเลี่ยง แสดงว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยา การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ และร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยที่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแล เป็นการล่วงละเมิดความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแลอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคแรก
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยถูกจับกุมโดยเจ้าพนักงานก็เป็นฟ้องที่อาจรับไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำเบิกความของ ส.ที่ว่าไม่มีการจับกุมจำเลยเพราะจำเลยกับผู้เยาว์และผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์มาอยู่ต่อหน้าพยานเอง แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ในวันเกิดเหตุจริง แม้ผู้เยาว์ยินยอมก็มีผลแต่เพียงว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่ผู้เยาว์เท่านั้น แต่การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ห้องพักของพี่ชายจำเลยและได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ มิใช่เป็นไปในลักษณะที่มีความประสงค์จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา นอกจากนี้ก่อนวันเกิดเหตุจำเลยกับผู้เยาว์ร่วมประเวณีกันที่โรงแรม และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันในที่อื่น ๆ อีกหลายครั้งโดยที่จำเลยยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ครั้นถึงวันนัดจะนำสินสอดมาสู่ขอผู้เยาว์จำเลยก็หลบเลี่ยง แสดงว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยา การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ และร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยที่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแล เป็นการล่วงละเมิดความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแลอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การต่ออายุโดยปริยาย การสิ้นสุดสัญญา และการคิดดอกเบี้ย
เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาอีก แม้โจทก์ไม่สนองรับแต่ก็ยอมให้มีการเดินสะพัดในบัญชีกระแสรายวันต่อไป การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับยอมให้ต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับ เมื่อครบกำหนดสัญญาก็ยังคงมีการเดินสะพัดในบัญชีต่อไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือ ถือได้ว่ามีการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปคราวละ 6 เดือน ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ปรากฏว่ามีการถอนเงินและการนำเงินเข้าบัญชีถึงวันที่ 7 เมษายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการถอนเงินจากบัญชีอีก จึงถือว่าคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะเดินสะพัดในบัญชีต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นกำหนดต่ออายุสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญา ต่อจากนั้นคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอนุญาตลาออก, ผลการลาออก, และการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ
คำฟ้องของโจทก์กล่าวเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 จำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งอธิการบดี จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่จ่ายเงินเดือนและเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 1ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวเพราะเหตุใดโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 2มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวด้วยนั้น เป็นการนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507มาตรา 3,4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24(2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2519) ออกตามความใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และมาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วยกฎหมายปฏิบัติการตามที่ กฎหมายมอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทนอ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้ การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94(4) และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94(3) กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15 มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออกส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผล เพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18(1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน 2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 เดิมซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งอนุญาตลาออกของอธิการบดี, การสิ้นสุดสิทธิลูกจ้าง, และการบังคับใช้กฎหมายตามระยะเวลา
คำฟ้องของโจทก์กล่าวเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2530 จำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานจำเลยที่ 1ในตำแหน่งอธิการบดี จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวไม่จ่ายเงินเดือนและเงินช่วยเหลือบุตรให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการของจำเลยที่ 1ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวเพราะเหตุใดโจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวด้วยนั้น เป็นการนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507มาตรา 3, 4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24 (2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519)ออกตามความใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507และมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7 วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่าอ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม.ปฏิบัติการตามที่ ก.ม.มอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทน อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้
การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94 (4)และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์ โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94 (3)กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออก ส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผลเพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพ.ร.ฎ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88เดิม ซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507มาตรา 3, 4 ประกอบกับข้อ 10 ข้อ 24 (2) แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519)ออกตามความใน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ.2507และมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 กำหนดให้อธิการบดีผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติของ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเงินเดือนตั้งแต่ระดับ 9ลงมาออกจากราชการได้ และข้อ 7 วรรคสี่ แห่งกฎทบวงดังกล่าวกำหนดว่าอ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎทบวงนี้ และมีหน้าที่ช่วย ก.ม.ปฏิบัติการตามที่ ก.ม.มอบหมาย ข้อ 8 อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมีอำนาจตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำการตามที่ อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยมอบหมาย แสดงว่า อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีอำนาจตั้งบุคคลอื่นปฏิบัติการตามที่ อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยมอบหมายได้เมื่อที่การประชุม อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีมติอนุมัติในหลักการมอบอำนาจให้อธิการบดี ประธาน อ.ก.ม.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับ 9 ลงมาลาออกจากราชการแทน อ.ก.ม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการได้
การที่โจทก์ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่เริ่มรับราชการในหนังสือขอลาออกจากราชการ เป็นเพียงรายละเอียด ไม่ทำให้หนังสือขอลาออกของโจทก์ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด ส่วนหลักเกณฑ์ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดขึ้นโดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยซึ่งประสงค์จะขอลาออกจากราชการปฏิบัติเพื่อให้ระยะเวลาสำหรับผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจพิจารณาการสั่งอนุญาตการลาออกว่าจะสั่งอนุญาตให้ผู้ขอลาออกจากราชการหรือจะสั่งยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกโดยดำเนินการ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเป็นสำคัญ ฉะนั้น แม้ผู้ขอลาออกจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตสละประโยชน์แห่งระยะเวลาดังกล่าวโดยสั่งอนุญาตให้ผู้นั้นลาออกจากราชการตามความประสงค์ของผู้ขอลาออกแล้ว คำสั่งนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ โดยไม่จำต้องแจ้งคำสั่งอนุญาตการลาออกให้โจทก์ทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน ตามระเบียบดังกล่าว และที่และเมื่อระเบียบดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตามมาตรา 94 (4)และ (5) เท่านั้น ส่วนกรณีของโจทก์ โจทก์ออกจากราชการตามมาตรา 94 (3)กล่าวคือ โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามมาตรา 95 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ดังนี้ ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาใช้บังคับแก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตการลาออกอนุญาตให้โจทก์ออกจากราชการในวันที่ 15มกราคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ขอลาออก ย่อมมีผลให้โจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันขอลาออก ส่วนกรณีที่โจทก์ยังคงรับราชการต่อมาเพราะยังไม่ทราบคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากราชการก็มีผลเพียงทำให้โจทก์ได้รับสิทธิตามพ.ร.ฎ.การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2522 มาตรา 18 (1) ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ไว้เท่านั้น
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2535มาตรา 18 ที่บัญญัติว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องบังคับแก่คดีดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2535 และคดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 4 มิถุนายน2535 ดังนี้ในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88เดิม ซึ่งกำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาแผ่นดิน เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด แม้หนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผิด
ข้อหาหรือฐานความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรในคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดหรือไม่ แม้จะปรากฏในหนังสือมอบอำนาจว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้ป. แจ้งความดำเนินคดีแก่บุคคลที่ชื่อว่า ส. แต่เนื่องจากการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาเป็นอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายอาจจะกล่าวโทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าหนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผู้กระทำความผิดหรือไม่ เจ้าพนักงานตำรวจก็ดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้อยู่แล้ว การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ลำพังแต่หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายระบุชื่อผู้กระทำความผิดไม่ถูกต้องไม่ทำให้การดำเนินคดีไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4078/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการมอบฉันทะและขอบเขตการดำเนินการแทนจำเลยในเรื่องค่าธรรมเนียมศาล
ทนายความอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำการแทนได้ในกิจการที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 เท่านั้น ส่วนกิจการอื่นต้องพิเคราะห์เป็นเรื่อง ๆ ไปว่า เป็นกิจการสำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่า ทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเองหรือไม่
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายทำการแทนในกิจการต่อไปนี้ คือยื่นอุทธรณ์คำร้องขอทุเลาการบังคับคดี รับทราบคำสั่งศาลเรื่องอื่น ๆ ถ้ามี ตามใบมอบฉันทะไม่ทำให้เสมียนทนายจำเลยมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลานำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 โดยลงชื่อในคำร้องเองได้
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์จำเลยได้ชำระค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่เป็นกรณีที่จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมและประกันหนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิใช่เป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์จำเลยและศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเมื่อโจทก์จำเลยและศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วโจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่