คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญ: สิทธิในการขอคืนทุนก่อนเลิกห้าง
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ.ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์ลงหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์จำเลยและศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเมื่อโจทก์จำเลยและศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วโจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, กรรมการบริษัท, หนังสือรับรอง, การมอบอำนาจ, ค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้มีอำนาจสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนและผูกพันโจทก์ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 โดยโจทก์แนบสำเนาหนังสือรับรองมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือรับรองดังกล่าวสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้และปรากฏชื่อ ธ.กับ ว.รวมอยู่ในรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทด้วยและโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อตามหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่า สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ไม่ใช่ต้นฉบับของทางราชการ หรือมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ และหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คำให้การของจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงเรื่องกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่ามิได้เป็นไปตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยยกเหตุที่หนังสือรับรองอำนาจกรรมการบริษัทโจทก์เป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และศาลอุทธรณ์นำหนังสือรับรองตามเอกสารหมาย จ.1 ไปเปรียบเทียบกับหนังสือรับรองอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าแทนบริษัทโจทก์ได้แล้ววินิจฉัยว่าขณะยื่นคำฟ้องกรรมการบริษัทโจทก์คนหนึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ตามต้นฉบับหนังสือรับรองตรงกับสำเนาหนังสือรับรองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะยื่นคำฟ้องอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์มีอยู่จริง และการมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฟ้อง
จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้มีสามกรณี คือ ค่าขาดประโยชน์ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนที่โจทก์จะยึดรถคืนค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถยนต์ กับค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบเนื่องจากการผิดสัญญาโดยทั่วไป เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่การที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าราคาที่ได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่พอชำระหนี้ต่าง ๆที่ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมที่จะชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่เจ้าของจนครบมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์ขอมาสูงเกินไปศาลก็ชอบที่จะลดลงได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายโดยไม่ได้แยกว่าส่วนใดโจทก์ลดลงมาเท่าใด แม้ว่าเป็นการนำสืบที่ไม่ชัดแจ้งแต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ตามที่เห็นสมควรได้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้เจ้าของคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่เมื่อค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ไม่ได้ราคาเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหลังจากหักเงินที่โจทก์รับไว้แล้ว ตลอดจนค่าติดตามยึดรถคืนไม่ใช่ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในจำนวนเงินดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 นับถัดจากวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ, อัตราดอกเบี้ย, การลดหย่อนค่าเสียหาย, การชำระหนี้
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้มีอำนาจสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนและผูกพันโจทก์ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 โดยโจทก์แนบสำเนาหนังสือรับรองมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือรับรองดังกล่าวสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ออกให้และปรากฏชื่อ ธ.กับว. รวมอยู่ในรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทด้วยและโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อตามหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่า สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ไม่ใช่ต้นฉบับของทางราชการ หรือมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ และหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงเรื่องกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่ามิได้เป็นไปตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยยกเหตุที่หนังสือรับรองอำนาจกรรมการบริษัทโจทก์เป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และศาลอุทธรณ์นำหนังสือรับรองตามเอกสารหมาย จ.1 ไปเปรียบเทียบกับหนังสือรับรองอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าแทนบริษัทโจทก์ได้แล้ววินิจฉัยว่าขณะยื่นคำฟ้อง กรรมการบริษัทโจทก์คนหนึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ตามต้นฉบับหนังสือรับรองตรงกับสำเนาหนังสือรับรองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะยื่นคำฟ้องอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์มีอยู่จริงและการมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฟ้อง จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้มีสามกรณี คือค่าขาดประโยชน์ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนที่โจทก์จะยึดรถคืนค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถยนต์ กับค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบเนื่องจากการผิดสัญญาโดยทั่วไป เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อและยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ การที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าราคาที่ได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่พอชำระหนี้ต่าง ๆ ที่ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อ ตกลงยินยอมที่จะชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่เจ้าของจนครบมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์ขอมาสูงเกินไปศาลก็ชอบที่จะลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายโดยไม่ได้แยกว่าส่วนใดโจทก์ลดลงมาเท่าใด