พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3446/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม: การใช้ที่ดินปลูกโรงเรือนไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพที่นา
ที่ดินส่วนที่ ช.ผู้เช่านาปลูกโรงเรือนมีเนื้อที่ประมาณ 40ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินทั้งแปลงที่มีเนื้อที่ 19 ไร่ 25 ตารางวาที่ ช.เช่าทำนา แม้ ช.ถมดินในการปลูกโรงเรือนและปลูกต้นไม้บางต้น แต่ที่ดินที่ ช.ใช้ในการปลูกโรงเรือนดังกล่าวยังคงเป็นที่นาอยู่ หาได้เปลี่ยนแปลงสภาพที่นาเป็นที่อยู่อาศัยไม่ ที่นาพิพาทที่เช่าเพื่อทำนานั้นจึงถือได้ว่าเป็นที่นาทั้งแปลง ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินจะใช้เป็นที่ปลูกโรงเรือนอยู่อาศัยหรือไม่ และตามคำนิยามคำว่า "นา" ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 21ก็ให้ความหมายว่า "ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่" ซึ่งแสดงว่าที่ดินส่วนที่ไม่ได้ใช้ทำนาก็ยังคงเป็นที่นาอยู่ ดังนี้การกระทำของ ช.จึงมิใช่เป็นการใช้ที่นาพิพาทเพื่อการอย่างอื่นนอกจากการทำนาหรือทำให้สภาพของที่นาพิพาทเปลี่ยนแปลง โจทก์ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิบอกเลิกการเช่านาก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 31 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดีซ้ำซ้อน: สัญญาเดิม vs. การเรียกร้องทรัพย์สินคืนหลังเลิกสัญญา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 สั่งปิดกิจการภัตตาคารและสั่งห้ามมิให้โจทก์และพนักงานการเงินของโจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับการเก็บรายได้จากภัตตาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรายได้เองและไม่ยอมมอบเงินรายได้นั้นให้โจทก์ทั้ง ๆ ที่สัญญาได้ระบุไว้ว่าให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรายได้และรายจ่ายในการดำเนินกิจการภัตตาคารนั้นทั้งหมดขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ส่งมอบการเก็บรายได้จากการประกอบกิจการภัตตาคารให้โจทก์เข้าไปเป็นผู้เก็บรายได้นั้นต่อไปและใช้ค่าเสียหายอันเป็นรายได้จากการประกอบกิจการนั้นที่จำเลยที่ 1 เก็บไว้คืนให้โจทก์ โดยมิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วยในระหว่างพิจารณาคดีก่อนโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เรียกเอาค่าหลักประกันสัญญา ค่าตกแต่งสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ และค่าวัตถุดิบคงเหลืออันเป็นทรัพย์สินของโจทก์คืนเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งเลิกสัญญาแล้ว มิใช่เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาอย่างคดีแรก ดังนี้เป็นคนละเรื่องกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเดิม กับการฟ้องขอทรัพย์สินคืนเมื่อเลิกสัญญา มิใช่ฟ้องซ้อน
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยสั่งปิดกิจการภัตตาคารและสั่งห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับการเก็บรายได้จากภัตตาคารดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1เป็นผู้เก็บรายได้เองและไม่ยอมมอบเงินรายได้นั้นให้โจทก์ทั้ง ๆ ที่สัญญาระบุว่าให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรายได้นั้นทั้งหมด ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ส่งมอบการเก็บรายได้จากการประกอบกิจการภัตตาคารดังกล่าวให้โจทก์เข้าไปเป็นผู้เก็บรายได้นั้นต่อไปและใช้ค่าเสียหายอันเป็นรายได้จากการประกอบกิจการนั้นที่จำเลยที่ 1 เก็บไว้คืนให้โจทก์คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกโดยเรียกเอาค่าหลักประกันสัญญาค่าตกแต่งสถานที่ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าวัตถุดิบคงเหลืออันเป็นทรัพย์สินของโจทก์คืนทั้งนี้ก็เพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งเลิกสัญญาแล้ว มิใช่เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาอย่างคดีแรก จึงเป็นคนละเรื่องกัน อีกทั้งในคดีแรกจำเลยที่ 2 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุดในต่างประเทศ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามข้อตกลง
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด, เอกสารแปล, อัตราดอกเบี้ยผิดนัด
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 วรรคแรก
ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด การรับฟังเอกสารต่างประเทศ และดอกเบี้ยผิดนัด
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลยโจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศเมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคาผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา472วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่นเมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้วศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่าโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ15ต่อปีจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องฉ้อโกงที่ไม่ระบุชื่อกฎหมาย แต่เนื้อหาชัดเจนเพียงพอ ศาลไม่ถือว่าฟ้องไม่สมบูรณ์
หน้าคำฟ้องของโจทก์ลงข้อหาว่าฉ้อโกง และโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพเท่ากับจำเลยยอมรับว่าได้กระทำการต่างๆ ดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง แม้ว่าส่วนคำขอท้ายฟ้องพิมพ์ไว้แต่เพียงว่าขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 59, 341โดยมิได้อ้างชื่อกฎหมายแห่งมาตรานั้นๆ ก็ตาม แต่เมื่อประมวลคำฟ้องโจทก์แล้วทราบได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษนั้นคือ ป.อ.ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ทั้งมาตราที่พิมพ์ไว้ในคำขอท้ายฟ้องตรงกับมาตราที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.ในหมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดตกบกพร่องเพียงแต่มิได้ระบุชื่อของกฎหมายเท่านั้น แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษเป็นกฎหมายอะไร จึงหาเพียงพอที่จะถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)ไม่ ฟ้องโจทก์สมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาไม่ระบุชื่อกฎหมายที่อ้างถึง แต่จากเนื้อหาฟ้องสามารถระบุได้ว่าอ้างถึงกฎหมายอาญา จึงถือเป็นฟ้องสมบูรณ์
