คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็ค และความสำคัญของการชำระหนี้จริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้ ส.ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินไปจาก ส.แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์คดีอาญาซึ่ง ส.ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ว่า โจทก์ออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยย่อมมีความผิดตามฟ้อง แต่เนื่องจากในขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและมีกฎหมายฉบับใหม่ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ออกมาใช้บังคับแทน ซึ่งการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนกรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 อีกต่อไป ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: กฎหมายใหม่ทำให้คำเบิกความไม่เป็นความสำคัญ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทให้ ส. ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ที่1กู้ยืมเงินไปจาก ส. แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่ ส. ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่เนื่องจากในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์ทั้งสองนำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มี พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลังการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่กรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ดังนี้คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนี้อันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จการกระทำของจำเลยไม่เป็นของผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็คต่อความผิดฐานเบิกความเท็จ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้ส.ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินไปจากส.แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์คดีอาญาซึ่ง ส.ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้องคำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยย่อมมีความผิดตามฟ้องแต่เนื่องจากในขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและมีกฎหมายฉบับใหม่คือพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับแทนซึ่งการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายส่วนกรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4อีกต่อไปดังนี้คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89,106 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 78 คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 ทวิ จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี4 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิเฉพาะในเรื่องโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยโดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานนี้นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนปริมาณมากเพื่อจำหน่ายเข้าข่ายความผิดฐานขายและมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีจำนวนถึง170เม็ดซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าจะใช้เสพเองทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่1เสพเมทแอมเฟตามีนเองด้วยเชื่อได้ว่าจำเลยที่1มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ผู้อื่นอันเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2และเมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์2.876กรัมซึ่งเกินปริมาณ0.500กรัมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้มีได้จำเลยที่1จึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายและครอบครองเมทแอมเฟตามีนเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีจำนวนถึง170 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าจะใช้เสพเอง ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 1เสพเมทแอมเฟตามีนเองด้วย เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ผู้อื่นอันเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และเมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 2.876 กรัมซึ่งเกินปริมาณ 0.500 กรัม ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้มีได้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน กรณีฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์เพื่อดำเนินคดีแทน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินเนื้อที่ 44 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ในปี 2529 โจทก์ให้ ศ.เช่าปลูกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่นอนฟองน้ำจำนวน 5 ไร่ ค่าเช่าไร่ละ 1,000 บาทต่อปี มีกำหนดการเช่า 30 ปี เช่าได้ 3 ถึง 4 ปี เกิดไฟไหม้โรงงานหมดสิ้นจึงมีกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยจัดการแทน แต่จำเลยอ้างว่าต้องให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงจะดำเนินการได้และโจทก์ไม่ต้องเสี่ยง โจทก์จึงให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตกลงกันว่าหากคดีเสร็จแล้วจำเลยจะคืนที่ดินให้โจทก์ ส่วนผลประโยชน์ค่าเช่าหรือรายได้อื่นของที่ดินระหว่างที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ จำเลยจะยกให้โจทก์ทั้งหมด ต่อมาโจทก์ทราบว่าคดีเสร็จแล้ว จำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าใหม่ในปี 2534 โดยจำเลยได้รับเงินกินเปล่า 400,000 บาท และค่าเช่าเป็นรายปี ปีละประมาณ 15,000บาท ถึง 18,000 บาท อีกด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อฉลใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าโจทก์จะถูกฟ้องร้องแบ่งที่ดิน ต้องให้จำเลยจัดการและต้องให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงจะจัดการได้ จนโจทก์หลงเชื่อยอมจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งหมด