แม้ว่าเป็นการนำสืบที่ไม่ชัดแจ้งแต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ตามที่เห็นสมควรได้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้เจ้าของคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่เมื่อค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ไม่ได้ราคาเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหลังจากหักเงินที่โจทก์รับไว้แล้ว ตลอดจนค่าติดตามยึดรถคืนไม่ใช่ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในจำนวนเงินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 นับถัดจากวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ศาลมีอำนาจยกการบังคับคดีได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไปขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาทเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296เบญจกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองย่อมไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีเฉพาะบ้านพิพาทและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและการปฏิบัติตามขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดี
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์ และห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไปปรากฏว่าขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาท เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา
ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ.มาตรา 296 เบญจ กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองจึงไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีดังกล่าวและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อนฟ้องคดี
คดีนี้โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทและแจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยไม่ออกไป โจทก์ก็ฟ้องคดีทันที ส่วนจำเลยเมื่อถูกโจทก์ฟ้องขับไล่ก็ฟ้องแย้งขอซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ทันทีเช่นกัน โดยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 กำหนดไว้ ตามมาตรา 34,35,54,56 เมื่อ คชก. ตำบลท่าเสา และ คชก. จังหวัดสมุทรสาครยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวของโจทก์ จำเลย การฟ้องคดีของโจทก์ก็ดี การฟ้องแย้งของจำเลยก็ดีเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 57 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และจำเลยก็ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งขอซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่นา โจทก์ไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ โจทก์ยกขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ กรณีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกที่ดินที่เป็นทรัสต์ก่อนใช้ พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์ 2478: กฎหมายที่ใช้บังคับ
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ที่ดินโฉนดตามคำร้องขอเป็นทรัพย์ของ ล. ล.ตาย พ.ศ.2480 หรือ 2481 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้ร้องไปขอรับมรดก แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดการให้ได้ต้องมีผู้จัดการมรดกเสียก่อนนั้น แต่ตามสำเนาโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวมีข้อความว่า โฉนดที่ดินฉบับนี้...ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเจ้าพนักงานออกโฉนดดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2462 แสดงให้เห็นว่า ล.มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นทรัสตีของที่ดินแปลงนี้ซึ่งใช้เป็นป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของ ล.อันจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทรัสต์ที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 ซึ่งเป็นวันใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 มาตรา 1686 ย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้ได้เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลัง การมีชื่อ ล.เป็นทรัสตีในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งได้ทำก่อนวันใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 กรณีจึงต้องใช้กฎหมายก่อน ป.พ.พ.บรรพ 6 บังคับ คือ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2459 มาตรา 8 ที่กำหนดว่า ถ้าผู้ใดเป็นทรัสตีในเรื่องที่ดินมีโฉนดแผนที่แล้วให้มีอำนาจมาจดทะเบียนชื่อให้มีข้อความบ่งชัดในหลังโฉนดว่าเป็นทรัสตีด้วย ดังนี้ ข้อความที่บันทึกไว้ในโฉนดที่ดินที่ว่าโฉนดที่ดินฉบับนี้...ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจึงเป็นหลักฐานเพียงพอที่ฟังได้ว่ามีการตั้งทรัสตีขึ้นจริง เพราะตามกฎหมายเรื่องทรัสต์ขณะนั้นยังไม่ปรากฏว่าการตั้งทรัสตีจะต้องทำเป็นตราสารตามแบบพิธีอย่างใดเป็นพิเศษกรณีไม่จำต้องมีการจัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัสต์ที่ดินก่อนประมวลกฎหมายแพ่ง: การจัดการมรดกและการพิสูจน์การตั้งทรัสต์
โฉนดที่ดินซึ่งออกให้ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2462 มีข้อความว่า โฉนดที่ดินฉบับนี้ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล. ในหน้าที่ทรัสต์ป่าช้าจีน แสดงให้เห็นว่า ล. มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นทรัสต์ที่จะต้องมีการตั้งผู้จัดการมรดกที่ดินแปลงนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของ ล. อันจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
ทรัสต์ที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 ซึ่งเป็นวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มาตรา 1686 มีผลสมบูรณ์ใช้ได้เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลัง
ล. มีชื่อเป็นทรัสต์ในโฉนดที่ดินก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6 จึงต้องใช้กฎหมายก่อนนั้นบังคับ คือ พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 2พ.ศ. 2459 มาตรา 8 ซึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ใดเป็นทรัสต์ในเรื่องที่ดินมีโฉนดแผนที่แล้วให้มีอำนาจมาจดทะเบียนชื่อให้มีข้อความบ่งชัดในหลังโฉนดว่าเป็นทรัสต์ด้วย เมื่อโฉนดที่ดินว่าโฉนดที่ดินมีข้อความฉบับนี้ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล. ในหน้าที่ทรัสต์ป่าช้าจีน จึงฟังได้ว่ามีการตั้งทรัสต์ขึ้นจริง เพราะตามกฎหมายเรื่องทรัสต์ขณะนั้นการตั้งทรัสต์ไม่ต้องทำเป็นตราสารตามแบบพิธีอย่างใดเป็นพิเศษ
of 32