หน้าคำฟ้องของโจทก์ลงข้อหาว่าฉ้อโกง และโจทก์บรรยายฟ้อง ถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะ ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์บรรยาย มาในฟ้อง แม้ว่าส่วนคำขอท้ายฟ้องพิมพ์ไว้แต่เพียงว่า ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 59,341 โดยมิได้อ้างชื่อกฎหมาย แห่งมาตรานั้น ๆ ก็ตาม แต่เมื่อประมวลคำฟ้องโจทก์แล้วทราบได้ว่า กฎหมายที่ขอให้ลงโทษนั้นคือประมวลกฎหมายอาญาซึ่งใช้บังคับอยู่ ในปัจจุบัน ทั้งมาตราที่พิมพ์ไว้ในคำขอท้ายฟ้องตรงกับ มาตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาในหมวด 3 ความผิด ฐานฉ้อโกง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดตกบกพร่องเพียงแต่มิได้ ระบุชื่อของกฎหมายเท่านั้น แต่เมื่อมีพฤติการณ์แสดงให้เห็น ได้ว่ากฎหมายที่ขอให้ลงโทษเป็นกฎหมายอะไร จึงหาเพียงพอที่จะ ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) ไม่ ฟ้องโจทก์สมบูรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากการถูกรื้อบ้าน: การกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ
แม้ผู้ตายกับจำเลยจะเคยเป็นสามีภริยากันแต่ก็ได้หย่าขาดกันแล้วผู้ตายไม่มีความชอบธรรมที่พาพวกมารื้อบ้านจำเลยถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุเมื่อจำเลยห้ามปรามกลับถูกผู้ตายด่าด้วยถ้อยคำหยาบคายทั้งสภาพบ้านของจำเลยที่ถูกผู้ตายกับพวกรื้อเอาไม้กระดานและฝาบ้านออกจากตัวบ้านจนไม่อยู่ในสภาพจะใช้อยู่อาศัยได้การกระทำของผู้ตายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมเหลือวิสัยที่จำเลยจะอดกลั้นโทสะไว้ได้จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในทันทีการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยานพาหนะ, การผิดนัดชำระหนี้, ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์, ดอกเบี้ย, ค่าขึ้นศาล
โจทก์และจำเลยทำสัญญาร่วมลงทุนดำเนินการขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย โดยโจทก์ได้มอบยานพาหนะให้จำเลยควบคุมดูแลรักษาใช้งาน มีกำหนด 60 เดือน นับแต่วันส่งมอบ ยานพาหนะ ทั้งนี้โดยจำเลยต้องเสียค่าตอบแทนให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 2,400,000 บาท ตามสัญญาร่วม ลงทุนและรายละเอียดแนบท้ายสัญญา ต่อมาโจทก์และจำเลยได้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนดังกล่าว โดยโจทก์ตกลง ยินยอมให้ลดค่าตอบแทนลงเหลือเดือนละ 2,000,000 บาท ตั้งแต่งวดที่ 30 ประจำเดือนตุลาคม 2529 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดอายุสัญญา ซึ่งตามรายละเอียดแนบท้ายที่พิพาทข้อ 11.3 ว่าในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะ เปลี่ยนแปลงสัญญาจากการร่วมลงทุนเป็นการซื้อ - ขาย เงินสดแทน จำเลยจะต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือ ทั้งหมดจนวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 นอกจากนี้แล้วสัญญาข้อ 8.6 ซึ่งระบุว่า ในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะซื้อหรือไม่ซื้อยานพาหนะตามมูลค่าที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 8.5 จำเลยจะต้องแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญา และสัญญาข้อ 8.7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยตกลงจะซื้อยานพาหนะทั้งหมดหรือบางส่วนตามข้อ 8.5 จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้จากโจทก์ ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระราคาของ ยานพาหนะดังกล่าวภายในกำหนด ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดเป็นต้นไปจนถึงวันที่โจทก์ได้รับการชำระเงิน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ยอมขายยานพาหนะที่จำเลยได้แจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรตกลงจะซื้อจากโจทก์แต่อย่างใดเลยจึงต้องถือว่าโจทก์ได้ให้คำมั่นว่าจะขายยานพาหนะพิพาทให้จำเลยเมื่อจำเลยแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน โดยจำเลยต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมด จนถึงวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 เป็นราคาของ ยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ การที่จำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นการซื้อขาย อันเป็นการแจ้งแก่โจทก์เช่นนั้นก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 90 วัน แล้ว สัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเกิดขึ้นทันทีที่คำบอกกล่าวนั้นไปถึงโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 454 วรรคหนึ่ง และเมื่อสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว กรรมสิทธิ์ในยานพาหนะพิพาททั้งหมดย่อมโอนไปยังจำเลยผู้ซื้อตั้งแต่ขณะที่เกิดสัญญาซื้อขายนั้นขึ้นจากการที่โจทก์ได้รับคำบอกกล่าวแสดงความจำนงจะซื้อยานพาหนะพิพาทของจำเลยตาม ป.พ.พ มาตรา 458 แล้ว
เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิตามสัญญาร่วมลงทุนแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญาซื้อขายตามหนังสือของจำเลย ทำให้เกิดสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมมีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้น โดยจำเลยต้องชำระค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมดจนถึงวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน บวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอให้โจทก์รับเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือจำนวน 14,000,000 บาท และมูลค่าคงเหลือของ ยานพาหนะพิพาทจำนวน 6,534,580 บาท รวมเป็นเงิน 20,534,580 บาท จากจำเลยพร้อมกับโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยแต่โจทก์กลับขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยโดยยังไม่ยอมโอนหรือส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้จำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งจะต้องชำระหนี้ตอบแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ไม่เสนอที่จะชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงกระทำ โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 210 