ขอให้พิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวโดยให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ดังเดิม คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับแล้ว ส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า ตั้งแต่จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น จำเลยไม่เคยแบ่งค่าเช่าหรือผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้โจทก์หรือมอบให้โจทก์ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรในการดำรงชีวิต จำเลยไม่เอาใจใส่เลี้ยงดูโจทก์ ทั้งพูดจากระทบกระเทียบบีบบังคับจนโจทก์ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทและโจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันต่อไปได้โจทก์ต้องไปอาศัยผู้อื่นอยู่ เป็นการประพฤติเนรคุณนั้น เป็นเพียงการบรรยายประกอบให้เห็นพฤติการณ์อันไม่สมควรที่จำเลยได้กระทำต่อโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน ระหว่างที่จำเลยดำเนินการแทนโจทก์ในกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าที่ดินพิพาทเท่านั้นมิใช่เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยโจทก์ประสงค์จะให้มีการบังคับแก่จำเลยเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากในขณะเดียวกันไม่คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นคำฟ้องที่ตั้งประเด็นเป็น 2 นัย ซึ่งขัดแย้งกันแต่อย่างใดฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ดังนี้ ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทน มิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อน อันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเสน่หา มิใช่เพื่อจัดการคดีเช่า ศาลยกฟ้องเพิกถอนการโอน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าเดิมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินเนื้อที่44ไร่3งาน28ตารางวาในปี2529โจทก์ให้ศ.เช่าปลูกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่นอนฟ้องน้ำจำนวน5ไร่ค่าเช่าไร่ละ1,000บาทต่อปีมีกำหนดการเช่า30ปีเช่าได้3ถึง4ปีเกิดไฟไหม้โรงงานหมดสิ้นจึงมีกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยจัดการแทนแต่จำเลยอ้างว่าต้องให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงจะดำเนินการได้และโจทก์ไม่ต้องเสี่ยงโจทก์จึงให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตกลงกันว่าหากคดีเสร็จแล้วจำเลยจะคืนที่ดินให้โจทก์ส่วนผลประโยชน์ค่าเช่าหรือรายได้อื่นของที่ดินระหว่างที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่จำเลยจะยกให้โจทก์ทั้งหมดต่อมาโจทก์ทราบว่าคดีเสร็จแล้วจำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าใหม่ในปี2534โดยจำเลยได้รับเงินกินเปล่า400,000บาทและค่าเช่าเป็นรายปีปีละประมาณ15,000บาทถึง18,000บาทอีกด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อฉลใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าโจทก์จะถูกฟ้องร้องแบ่งที่ดินต้องให้จำเลยจัดการและต้องให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงจะจัดการได้จนโจทก์หลงเชื่อยอมจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งหมดขอให้พิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวโดยให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ดังเดิมคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับแล้วส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าตั้งแต่จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจำเลยไม่เคยแบ่งค่าเช่าหรือผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้โจทก์หรือมอบให้โจทก์ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรในการดำรงชีวิตจำเลยไม่เอาใจใส่เลี้ยงดูโจทก์ทั้งพูดจากระทบกระเทียบบีบบังคับจนโจทก์ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทและโจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันต่อไปได้โจทก์ต้องไปอาศัยผู้อื่นอยู่เป็นการประพฤติเนรคุณนั้นเป็นเพียงการบรรยายประกอบให้เห็นพฤติการณ์อันไม่สมควรที่จำเลยได้กระทำต่อโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทนระหว่างที่จำเลยดำเนินการแทนโจทก์ในกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าที่ดินพิพาทเท่านั้นมิใช่เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยโจทก์ประสงค์จะให้มีการบังคับแก่จำเลยเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากในขณะเดียวกันไม่คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นคำฟ้องที่ตั้งประเด็นเป็น2นัยซึ่งขัดแย้งกันแต่อย่างใดฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมแต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมดังนี้ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทนมิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตามแต่ปรากฎว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้วจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อนอันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาผิดนัดชำระค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย การกำหนดวันเริ่มต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องชำระค่าปรับตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยนำมาชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยจำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันเป็นการกระทำฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย ต้องเริ่มนับ 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม 2535 ตามมาตรา 193/3 วรรคสาม และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาชำระหนี้ตามหนังสือแจ้งหนี้ และผลของการผิดนัดชำระ
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม2535 และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 แห่งป.พ.พ.ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป
of 32