คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการบังคับตามสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกันแล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้นโดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัดแต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการเช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆียะ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทข้อ2ระบุว่า"ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน389,000บาทผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว"จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้นเพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคหนึ่ง(ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน389,000บาทและจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตามแต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/8ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วยดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อไปเมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา การบอกล้างสัญญา และเบี้ยปรับ
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาทผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อไปเมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การข่มขู่, มัดจำ, และการบอกล้างสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อไม่ได้วางมัดจำเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน 389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว
แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนเวนคืนที่ดินและดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.เวนคืน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการคำนวณ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การดำเนินการเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่องปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 216 โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฎิบัติงานของทางการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย รวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืน อันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 มีราคาตารางวาเท่าใด ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็น โดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม มาตรา 10วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน เมื่อวันที่30 ตุลาคม 2532 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้น ต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตาม พรบ.เวนคืน และอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่2โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ส่วนจำเลยที่2ไม่อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่2ดังนั้นจำเลยที่2จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การดำเนินการเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ.2530อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216เรื่องปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมข้อ19ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216อีกหลายฉบับต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่216โดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.2534และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่2ไว้ในมาตรา19จำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฎิบัติงานของทางการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่1ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายรวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืนอันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่2เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ได้ พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ศ.2530มีราคาตารางวาเท่าใดศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็นโดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง5ประการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21 ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามมาตรา10วรรคสองและมาตรา11วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่30ตุลาคม2532นับแต่วันดังกล่าวไปอีก120วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่1จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่27กุมภาพันธ์2533อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา26วรรคสามโจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้นต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน, การกำหนดค่าทดแทนที่ดิน, และดอกเบี้ยกรณีเวนคืนล่าช้า
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์อุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้ ถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
การดำเนินการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530 อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่องปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ข้อ 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 อีกหลายฉบับ ต่อมามีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 โดย พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2534และบัญญัติอำนาจหน้าที่นี้ของจำเลยที่ 2 ไว้ในมาตรา 19 จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบการปฏิบัติงานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย รวมตลอดถึงการเวนคืนที่ดินและการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืน อันอยู่ภายในกรอบอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนโต้แย้งว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องเป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ทั้งเก้าในวันที่ใช้บังคับพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ. 2530 มีราคาตารางวาเท่าใด ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิจารณากำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามเหตุผลที่ควรจะเป็น โดยพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21
ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ในราคาที่สูงเกินไปกว่าราคาที่โจทก์กล่าวในอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 วรรคสาม มาตรา 10 วรรคสอง และมาตรา 11 วรรคหนึ่ง
เมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2532 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งเก้าคือวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์ทั้งเก้าจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดนั้น ต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราและไม่เกินจำนวนเงินตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลมีอำนาจสั่งประมูลหากตกลงแบ่งกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์สองในสี่ส่วนและที่ดินที่มีชื่ออ. เป็นเจ้าของให้โจทก์อีกหนึ่งในสามส่วนหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองนั้นกรณีที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทให้โจทก์เป็นการให้แบ่งตัวทรัพย์ส่วนที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองเป็นการให้ดำเนินการให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามส่วนในทางทะเบียนอันเป็นวิธีการบังคับตามคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นตัวทรัพย์ได้แต่วิธีการแบ่งที่ดินพิพาทในชั้นบังคับคดีนั้นถ้าคู่ความไม่ตกลงกันก็ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความก่อนถ้าไม่ตกลงก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ติดต่อจำเลยทั้งสองให้แบ่งที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งทั้งยังขัดขวางการแบ่งโจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งปันกันตามส่วนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนเพื่อฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งว่าในการแบ่งที่ดินพิพาทคู่ความตกลงหรือประมูลราคาระหว่างกันเองได้หรือไม่ก่อนที่จะออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น ผู้ซื้อทราบสิทธิของผู้อื่นก่อนทำสัญญา ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476 จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น ผู้ซื้อทราบข้อเท็จจริงก่อนทำสัญญา ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
หนังสือที่จำเลยที่1มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่1ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อมีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าการตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่2พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่1ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วเพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่1ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่2ในที่ดินที่ซื้อแล้วแม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา461และ462และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา475แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่2อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรเครื่องชั่งและค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา476 จำเลยที่2รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุขย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่1ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคารเครื่องจักรและเครื่องชั่งของจำเลยที่2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่1ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินจำเลยที่2จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่2รื้อถอนไปภายใน15วันและจำเลยที่2ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่26พฤษภาคม2533จำเลยที่2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่27พฤษภาคม2533เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น การรับผิดของผู้ขายและสิทธิของผู้ซื้อ
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476
จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้ว ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไป พร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
of 32