คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพฑูรย์ แสงจันทร์เทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 311 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาตามทุนทรัพย์ คดีที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวน เมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ต่ำกว่าเกณฑ์ แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวนเมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงราคาประเมินและราคาตลาด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันความเสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียวแต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วยเนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมากถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสนอไปหากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้ การขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ในบรรพ3ลักษณะ1หมวด4ส่วนที่3มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุดจึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่132ตารางวามีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน6,600,000บาทและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซึ่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000บาทนั้นต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมากนอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้ง>แรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง2,800,000บาทเจ้าพนักงานบังคับยังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไปเห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมและเป็นธรรม หากราคาต่ำกว่าราคาประเมินมากอาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียว แต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมาก ถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสนอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้ การขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1 หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซึ่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา 1,900,000 บาท นั้นต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้ง>แรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาทเจ้าพนักงานบังคับยังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ต้องเป็นธรรมและคำนึงถึงราคาประเมินทรัพย์
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียว แต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมาก ถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสมอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้
การขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ.ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซี่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000 บาทนั้น ต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้งแรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจดทะเบียนเช่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีก่อน
ในคดีก่อนเมื่อจำเลยบังคับคดีตามฟ้องแย้งแก่ ส. และโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ขอแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ว่าโจทก์ได้สิทธิการเช่าและมิใช่บริวาร ซึ่งศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาเช่าอันเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาค่าทดแทนที่เป็นธรรม, ดอกเบี้ย, และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 2 ได้บัญญัติให้จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยขึ้น และให้เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใด ๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ และในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 15และข้อ 17 บัญญัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยมีอำนาจซื้อ จัดหา ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย โดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษโดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย และถือว่าผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ดังนั้น การดำเนินการเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างทางพิเศษจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย เมื่อผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย จึงเป็นการดำเนินการในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และในฐานะผู้แทนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยด้วย เมื่อโจทก์เห็นว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนอันเป็นกิจการส่วนหนึ่งในการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์แต่เนื่องจากการสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนยังไม่แล้วเสร็จและพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวสิ้นอายุจึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535เป็นต้นไป ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 2 หลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้น มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 ดังกล่าว ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 ซึ่งในกรณีนี้คือในวันที่ 1 มกราคม 2535 รวมทั้งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่น ๆในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเว้นคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกอบด้วยเมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์เท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเพียงประการเดียว ซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบประการหนึ่งในการกำหนดราคาค่าทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(3)จึงยังถือไม่ได้ว่าการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนโดยชอบและเป็นธรรม โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 ตามเอกสารหมาย ล.12 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 3 กรกฎาคม 2536 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ8.5 ต่อปี คงที่ นับแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เป็นธรรม, ดอกเบี้ย, และระยะเวลาการจ่ายเงิน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ2ได้บัญญัติให้จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยขึ้นและให้เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใดๆตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษและในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ6ข้อ13ข้อ15และข้อ17บัญญัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยมีอำนาจซื้อจัดหาถือกรรมสิทธิ์ครอบครองหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยโดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษโดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและถือว่าผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ.2534มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา4แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษดังนั้นการดำเนินการเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างทางพิเศษจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเมื่อผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงเป็นการดำเนินการในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และในฐานะผู้แทนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยด้วยเมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนอันเป็นกิจการส่วนหนึ่งในการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดพ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์แต่เนื่องจากการสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนยังไม่แล้วเสร็จและพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวสิ้นอายุจึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2535เป็นต้นไปดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่2 หลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21ดังกล่าวให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6ซึ่งในกรณีนี้คือในวันที่1มกราคม2535รวมทั้งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่นๆในมาตรา21วรรคหนึ่ง(2)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเว้นคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ประกอบด้วยเมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์เท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่1มกราคม2535ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเพียงประการเดียวซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบประการหนึ่งในการกำหนดราคาค่าทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21(3)จึงยังถือไม่ได้ว่าการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนโดยชอบและเป็นธรรม โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่5มีนาคม2536ตามเอกสารหมายล.12นับแต่วันดังกล่าวไปอีก120วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่3กรกฎาคม2536อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา26วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ8.5ต่อปีตามคำขอของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ8.5ต่อปีคงที่นับแต่วันที่11พฤษภาคม2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย และสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 2 ได้บัญญัติให้จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยขึ้น และให้เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใด ๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ และในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 6 ข้อ 13 ข้อ 15 และข้อ 17 บัญญัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย มีอำนาจซื้อ จัดหา ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย โดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย และในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย จึงมีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษโดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย และถือว่าผู้ว่าการทาง-พิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่ง-ประเทศไทยจำเลยและตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิต... พ.ศ.2534 มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ.ดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ ดังนั้น การดำเนินการเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างทางพิเศษจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย เมื่อผู้ว่าการการทางพิเศษแห่ง-ประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวและตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลย จึงเป็นการดำเนินการในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และในฐานะผู้แทนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยด้วย เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนอันเป็นกิจการส่วนหนึ่งในการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้
ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด... พ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์แต่เนื่องจากการสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนยังไม่แล้วเสร็จและ พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวสิ้นอายุจึงได้มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิต... พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นไปดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนที่ดินของโจทก์ตาม พ.ร.ฎ.ฉบับที่ 2
หลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้น มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 ดังกล่าว ให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ซึ่งในกรณีนี้คือในวันที่ 1 มกราคม 2535 รวมทั้งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่น ๆ ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ถึง (5) แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ประกอบด้วย เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์เท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเพียงประการเดียว ซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบประการหนึ่งในการกำหนดราคาค่าทดแทนตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 (3) จึงยังถือไม่ได้ว่าการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนโดยชอบและเป็นธรรม
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2536 ตามเอกสารหมาย ล.12 นับแต่วันดังกล่าวไปอีก 120 วัน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่ 3 กรกฎาคม 2536 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี คงที่ นับแต่วันที่11 พฤษภาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทน และการพิสูจน์การชำระหนี้เพื่อลบล้างภาระผูกพัน
การมอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกันมิใช่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัท
โจทก์เป็นบริษัทถ้าจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องแทนต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เมื่อ ธ. กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ซึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้ ศ. ฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ศ. มิได้เป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการของโจทก์ซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การนำสืบว่า ผู้กู้ยืมได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้แล้วมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังไม่ได้
of 32