โดยจำเลยมีสิทธิที่จะไม่ยอมชำระหนี้ของตนจนกว่าโจทก์จะชำระหนี้ของโจทก์โดยการส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทหรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ด้วย และเมื่อโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดเช่นนี้แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 221 ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 นั้นหมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ซึ่งการซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้น แต่สัญญาขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดจากการที่จำเลยแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญา ซื้อขาย มิใช่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 457 ดังนั้นเมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบหรือโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าว ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการให้จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของยานพาหนะพิพาทในทะเบียนยานพาหนะพิพาทนั้น จึงย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์แต่ผู้เดียวด้วย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 20,534,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้โจทก์ดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนของยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการทั้งหมด จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์และจำเลยเสียค่าใช้จ่ายใน การดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยคนละครึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทเป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ให้แก่โจทก์ และต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาสำหรับคำขอให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว กับเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วยเท่านั้น แต่ปรากฏว่า จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 189,302.50 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 7,572,126.97 บาท โดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท ด้วย และเสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200,000 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 10,138,948 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินมา สมควรสั่งคืนแก่จำเลยด้วย
เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิตามสัญญาร่วมลงทุนแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญาซื้อขายตามหนังสือของจำเลย ทำให้เกิดสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมมีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้น โดยจำเลยต้องชำระค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมดจนถึงวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน บวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอให้โจทก์รับเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือจำนวน 14,000,000 บาท และมูลค่าคงเหลือของ ยานพาหนะพิพาทจำนวน 6,534,580 บาท รวมเป็นเงิน 20,534,580 บาท จากจำเลยพร้อมกับโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยแต่โจทก์กลับขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยโดยยังไม่ยอมโอนหรือส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้จำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งจะต้องชำระหนี้ตอบแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ไม่เสนอที่จะชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงกระทำ โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 210 โดยจำเลยมีสิทธิที่จะไม่ยอมชำระหนี้ของตนจนกว่าโจทก์จะชำระหนี้ของโจทก์โดยการส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทหรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ด้วย และเมื่อโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดเช่นนี้แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 221 ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 นั้นหมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ซึ่งการซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้น แต่สัญญาขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดจากการที่จำเลยแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญา ซื้อขาย มิใช่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 457 ดังนั้นเมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบหรือโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าว ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการให้จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของยานพาหนะพิพาทในทะเบียนยานพาหนะพิพาทนั้น จึงย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์แต่ผู้เดียวด้วย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 20,534,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้โจทก์ดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนของยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการทั้งหมด จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์และจำเลยเสียค่าใช้จ่ายใน การดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยคนละครึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทเป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ให้แก่โจทก์ และต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาสำหรับคำขอให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว กับเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วยเท่านั้น แต่ปรากฏว่า จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 189,302.50 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 7,572,126.97 บาท โดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท ด้วย และเสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200,000 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 10,138,948 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินมา สมควรสั่งคืนแก่จำเลยด้วย